เด็กร้องไห้ ไม่หยุด เราลองมาดูกันว่า เด็กทารกจะร้องไห้ด้วยสาเหตุใด เด็กร้องไห้ ไม่หยุด ทำอย่างไรดี และมีภาวะใดบ้างที่ควรระวัง
เด็กทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ง่าย และร้องไห้ครั้งละนาน ๆ บางคนอาจจะไม่ร้องไห้เลยก็เป็นได้ หากทารกอยู่ในวัยสามสัปดาห์ขึ้นไป และร้องไห้ติดต่อกันมากกว่าสามชั่วโมงต่อวัน นานมากกว่าสามวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นไปได้ว่าทารกอาจจะอยู่ในภาวะ โคลิค (colic) ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่มักจะตามมาด้วยปัญหาความเครียดของผู้ดูแล บ่อยครั้งที่นำไปสู่ภาวะอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วง เช่นปัญหาการซึมเศร้าของมารดา การละเลยไม่ดูแล หรือการหย่านมแม่ก่อนวัยอันควร
ทำไมลูกถึงร้องไห้ ?
การร้องไห้ของทารก เป็นการบ่งบอกว่าทารกมีความต้องการอะไรบ้าง หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบาย เช่น หิว ต้องการดื่มนม เจ็บปวด ไม่สบาย ทารกจะร้องไห้ครั้งละนาน ๆ ได้ ถึงแม้ผู้ดูแลจะพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้แล้วก็ตาม เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ครั้งละนาน ๆ นั้น น่าจะมาจากการระบบทางเดินอาหารที่กำลังพัฒนานำไปสู่การย่อยนมที่ยังไม่สมบูรณ์ และไม่สามารถกำจัดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารได้ การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่เต็มที่ ทารกจึงไม่สามารถที่จะออกคำสั่งให้หยุดร้องไห้ได้ง่าย ๆ การไม่ได้รับสัมผัสที่เพียงพอ และอีกหลายข้อสันนิษฐาน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า
ทำอย่างไรถึงจะหยุดร้องไห้ ?
เมื่อทารกร้องไห้ คุณพ่อ คุณแม่ควรพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้ และแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สุขสบาย ได้แก่
- ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยสัมผัสทางกายที่เหมาะสม
- คิดถึงสาเหตุเบื้องต้น เช่น หิว หนาว หรือร้อนเกินไป เสื้อผ้า หรือผ้าที่ห่อหุ้มแน่นเกินไป มีสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงหรือแสงที่มากเกินไป
- เปลี่ยนวิธีการให้นม หรือเปลี่ยนสูตรนม
- ให้ทารกเรอเอาลมในกระเพาะออกหลังจากดูดนม โดยการอุ้มพาดบ่าด้วยความระมัดระวัง หรือให้นั่งบนตักแล้วลูบหลังเบา ๆ อาจจะนวดท้องเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา หากทารกดูดนมจากขวดนม ควรปรับท่าทางให้ทารกดูดนมได้สะดวกโดยไม่ดูดลมเข้าไป
- มีผู้แนะนำให้เปิดเครื่องดูดฝุ่น หรือไดร์เป่าผมให้ทารกได้ยิน เนื่องจากเป็นการเลียนแบบเสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ มีส่วนช่วยให้ผ่อนคลาย
เมื่อทารกร้องไห้ไม่หยุด ต้องระวังอะไร
หากคุณพ่อ คุณแม่ ที่ดูแลลูกน้อยได้พยายามหาสาเหตุของการร้องไห้ และแก้ไขเท่าที่เป็นไปได้ จะพบว่าส่วนใหญ่ทารกจะหยุดร้องไห้ไปเองในเวลาไม่นาน แต่หากการร้องไห้ของทารกติดต่อกันไม่หยุดมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น
- เสียงร้องไห้ฟังดูแปลก ๆ
- น้ำหนักไม่ขึ้น ทารกดูตัวเล็กกว่าที่ควรเป็น
- ทารกท้องเสีย อาเจียน หรือท้องผูก หรือมีเลือดปนออกมาพร้อมกับการขับถ่าย
- ไม่ดูดนม หรือดูดน้อยมาก
- มีไข้ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
ควรพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วยทางกายครับ
เสียงร้องไห้บางทีของทารกบอกอะไรกับพ่อแม่
เด็กทารกยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดว่าต้องการอะไร จึงบอกออกมานัย ๆ ด้วยการร้องไห้ เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่ รู้ว่าเกิดสิ่งผิดปกติขึ้น หรือต้องการอะไร เหตุผลที่ทารกร้องไห้อาจมาจาก
