โรคทางใจในเด็ก PTSD คือ ? พ่อแม่จะรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร

PTSD โรคทางใจในเด็กคืออะไร? พ่อแม่จะสามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร ขอนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรค PTSD มาแบ่งปันให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่ได้รู้จักกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคทางใจในเด็ก PTSD คือ ?  พ่อแม่จะสามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร วันนี้ TheAsianparent จะมาตอบทุกข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้ว PTSD คือ อะไรกันแน่

 

PTSD โรคทางใจในเด็ก คืออะไร? พ่อแม่จะรับมือกับโรคนี้ได้อย่างไร

โรคที่วงการแพทย์เรียกว่า PTSD (Post-traumatic stress disorder) โรคptsd คือสภาวะป่วยทางจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ที่ไม่อาจคาดฝัน ร่วมถึงสถานการณ์อันตรายที่คุกคามต่อชีวิตของผู้นั้น หรือคนอื่น ๆ ทั้งที่ต้องตกเป็นผู้เผชิญกับเหตุการณ์เองโดยตรง

 

PTSD โรคทางใจในเด็ก

หรืออาจได้เห็นเป็นพยานรับรู้ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่มีความร้ายแรงส่งผลต่อสภาพจิตใจ รวมถึงการสูญเสียบุคคลที่รักในเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้ส่งผลเกี่ยวกับความเคียด เพราะเหตุการณ์นั้นมีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้เกิดอาการ และปัญหาในการยอมรับปรับตัว เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ความเครียดจากการสูญเสียทั่วไป แต่เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงเกินกว่าปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อ้างอิงจาก โรงพยาบาลพยาไท เมื่อเด็กเป็นโรค PTSD พญ.ชนนิภา บุตรวงศ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อธิบายว่า ความแตกต่างของโรคptsd ในเด็กและผู้ใหญ่นั้น คือ ปัญหาเรื่องการสื่อสาร และการแสดงออก เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ในผู้ใหญ่อาจจะมีการแสดงอาการที่ตรงไปตรงมา สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมอย่างชัดเจน และยังสามารถอธิบายอาการได้ว่าเขามีความคิดอย่างไร เห็นภาพอะไร หรือกำลังรู้สึกอะไรอยู่

 

แต่เมื่อโรค PTSD เกิดขึ้นในเด็ก แม้จะมีการแสดงออกทางกายที่เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ในการสื่อสารและการอธิบายอาการที่เป็นอยู่นั้นจะค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากเด็กยังไม่มีความเข้าใจต่อโรค ไม่เข้าใจสภาวะของตัวเอง และไม่รู้จักวิธีการที่จะสื่อสารอาการของตัวเองออกไปได้มากนัก ดังนั้นผู้ปกครองจะทราบโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งมักพบว่าเด็กจะเสียทักษะทางพัฒนาการบางอย่างที่เคยทำได้และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วัฒนธรรม ต่างชาติ ที่เด็กต้องรู้ ! เพื่อไม่ให้เผลอสร้างบาดแผลในจิตใจของคนอื่น

 

อาการของ PTSD คือ กลุ่มอาการที่เกิดได้กับทุกเพศและวัย

โรค ทาง ใจ ในเด็ก

  • คิดว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้น (Re-experiencing) การคิดวนเวียนถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ หรือบางครั้งนึกถึงความทรงจำเลวร้ายนั้นขึ้นมาเอง ทำให้รู้สึกเหมือนต้องไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้เกิดอาการตกใจกลัว (Flashback) ฝันถึงเหตุการณ์เหล่านั้นซ้ำ ๆ หรือมีปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจเวลาต้องเจอสัญลักษณ์ สิ่งของหรือสถานการณ์ที่ลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา
  • กลัวและหลีกเลี่ยง (Avoidance) กลัวสถานที่ หรือสถานการณ์หลังจากประสบเหตุการณ์นั้น ๆ อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงที่จะคิดและรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์
  • มีความรู้สึกนึกคิดในทางลบ (Negative alteration of cognition and mood) คือการไม่มีอารมณ์ในทางบวก ไม่มีความสุขและไม่สนใจที่จะร่วมกิจกรรมนั้น ๆ การรู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น มีความเชื่อและคาดหวังที่เป็นไปในทางลบอย่างต่อเนื่อง มีการตีความขยายออกไปในทางลบ บางรายไม่สามารถจดจำส่วนที่สำคัญของเหตุการณ์นั้นได้ ทำให้อาจมีความคิดบิดเบือนจากสาเหตุและผลลัพท์ที่เกิดขึ้นตามมาของเหตุการณ์ ซึ่งความคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การตำหนิตัวเองและคนอื่น
  • อาการตกใจและหวาดกลัว (Hyperarousal symptoms) เป็นอาการคอยจับจ้อง คอยระวังตัว ตื่นตัว และมักมีอาการหงุดหงิด ตกใจง่าย โกรธง่าย รวมถึงสะดุ้งและผวาง่ายขึ้นกับเสียงดัง ๆ ส่งผลให้ขาดสมาธิ นอนหลับไม่สนิท หลับยาก หรือชอบสะดุ้งตื่นในขณะที่นอนหลับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการรักษา PTSD การรักษาทางด้านจิตใจ

