ฟีโรโมนคือ ? กลิ่นนี้สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามได้จริงหรือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายคนอาจรู้จัก ฟีโรโมน (Pheromone) ผ่านคำโฆษณาสินค้าเกี่ยวกับน้ำหอม และหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า ฟีโรโมนคือ อะไร คอยทำหน้าที่อะไรบ้าง และสิ่งนี้สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามได้จริงหรือ วันนี้เราจะชวนเพื่อน ๆ มาไขคำตอบว่า ฟีโรโมนคือ อะไรตามกับบทความนี้ได้เลย

 

ทำความรู้จักกับ ฟีโรโมน

ฟีโรโมน คือสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากต่อมมีท่อที่เกาะติดกับไขมันบริเวณผิวหนังและรูขุมขนตามจุดซ่อนเร้นต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อวัยวะเพศ ผิวหนัง ทวารหนัก ขาหนีบ หรือซอกคอ เป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การดูแลสุขอนามัยที่ดีให้ไม่มีกลิ่นของแบคทีเรียจะยิ่งเป็นการช่วยให้เกิดการทำงานที่ได้ผลดี และควรหลีกเลี่ยงการกลบกลิ่นนั้นด้วยน้ำหอมหรือกลิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลลัพธ์ที่มีต่อความต้องการทางเพศลดลงได้ 

โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้ระบุไว้ว่า มนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงในช่วงที่มีการตกไข่จะมีการสื่อสารถึงกันผ่านฮอร์โมนที่เรียกว่า ฟีโรโมน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกัน รวมทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศได้อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรแล้วสิ่งที่มีผลและเป็นปัจจัยที่สามารถดึงดูดและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้มากกว่าฟีโรโมนนั้นคือรูปร่างหน้าตา น้ำเสียง รอยยิ้ม การแต่งกาย หรืออิริยาบถต่าง ๆ ที่มนุษย์สามารถมองเห็น รับรู้ และสัมผัสได้ก่อนที่จะรับกลิ่นของฟีโรโมน

 

ฟีโรโมน มีกี่ประเภท 

ฟีโรโมน เป็นสารที่มีอยู่ในมนุษย์และสัตว์แทบเกือบจะทุกชนิด โดยปรากฏและเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเราต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าหน้าที่ของฟีโรโมนคือช่วยในการดึงดูดเพศตรงข้าม แต่ในปัจจุบันบทบาทของฟีโรโมนในมนุษย์ได้ถูกลดความสำคัญลงไปตามวิวัฒนาการ จึงส่งผลให้ฟีโรโมนในมนุษย์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตน้อยกว่าฟีโรโมนที่อยู่ในสัตว์ ซึ่งเรียกได้ว่าฟีโรโมนมีความสำคัญที่ชี้นำต่อสัตว์เป็นอย่างมาก โดยฟีโรโมนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้

 

1. ฟีโรโมนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทันที (Releaser Pheromone)

ฟีโรโมน มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมและการแสดงออกที่จะส่งผลไปกระตุ้นการตอบสนองได้ในทันที ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะปรากฏอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงของวัยเจริญพันธุ์ นอกจากการดึงดูดเพศตรงข้ามแล้ว ฟีโรโมนยังถูกแบ่งแยกย่อยออกเป็น 6 ลักษณะ คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ฟีโรโมนใช้เพื่อการเตือนภัย (Alarm Pheromone) สำหรับฟีโรโมนที่อยู่ในสัตว์ต่าง ๆ เมื่อมีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น สัตว์จะปล่อยฟีโรโมนประเภทนี้ออกมาเพื่อแจ้งเตือนและสร้างการรับรู้ให้แก่สัตว์ตัวอื่น ๆ เช่น ผึ้งจะปล่อยสารไอโซเอมิลแอซิเตต (Isoamyl Acetate) เพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกให้ผึ้งตัวอื่นได้รับรู้และร่วมกันต่อสู้กับศัตรูที่เข้ามาทำร้าย
  • ฟีโรโมนใช้เพื่อบอกเส้นทาง (Trail Marking Pheromone) เมื่อสัตว์ต้องการที่จะนำทางให้แก่สัตว์ตัวอื่น ๆ เพื่อตามรอยไปยังสถานที่ที่ต้องการหรือแหล่งที่มีอาหาร สัตว์ก็จะทำการปล่อยฟีโรโมนชนิดนี้ออกมาเพื่อนำทางให้แก่สัตว์ตัวอื่นได้ตามมา เช่น มดปล่อยฟีโรโมนออกมาเพื่อให้มดตัวอื่น ๆ ได้ตามรอยมายังแหล่งอาหารได้อย่างถูกต้อง
  • ฟีโรโมนใช้เพื่อปลุกระดมพล (Recruitment Pheromone) สำหรับฟีโรโมนชนิดนี้จะสามารถพบได้ในสัตว์ที่มีลักษณะนิสัยการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะทำการปล่อยออกมาเพื่อเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าถึงเวลาออกล่าอาหารหรือช่วงเวลาของการผสมพันธุ์นั่นเอง
  • ฟีโรโมนใช้เพื่อกระตุ้นความต้องการทางเพศ (Sex Attractant Pheromone) ฟีโรโมนประเภทนี้จะถูกปล่อยออกมาเพื่อทำหน้าที่ดึงดูดเพศตรงข้าม เพื่อให้เกิดการกระตุ้นต่อการผสมพันธุ์ เช่น ผีเสื้อตัวเมียจะปล่อยสาร บอมบายโก (Bombygol) ออกมาเพื่อดึงดูดให้ผีเสื้อตัวผู้เข้าหาและผสมพันธุ์
  • ฟีโรโมนใช้เพื่อบอกความเป็นผู้นำ (Queen Pheromone) สัตว์บางชนิดจะทำการปล่อยฟีโรโมนประเภทนี้ออกมาเพื่อบ่งบอกให้สัตว์ตัวอื่นได้รับรู้ว่าใครคือผู้นำที่แท้จริง เช่น นางพญาจะปล่อยสาร Queen Substance เพื่อทำหน้าที่บอกให้สัตว์ตัวอื่น ๆ ได้รับรู้ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในรัง
  • ฟีโรโมนใช้เพื่อแสดงอาณาเขต (Territory Pheromone) โดยส่วนใหญ่แล้วสัตว์จะปล่อยฟีโรโมนประเภทนี้ออกมาเพื่อบ่งบอกและประกาศอาณาเขตของตัวเอง เช่น สุนัขจะฉี่เพื่อประกาศเขตแดนของตัวเอง ซึ่งภายในฉี่ก็จะประกอบไปด้วยฟีโรโมน