- หิวนม – เรื่องพื้นฐานที่ทารกร้องไห้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด เนื่องจากมีกระเพาะอาหารที่มีขนาดเล็ก อิ่มไว แม้คุณแม่จะเพิ่งให้นมไปไม่นาน อีก 2 ชั่วโมงถัดมาก็อาจหิวขึ้นมาใหม่ หากมองนาฬิกาแล้วเวลาผ่านไป 3-4 ชั่วโมงจากการให้นมครั้งล่าสุดน่าจะเป็นเวลาที่เด็กเริ่มร้องหิวนม คุณแม่ลองให้นมกับทารกก็อาจช่วยให้หยุดร้องได้
- เพลียและเหนื่อย – ทารกอาจเพียงแค่ต้องการนอน เพราะเหนื่อย และเพลียเท่านั้นเอง ลองสังเกตดูว่าเจ้าตัวน้อยร้องไห้ มีท่าทีไม่สนใจของเล่น หรือสิ่งรอบตัว ตาปรือบางครั้ง หรือหาวบ่อย ๆ บ้างหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ถึงเวลาต้องให้เด็กได้งีบหลับสักหน่อย
- ไม่สบายตัว – การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อากาศอาจร้อน หรือหนาวเกินไป ความเปียกชื้นของผ้าอ้อม ทำให้ทารกเกิดความไม่สบายตัวได้ จึงพยายามร้องเพื่อบอกให้คุณแม่ช่วยพาออกไปจากสถานการณ์เหล่านี้ คุณแม่อาจลองเช็คอุณหภูมิห้องว่าเปิดแอร์เย็นเกินไป หรืออากาศร้อนอบอ้าว ไม่ถ่ายเท หรือไม่ รวมไปถึงเสื้อผ้าที่เด็กใส่ทำให้เด็กอึดอัด หรือไม่
- ถูกกระตุ้นมากเกินไป – ทารกอาจอยู่ในสภาวะที่มีสิ่งรบกวน หรือกระตุ้นมากเกินไป เช่น อยู่ในห้องที่เสียงดัง คนรุมล้อมจะเล่นด้วย เสียงดนตรีดัง ทำให้ทารกรู้สึกถึงสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่มากเกินไปก็อาจทำให้เริ่มร้องโยเยเพื่อหาสถานที่เงียบสงบมากกว่า การพาเด็กออกจากสถานที่ที่มีเสียงอึกทึกโครมครามจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นได้
- อยากให้อุ้ม – ความอบอุ่นจากสายใยแม่ถึงลูกเป็นสิ่งที่ทารกสัมผัสได้ บางครั้งการร้องไห้ของทารกก็เพียงต้องการให้แม่โอบกอด และสัมผัสทางกาย เพื่อความรู้สึกอุ่นใจ
- รู้สึกกลัว – เด็กทารกอาจร้องไห้จากความกลัว หรือสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เช่น คนแปลกหน้าที่อุ้มทำให้เด็กสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่แตกต่างจากพ่อหรือแม่ที่เคยอุ้มพวกเขา ทำให้ทารกอยู่ในความรู้สึกกลัว จึงร้องไห้ออกมา
- สภาพแวดล้อมใหม่ – ทารกแรกเกิดไม่คุ้นชินกับสภาวะหลังออกมาจากท้องแม่ เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอกและบุคคลในครอบครัวทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ จึงต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัวให้ชินมากขึ้น
- เจ็บป่วย – เด็กทารกอาจร้องไห้เพราะเกิดอาการเจ็บ มีบาดแผล หรือมีอาการป่วย เช่น ท้องอืด เป็นไข้ ตัวร้อน เหมือนกับเด็กโตหรือผู้ใหญได้เช่นกัน ทำให้ร่างกายไม่เป็นปกติ จึงแผดเสียงร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณแม่อาจลองตรวจดูตามร่างกายว่าเกิดแผล สิ่งผิดปกติ หรือมีอาการป่วยจนต้องไปหาหมอหรือไม่ เพราะร่างกายเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ การรู้ว่าลูกเริ่มมีอาการป่วยหรือผิดปกติจะช่วยให้หายเร็วขึ้น ในบางครั้งการร้องไห้ของเด็กอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางการแพทย์ เด็กอาจร้องไห้เพื่อสื่อสารกับผู้ดูแลว่าเกิดความไม่สบายตัว พ่อแม่สามารถปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลเด็กเมื่อเกิดความกังวลขึ้น แต่ไม่ควรซื้อยามาป้อนให้เด็กรับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้เด็กป่วยมากขึ้น ง่วงนอนตลอดทั้งวัน หรือรบกวนการกินนมของเด็ก
การร้องไห้ของทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป และเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในการเติบโตของเด็ก บางคนร้องไห้เป็นเวลานาน บางคนร้องไห้น้อย หรือบางคนร้องไห้ถี่ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจถึงลักษณะการร้องไห้บางลักษณะที่น่าเป็นกังวล เพราะอาจมีอาการป่วยที่ยังหาสาเหตุไม่พบหรือสิ่งผิดปกติอื่นซ่อนอยู่ โดยเฉพาะอาการโคลิค (Colic)
อาการโคลิคคืออะไร?