เด็ก กับ โรค PTSD

  • Trauma-Focused Cognitive Therapy สำรวจ และพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแนะนำวิธีการที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายกับการเผชิญสิ่งที่ทำให้ตื่นกลัว ปรับเปลี่ยนความเชื่อ และความคิดบิดเบือนเกี่ยวกับอาการ หรือเหตุการณ์ครั้งนั้น ฝึกให้ควบคุมความรู้สึกนึกคิด และรับมือกับอารมณ์ของตนเองได้ โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจโดยการให้ความรู้ผู้ปกครอง รวมทั้งให้ทักษะผู้ปกครองในการช่วยปรับ และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกอย่างถูกต้อง
  • Cognitive-Behavior Therapy (CBT) การทำจิตบำบัดรายบุคคล พ่อแม่มีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา Child-Parental Psychotherapy ,Family Therapy ถือเป็นการร่วมสำรวจแก้ไขจิตใจ อารมณ์ และหาวิธีการที่เหมาะสมที่พ่อแม่จะสามารถช่วยเด็กได้ แก้ไข และเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม โดยการให้ความรู้กับคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโรค PTSD 

โรค ทางใจในเด็กสุขภาพจิตของพ่อแม่ของเด็กที่แสดงออกถึงความวิตกกังวล ซึมเศร้าหลังเกิดเหตุการณ์มีส่วนสำคัญต่อการเกิด PTSD ในเด็ก ได้ รวมถึงการที่พ่อแม่ไม่สนับสนุน ไม่ให้กำลังใจ ไม่เป็นมิตรกับเด็ก การเลี้ยงดูแบบบังคับ

 

วิธีรับมือกับลูกเมื่อลูกมีอาการ 

  • พยายามรับฟังปัญหา เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ เปิดใจและรับฟังลูกน้อยของเราอย่างอบอุ่น ให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่ได้มีคุณอยู่ข้าง ๆ และรับฟังปัญหาของพวกเขา และค่อย ๆ ปลอบประโลมและให้คำแนะนำแก่พวกเขา
  • ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ใช้ชีวิต อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ทุก ๆ อย่างในชีวิตเหมือนเดิมหลังจากผ่านเหตุการณ์ที่ร้ายแรงจนส่งผบกระทบต่อจิตใจ แต่การปล่อยให้เด็กได้ใช้ชีวิตเป็นวิธีการทำให้เขาได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนนี้อาจจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คุณครู หรือบุคคลในครอบครัวคนอื่น ๆ
  • พยายามมอบความมั่นใจให้กับเด็ก ๆ บางครั้งเด็ก ๆ ก็เสียความมั่นใจลงเมื่อผ่านเหตุการณ์ใดมาก็ตามที่ส่งผลกระทบ การให้พวกเขาได้ลองตัดสินใจ และพยายามมอบความมั่นใจให้แก่พวกเขาเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ มันเป็นการปลูกฝัง ไม่ควรต่อว่าหรือตำหนิลูก พยายามชมเชยพวกเขาบ่อย ๆ
  • หากการรับมือที่กล่าวไม่สามารถบรรเทาพฤติกรรมที่เด็ก ๆ แสดงออกมาและเข้าข่ายโรค PTSD ให้คุณพ่อคุณแม่พาพวกเขาเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด อย่าปล่อยปละละเลยสิ่งนี้เพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันอาจจะส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่และบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ๆ อย่าลืมเอาใจใส่และดูแลลูกหลานของท่านไว้ คอยสังเกตลูก ๆ หลาน ๆ ของตนเองหลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรงมาแล้ว เพื่อเป็นการรับมือและป้องกันกับปัญหาที่ตามมาในภายหลังได้อย่างทันท่วงที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กรมควบคุมโรค เตือนให้ เฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกในเด็ก ในช่วงนี้!!

ศูนย์ควบคุมโรค เผยอันตราย เจลล้างมือและเด็ก ข้อเสียของเจลล้างมือ 

เสริมภูมิคุ้มกันเด็กเล็ก วัย 1-3 ปี อย่างไรใน สถานการณ์โรคระบาด

ที่มา : บริษัทคลินิคจิต-ประสาท , samitivejhospitals , phyathai

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Jitawat Jansuwan