ลูกมีนิสัยก้าวร้าวชอบตีผู้ใหญ่ เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ ควรทำอย่างไร?

คุณแม่พาน้องนีน่า วัย 2ขวบ มาปรึกษาหมอ เนื่องจากสงสัยว่าน้องนีน่าจะมีนิสัยก้าวร้าวกว่าปกติ เพราะชอบทำให้คนรอบข้างเจ็บตัว ทุกคนพูดดีด้วยก็แล้ว ใจเย็น สอนด้วยเหตุผลก็แล้ว ก็ยังไม่ฟัง คุณแม่จึงทำโทษด้วยการตี แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น กลับยิ่งตีโต้ตอบ ควรจะแก้อย่างไรดี? หมอจึงอธิบายให้คุณแม่ฟังดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกมีนิสัย เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ ลูกก้าวร้าวชอบตีผู้ใหญ่ ควรทำอย่างไร?

 

ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าธรรมชาติของเด็กวัย 1-3 ปีซึ่งเป็นวัยเด็กเล็กนี้จะต่อต้านผู้ใหญ่ และอยากเป็นตัวของตัวเองมากกว่าวัยทารก เพราะเค้าจะสามารถเดินได้และช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่ยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่เก่ง เมื่อโดนขัดใจเด็กจึงอาจแสดงพฤติกรรมต่อต้านจนบางครั้งดูเหมือนก้าวร้าว เช่น ตี กัด ร้องดิ้นอาละวาด ได้ ซึ่งผู้ปกครองควรจะเข้าใจและทราบถึงวิธีการ”รับมือ” กับพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้อย่างถูกต้องค่ะ

 

เพราะอะไรเด็กเล็กถึงก้าวร้าว?

พฤติกรรม ลูกก้าวร้าวชอบตีผู้ใหญ่ ในเด็กเล็กมีปัจจัยสำคัญคือพื้นฐานอารมณ์และบุคลิกภาพของเด็กเอง ร่วมกับปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่าง เช่น การเลี้ยงดูในครอบครัว หากผู้ปกครองชอบใช้อารมณ์รุนแรงในบ้าน สมาชิกในครอบครัวทะเลาะกันบ่อย ๆ หรือชอบใช้ความรุนแรงกับเด็ก การติดสารเสพติดในครอบครัว ครอบครัวที่ขาดระเบียบวินัย ไม่ได้สอนให้เด็กรู้จักการควบคุมอารมณ์ หรือสื่อทางโทรทัศน์ที่มีความรุนแรง ก็ส่งผลให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและก้าวร้าวได้

นอกจากนี้ความผิดปกติบางอย่างเช่น โรคสมาธิสั้น ก็เป็นสาเหตุนำมาซึ่งความก้าวร้าวในเด็กได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ ก้าวร้าว

 

เราจะแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็กได้อย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่รวมถึงสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก ๆ โดย เริ่มตั้งแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กตามวัย และพยายามปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการให้เหตุผลแก่ลูก เด็กเล็ก ๆ แบบน้องนีน่าก็สามารถเข้าใจเหตุผลสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้นะคะ เช่น “ไม่แหย่หมานะคะ เพราะหมาจะกัด” เป็นต้น โดยคุณแม่ควรใช้ท่าทาง และน้ำเสียงที่หนักแน่น จริงจัง นอกจากนี้อาจหาสิ่งทดแทนที่ลูกสนใจทำแทนได้ เช่น ชวนเล่นตุ๊กตาแทน  ที่สำคัญคือครอบครัวควรเป็นแบบอย่างที่ดี หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ ทะเลาะกันในบ้าน เพื่อไม่ให้ลูกเลียนแบบสิ่งที่เห็น หากลูกไม่แสดงความก้าวร้าวทำร้ายผู้อื่นแล้วควรแสดงความชื่นชม เช่น กอดลูก ชมว่า “หนูเก่งมาก”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ถ้าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องทำโทษลูกจะทำได้หรือไม่ และควรทำอย่างไร?

หากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มจากการบอกห้ามและให้เหตุผล การเลิกให้ความสนใจแก่เด็กในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็เป็นการทำโทษวิธีหนึ่ง เพราะเด็กทุกคนต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่ หากทำแล้วยังไม่ได้ผล อาจดุว่าลูกได้ แต่ไม่ควรตีเพราะการตีจะทำให้เด็กโกรธและยังสะสมความไม่พอใจ จึงอาจตีโต้ตอบหรือแสดงพฤติกรรมรุนแรงอื่น ๆ ตามมาได้ค่ะ

 

คุณพ่อคุณแม่จะสามารถป้องกันไม่ให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคนควรร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบของการควบคุมอารมณ์โกรธโดยไม่ใช้ความรุนแรง เช่น พูดคุยกันดี ๆ และมีเหตุผลในบ้านเมื่อมีปัญหาความขัดแย้ง ไม่มีการทำร้ายร่างกายกัน เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก สร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้เด็กโดยชมเชยให้เด็กรับรู้ได้ทันทีเมื่อทำดี นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เด็กดูโทรทัศน์หรือสื่อต่าง ๆ ที่มีแบบอย่างของพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง และเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรดูโทรทัศน์เลยนะคะ เพราะอาจทำให้เด็กพูดช้า สื่อสารลำบาก นำมาซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในสังคมปัจจุบัน เราอาจพบกับเหตุการณ์ “เด็กก้าวร้าว” อยู่บ่อยครั้ง จนก่อให้เกิดคำถามว่า ทำไม? เด็กเล็กๆ ถึงมีพฤติกรรมทำลายข้าวของ ใช้คำพูดหยาบคาย หรือทำร้ายผู้อื่น ในขณะที่ตัวพ่อและแม่เองก็ยังไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร และนี่...คือคำตอบที่จะช่วยให้พ่อแม่ยุคใหม่เข้าใจและพร้อมรับมือ เมื่อลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างถูกต้อง!!

