Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับ Shaken Baby Syndrome คืออะไร มาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกัน ซึ่งเป็นภัยที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

Shaken Baby Syndrome คืออะไร ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่หลายคนอาจมองข้าม

 

คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนบ้าง เคยโยนลูก เขย่าหยอกล้อกับลูก หรือคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายที่ชอบเล่นกับหลานแบบนี้บ้าง รู้หรือไม่ว่า การโยนเด็ก และเขย่าลูกน้อยนั้น เด็ก ๆ อาจมีอาการ Shaken Baby Syndrome ซึ่งเป็นภัยที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ TheAsianparent ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับ Shaken Baby Syndrome คืออะไร มาให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกัน

อาการ Shaken Baby Syndrome คืออะไร

แน่นอนอยู่แล้วว่าวิธีเดียวที่ทารกจะสื่อสารออกมา ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ว่าหนูกำลังมีปัญหาบางอย่าง เช่น ไม่สบายตัว หิว ง่วง เปียกชื้น ปวดท้อง หรือเพียงต้องการแม่มาอยู่ใกล้ ๆ คือ การร้องไห้ แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ทำทุกอย่างแล้ว เจ้าตัวน้อยก็ยังไม่หยุดร้อง จนคุณแม่เกิดอารมณ์และเผลอเขย่าทารกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่การเขย่าทารกเช่นนี้ เป็นอันตรายแก่เด็ก ๆ ได้

 

Shaken Baby Syndrome เป็นอาการที่เกิดจากการถูกเขย่าอย่างรุนแรง ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากการที่คอและศีรษะของลูกถูกแรงเหวี่ยงไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ในขณะที่กล้ามเนื้อคอของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบนั้นยังคงไม่แข็งแรงมากพอที่จะประคองศีรษะได้อย่างมั่นคง ประกอบกับศีรษะของทารกนั้นมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว ทำให้ส่วนของสมองภายในกะโหลกศีรษะ มีเนื้อที่สำหรับการถูกเขย่าไปมาได้มาก และส่วนที่จะป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บทางสมองมีน้อยลง

Shaken Baby Syndrome

การถูกแรงเหวี่ยงที่เร็วและแรงเช่นนี้ จะทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด มีเลือดออกภายในสมอง นอกจากนี้แรงเขย่ายังส่งผลให้เส้นเลือดในจอตาขาดได้อีกด้วย

จากสถิติพบว่า เด็กที่มีอาการ Shaken Baby Syndrome 1 ใน 3 สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่ในขณะที่อีก 1 ใน 3 จะกลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เช่น ไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ ตาบอด หรือเป็นอัมพาตในสมองใหญ่ เป็นต้น และที่น่าเสียใจที่สุดคืออีก 1 ใน 3 นั้นอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

การเขย่านั้นเป็นการใช้ความรุนแรงทางกาย ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บไม่น้อยไปกว่าการทุบตี ต่างกันตรงที่บาดแผลที่สามารถมองเห็นได้ ในขณะที่การเขย่า ส่งผลให้เกิดบาดแผลที่อวัยวะภายในซึ่งมองไม่เห็น

 

ทําไมถึงห้ามเขย่าทารก

อันตราย ของ การ เขย่า ลูก

พ่อแม่บางคนรู้ว่า ไม่ควรเขย่าลูกแรง เพราะหากทารกถูกเขย่าแรง ๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของเจ้าตัวน้อยได้ แต่สำหรับคนอื่น ๆ เช่น ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน ก็อาจจะไม่เข้าใจ นึกว่าเราหวงลูก ทำไมเล่นด้วยแค่นี้ทำไม่ได้ อย่างแรก พ่อแม่ก็ต้องทำความเข้าใจ อย่าตอบโต้ด้วยอารมณ์ ให้บอกเหตุผลไป ดังนี้

  • การเขย่าทารกอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกเกิดอาการ Shaken Baby Syndrome
  • Shaken Baby Syndrome สมองของทารกจะได้รับการกระทบกระเทือน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบต้องระวัง

คิดง่าย ๆ ว่า เมื่อคอและศีรษะของทารก ถูกแรงเหวี่ยงไปมาข้างหน้า ข้างหลัง เป็นไปได้หรือ ที่ทารกตัวแค่นี้จะไม่เกิดอันตราย

อา การ Shaken Baby Syndrome

ทารกถูกเขย่ารุนแรงเกินไป อันตราย!

เนื่องด้วยทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ มีกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง ขนาดพ่อแม่จะอุ้มแต่ละครั้ง ยังต้องคอยประคับประคองกันเต็มที่ ดังนั้น การเขย่าลูกแรง ๆ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม โดยเฉพาะการเชคหรือเขย่าทารก จนคอและหัวเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เนื่องจากหัวของทารกในตอนเล็ก ๆ นั้นใหญ่กว่าลำตัว ภายในสมองก็มีเนื้อที่มาก ส่วนที่ป้องกันอันตรายจากการถูกเขย่านั้นก็น้อย

อันตรายจากการเขย่าลูกแรง ๆ คือ เส้นเลือดบริเวณเยื่อหุ้มสมองฉีกขาด จนเกิดเลือดออกในสมอง ลุกลามไปจนถึงเส้นเลือดในจอตาขาดได้ด้วย

 

เหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้

Shaken Baby Syndrome คือ อะ ไร

ไม่ใช่แค่เขย่าลูกแรง ๆ แต่การเหวี่ยงลูกไปมาก็เป็น Shaken baby syndrome ได้เช่นกัน เพราะกลุ่มอาการนี้ อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็กจนอายุ 5 ขวบได้ โดยมีสิ่งที่เกิดร่วมกันทั้งหมด 3 อย่าง เราถึงเรียกว่า syndrome หรือกลุ่มอาการ ได้แก่ สมองบวม (cerebral edema) เลือดออกที่จอประสาทตา (retinal hemorrhage) เลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subdural hematoma) เพราะคอเด็กยังไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ยังอ่อนอยู่ เวลาเกิดแรงเหวี่ยง สมองที่ยังอ่อนอยู่ในกระโหลกจะกระแทกกับกระโหลกศีรษะเกิดสมองช้ำ ตามมาด้วยสมองบวม จนเสียชีวิตได้

 

สังเกตอาการ Shaken Baby Syndrome

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่า เจ้าตัวน้อยมีอาการง่วงซึม ชอบนอน หงุดหงิด อาเจียน และไม่อยากอาหาร อาจเป็นอาการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน ควรพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วค่ะ

  1. เซื่องซึม ง่วง นอนตลอด
  2. หงุดหงิด ร้องโยเยจนผิดสังเกต
  3. ไม่ยอมกินนม กินนมได้น้อย
  4. อาเจียนบ่อย ๆ

หากลูกเล็กอายุไม่เกิน 1 ขวบครึ่ง กระหม่อมยังไม่ปิด ถ้าลูบแล้วบวมหรือนูนผิดปกติ ต้องพาไปโรงพยาบาลทันที ทารกถูกเขย่า ทารกถูกเหวี่ยง แรง ๆ อาจทำให้เกิด Shaken Baby Syndrome ดังนั้น พ่อแม่ห้ามเขย่าลูกแรง และต้องคอยสังเกตคนที่มาเล่นกับลูกด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูก

 

Source : theasianparent , doctor

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง 10 อาหารคนท้องห้ามกิน อาหารคนท้องไม่ควรกิน

พ่อแม่เลิกกัน คนที่เจ็บคือลูก เลิกกับพ่อของลูก ควรบอกลูกอย่างไร สิ่งที่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด

10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2020 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

บทความโดย

Jitawat Jansuwan