 

2. ฟีโรโมนที่กระตุ้นแต่ไม่เกิดพฤติกรรมทันที (Primer Pheromone)

ฟีโรโมนประเภทนี้จะต้องใช้เวลาต่อการตอบสนองค่อนข้างนานกว่าฟีโรโมนประเภทแรก เช่น ฟีโรโมนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการหรือสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งวงจรของประจำเดือนและการตั้งครรภ์ เช่น ฟีโรโมนความเป็นผู้นำ (Queen Substance Pheromone) มักพบได้ในสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคม เช่น มด ผึ้ง ต่อ หรือปลวก เป็นฟีโรโมนที่ถูกปล่อยออกมาจากนางพญาเพื่อใช้ควบคุมบริวาร เช่น นางพญาผึ้งจะปล่อยกรด keto – decenoic acid เพื่อให้ผึ้งงานเข้ามาเลียตัวนางพญา ส่งผลให้ผึ้งงานเหล่านี้กลายเป็นหมันและต้องทำงานตลอดเวลา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟีโรโมนกับความผูกพัน

ฟีโรโมนยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของความผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะแม่สามารถดมกลิ่นจากเสื้อผ้าแล้วแยกออกได้ว่าชุดไหนคือชุดของลูกตนเอง และสำหรับลูกที่กินนมแม่ที่เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมนจากแม่ก็สามารถแยกแยะออกได้ว่าเต้าไหนเป็นของแม่ตนเอง รวมทั้งเรื่องของความสัมพันธ์ที่เมื่อเวลาผู้หญิงตกไข่ ร่างกายจะทำการขับฟีโรโมนออกมาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศของฝ่ายชายเพื่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับเพศชายก็จะขับฟีโรโมนออกมาตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณรักแร้และผิวหนัง

 

น้ำหอมฟีโรโมนสามารถกระตุ้นความรู้สึกทางเพศในมนุษย์ได้จริงหรือ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจุบันการสังเคราะห์น้ำหอมฟีโรโมนมักหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งสามารถกระตุ้นความรู้สึกทางเพศของมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนเสมอไป เนื่องจากการสกัดเอาฟีโรโมนออกมาเพื่อช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะความไวต่อการสัมผัสและการรับกลิ่นของมนุษย์มีความด้อยประสิทธิภาพมากกว่าสัตว์หลายเท่า จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเมื่อที่น้ำหอมฟีโรโมนจะสามารถกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้กับทุกคน อีกทั้งการใส่สารฟีโรโมนเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางนั้นยังเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายของประเทศไทย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เหล่านี้และหันมาดูแลตัวเองด้วยวิธีแบบธรรมชาติ

บทความที่น่าสนใจ : 7 น้ำหอมเซเว่น 2022 กลิ่นหอมโดนใจ พกพาสะดวก หาซื้อง่าย คุ้มค่าคุ้มราคา !!

 

สรุปได้ว่าฟีโรโมนเป็นสารจากธรรมชาติที่ไม่มีกลิ่น โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่บริเวณจุดซ่อนเร้น ต้องดูแลและเอาใจใส่สุขอนามัยของตัวเองให้เป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้มีกลิ่นสะสมของแบคทีเรีย และสำหรับสารฟีโรโมนที่อยู่ภายในน้ำหอมอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการดึงดูดเพศตรงข้ามได้ เนื่องด้วยกลิ่นของน้ำหอมที่ผ่านการปรุงแต่งอาจไปกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นกลิ่นที่คุ้นเคยของคนรักที่ใช้อยู่เป็นประจำก็จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นทางเพศที่สามารถดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี แต่ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อกลิ่นเหล่านี้ถือว่าไม่ได้ถูกเกิดขึ้นจากฟีโรโมนอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้มากกว่าฟีโรโมนนั่นก็คือรูปร่างหน้าตาหรืออิริยาบถต่าง ๆ ที่เพศตรงข้ามสามารถสร้างขึ้นมาด้วยตัวเองได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

10 น้ำหอมผู้หญิง ยี่ห้อไหนมาแรง แห่งปี 2023

7 น้ำหอม Chanel รวมกลิ่นยอดฮิต เผยเสน่ห์ กลิ่นหอมหรูดูแพง สไตล์ลูกคุณ

ยั่วจนได้ผู้! 10 น้ำหอมฟีโรโมนสำหรับผู้หญิง กลิ่นเซ็กซี่ เพิ่มเสน่ห์!

ที่มา : thestandard, trueplookpanya, hellokhunmor

บทความโดย

Thanawat Choojit