โคลิคเป็นอาการที่ลูกร้องไห้ไม่หยุดโดยไม่มีสาเหตุ โดยมากมักเป็นช่วงเย็นๆ จนถึงดึกๆ เสียงร้องของลูกจะร้องกวนอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรก็ไม่หยุดร้อง เป็นอาการที่ทารกร้องไห้โดยสาเหตุไม่ได้มาจากการหิว หรือง่วงนอน โดยเราสามารถสังเกตได้ว่าลูกมีอาการโคลิคหรือไม่โดยจากอาการเหล่านี้
2.มีอาการแบบข้อแรกมานานกว่า 3 วันต่อสัปดาห์
ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันได้ขยายการวินิจฉัยให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยระบุถึงอาการโคลิคว่าเป็นการที่ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ ร้องงอแงเป็นระยะเวลานานและกลับมาร้องไห้ซ้ำโดยไม่มีสาเหตุทางกายอื่นร่วมด้วย เช่น การป่วย หิวนม เป็นต้น
คุณพ่อคุณแม่บางท่านหลายครั้งคิดว่าอาการโคลิคนี้อาจจะหายไปได้เองตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ หรือความเชื่อในการรักษาอาการโคลิคอย่างการใช้ยาสมุนไพรและนวดท้องให้ลูกก็อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ และในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้รับคำแนะนำว่าอาการเหล่านี้จะหายได้เอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลเสียของอาการโคลิคในระยะยาวก็มีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เข้าใจผิดและการถูกมองข้ามเหล่านี้ทำให้ภาวะโคลิคมีผลกระทบระยะยาวกับลูก ไม่ว่าจะเป็น โรคภูมิแพ้, ปัญหาทางพัฒนาการ, อาการปวดท้องได้ง่ายในตอนโตและการมีพฤติกรรมก้าวร้าว จนไปถึงเรื่องปัญหาการนอนหลับของลูก¹
นอกจากส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในระยะยาวแล้ว ผลกระทบในระยะสั้นของอาการโคลิค คือ ยังทำให้ลูกหยุดนมแม่เร็วเกินไป ยิ่งไปกว่านั้นอาการโคลิคยังสามารถสร้างภาวะความเครียดภายในครอบครัวได้อีกด้วย
วิธีทำให้เด็กหยุดร้องเเบบง่าย
- ดึงดูดความสนใจเด็ก
การพาเด็กออกไปเดินเล่น เปลี่ยนบรรยากาศ หรือทำกิจกรรมอะไรใหม่ ๆ หลังจากการร้องไห้ เช่น ออกไปเดินนอกบ้าน เต้นหรือร้องเพลงให้เด็กฟัง เพื่อดึงดูดความสนใจจากการร้องไห้ ก็อาจช่วยเปลี่ยนอารมณ์เด็กให้ดีขึ้นได้
- ร้องเพลง คุณแม่อาจฮัมเพลงเบา ๆ
ในจังหวะที่เคยร้องให้ลูกฟัง คลอไประหว่างการปลอบให้เด็กหยุดร้อง ทารกมักคุ้นเคยและชอบที่จะได้ยินเสียงของแม่ นอกจากนี้ทารกก็มักจะชอบเสียงเพลงเหมือนกัน คุณแม่หรือคุณพ่ออาจลองเปิดเพลงหลากหลายแนว เพื่อหาสไตล์เพลงที่ทำให้เด็กรู้สึกสงบลงเมื่อได้ฟังก็อาจเป็นอีกตัวช่วยที่ดีในการกล่อมเด็กร้องไห้ให้เงียบลงได้
- กล่อมด้วยการอุ้มแล้วโยกไปมาเบา ๆ
เป็นการอุ้มทารกพร้อมโยกเบา ๆ อาจช่วยให้สงบลงได้ คุณแม่อาจลองอุ้มนั่งบนเก้าอี้โยกไปมา แกว่งไปมาเบา ๆ ขณะเดิน หรือแม้แต่วางลงในเปลแล้วแกว่งไปมา
- เปลี่ยนท่าทางขณะให้นม
ทารกบางคนอาจร้องไห้ขณะดูดนมหรือหลังอิ่ม เนื่องจากการอุ้มในลักษณะที่ทำให้เด็กไม่สบายตัว อาจลองปรับท่าทางการอุ้มเด็กให้ผ่อนคลายและไม่เกร็ง คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลถึงการอุ้มลูกอย่างถูกวิธีได้ รวมไปถึงคุณแม่ควรมีการอุ้มให้ลูกเรอหลังการกินนม โดยการอุ้มพาดบ่าแล้วลูบหลัง เพื่อไล่ลมออกจากท้องและยังช่วยป้องกันท้องอืด
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโคลิค แต่อาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น แพ้โปรตีนในนมวัว, ระบบย่อยอาหารผิดปกติหรือ จุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารไม่สมดุล เป็นต้น
ที่มาอ้างอิง https://www.pobpad.com https://happinessishereblog.com/10-things-say-instead-stop-crying/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รักษาอาการป่วยที่บ้าน: ลูกท้องผูก
สิ่งปกติและไม่ปกติของเด็กแรกเกิด
ทารกสะอึกคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแก้ไข