 

ความก้าวร้าวในเด็ก มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?

1. ในเด็กเล็กยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและการเจริญเติบโตของสมองที่ยังไม่สมบูรณ์ ในขณะที่สมองส่วนอารมณ์พัฒนาได้เร็วกว่า การแสดงออกทางอารมณ์จึงชัดเจนกว่า ส่งผลให้เด็กควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ และการรอคอยได้จำกัด

2. หากเด็กมีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติในทุกๆด้าน ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการคิด การวางแผน การจัดการปัญหา การจัดการอารมณ์ ให้เหมาะสมตามวัย

3. การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือ โรคหรืออุบัติเหตุทางสมอง เช่น ลมชัก สมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง เคยมีเลือดออกในสมอง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น ทำให้สมองทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ เกิดลักษณะอารมณ์แปรปรวนหรือมีการรับรู้ทางระบบประสาทที่ผิดปกติ

4. โรคทางจิตเวช เช่น เด็กมีโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น เป็นต้น

5. การไม่มีผู้ปกครองหรือครอบครัว สอนเรื่องการจัดการอารมณ์ของตนเองให้กับเด็ก หรือเด็กไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องการรู้จัก อดทน รอคอย

6. ครอบครัวมีรูปแบบการแก้ปัญหาโดยใช้อารมณ์ในการพูด การกระทำ ทำให้เด็กเรียนรู้โดยอัตโนมัติ ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดจะใช้การแก้ปัญหาโดยการแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมออกมา

7. การเลียนแบบเพื่อน หรือสื่อต่างๆที่ไม่เหมาะสม มีความรุนแรง และการใช้สารเสพย์ติด เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กตีผู้ใหญ่บ่อย ๆ

 

เมื่อลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

1. ผู้ปกครองหรือคนที่ดูแลเด็กต้องเข้าใจก่อนว่า มีเหตุการณ์หรือตัวกระตุ้นอะไรที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว และเหตุการณ์นั้นส่งผลหรือทำให้เด็กรู้สึกอย่างไร และคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นๆ

2. พ่อแม่ต้องควบคุมจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน และรับฟังว่าลูกต้องการจะสื่อสารอะไรกับพ่อแม่ เช่น ต้องการให้พ่อแม่สนใจ ต้องการให้พ่อแม่ทำให้ลูกสบายใจขึ้น หรือต้องการระบายความรู้สึกอึดอัด หรือต้องการจะหนีจากเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการขณะนั้น การที่พ่อแม่มีอารมณ์ที่สงบและนิ่งได้ก่อน จะสามารถแก้ไขปัญหา ได้...และเป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็นว่าเมื่อมีเหตุการณ์ที่เครียด พ่อแม่ก็สามารถนิ่งและมีสติให้ลูกเห็นได้

3. ให้เวลากับลูกได้สงบสติและอารมณ์ในบรรยากาศที่สงบ แต่ถ้าพฤติกรรมค่อนข้างรุนแรง พ่อแม่ควรหยุดพฤติกรรมเหล่านั้น โดยการโอบกอดทางด้านหลังเพื่อไม่ให้ลูกทำร้ายตนเอง ผู้อื่น รวมไปถึงการทำลายสิ่งของ โดยใช้คำพูดว่า กำลังช่วยลูกให้สงบ เพราะลูกไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้ว พ่อแม่ควรใช้เวลาในการสอบถามความรู้สึกของลูก และแนะนำวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

4. ในเวลาปกติทั่วไป สมาชิกในครอบครัวควรสร้างบรรยากาศที่ดี ร่วมทำกิจกรรมในครอบครัว มีบรรยากาศการรับฟังปัญหาซึ่งกันและกัน เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้เล่าความรู้สึก และเล่าปัญหา เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข

5. มีการทำกติกาตกลงกันในครอบครัวว่าเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สามารถพูดคุยและเปิดเผยกันได้ โดยไม่มีการตำหนิหรือใช้อารมณ์

6. ผู้ใหญ่ในครอบครัวควรปฏิบัติต่อเด็กเหมือนกันทุกคน เช่น ผู้ใหญ่คนหนึ่งให้เวลากับเด็กได้สงบก่อนเมื่อมีเด็กเริ่มแสดงอารมณ์ แต่ผู้ใหญ่อีกคนบังคับห้ามแสดงอารมณ์ออกมา อาจทำให้เด็กสับสนว่าเวลาโมโหควรจะทำอย่างไรดีที่สุด

7. เมื่อผู้ปกครองเห็นถึงความตั้งใจของเด็กว่ามีความพยายามความอดทนที่จะจัดการอารมณ์ตนเอง ผู้ปกครองควรมีการชื่นชมให้กำลังใจ ถึงความตั้งใจ ความพยายามของเด็ก แม้บางครั้งยังจัดการอารมณ์หรือพฤติกรรมได้ไม่ดีนักก็ตาม

ที่มาจาก :https://www.phyathai.com/article_detail/2127/th/

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกดื้อมาก ทำไงดี?

ตีลูกหรือไม่ตี