hCG คืออะไร เกี่ยวอะไรกับคนท้อง แล้วเราจะรู้ค่า hCG ได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

hCG คืออะไร แล้วทำไมถึงเกี่ยวข้องกับคนท้อง แล้วเราจะสามารถหาค่านี้ได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ ว่าแท้จริงแล้ว hCG คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับคนท้องอย่างไรบ้าง ทำไมคนท้องถึงจะต้องทำความเข้าใจกับค่า hCG

 

hCG คืออะไร

ฮอร์โมน human chorionic gonadotropin ( hCG) ภาษาไทยเราเรียกกันว่า “ฮอร์โมนตั้งครรภ์”  เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรก ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มตรวจพบเมื่อ 11 วันหลังจากการมีปฏิสนธิ และจะตรวจพบในปัสสาวะหลังจากปฏิสนธิ 12-14 วัน ระดับฮอร์โมนจะมีค่าเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 3 วันระดับฮอร์โมนจะขึ้นสูงสุดที่ 8-11 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นค่าจะลดลงและคงที่ตลอดการตั้งครรภ์

 

hCG คือฮอร์โมนอะไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมคนท้องถึงมีค่าฮอร์โมน hCG

  1. ร้อยละ 85 ของผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีค่าฮอร์โมนพุ่งขึ้นสูงประมาณ 2 เท่าทุก ๆ 2 – 3 วัน และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ค่าฮอร์โมน hCG ก็เพิ่มขึ้น แต่เป็นช่วงเวลาที่นานกว่าช่วงแรก ๆ คือเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า ทุก ๆ 4 -5 วันนั่นเอง
  2. การแปรผลค่าฮอร์ต้องระวัง ผู้ตั้งครรภ์บางท่านค่าฮอร์โมนไม่สูง แต่ทารกก็แข็งแรง ดังนั้นควรจะใช้การตรวจชนิดอื่น เช่น ultrasound ร่วมด้วยในการแปรผล
  3. ระดับฮอร์โมนน้อยกว่า 5mIU/ml แสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ ค่าฮอร์โมนมากกว่า 25mIU/ml แสดงว่าตั้งครรภ์
  4. ถ้าหากว่าระดับฮอร์โมนของคุณอยู่ช่วงระหว่าง 1,000-2,000 mIU/ml จำเป็นจะต้องทำการตรวจ ultrasound ตรวจทางช่องคลอดเพื่อเช็คดูทารก ดังนั้นหากครรภ์ยังอ่อนอยู่ จะต้องอาศัยทั้งการตรวจฮอร์โมน และ ultrasound ไปพร้อม ๆ กัน
  5. การตรวจฮอร์โมนเพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย ในกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัยจะต้องมีการเจาะเลือดซ้ำ
    ไม่ควรใช้ระดับฮอร์โมนในการคาดการณ์วันครบกำหนดคลอด

 

คนท้องเท่านั้นหรือเปล่าที่มี hCG

นอกจากคนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ในกรณีสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรงมะเร็งที่มดลูก หรือมะเร็งลูกอัณฑะ จะทำให้ร่ายการมีฮอร์โมน hCG ปรากฎอยู่ในปัสสาวะด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน คนที่ตั้งครรภ์อยู่นั้น ก็อาจจะวัดค่า hCG ไม่ได้ หรือระดับฮอร์โมน hCG นั้นน้อยเกินไป จนแสดงผลว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยมากเหตุการณ์นี้ มักจะเกิดกับครรภ์แรก หรือผู้ที่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ หรือมีการดื่มน้ำที่มากเกินกำหนด ก่อนทำการตรวจ แล้วทำให้ปัสสาวะที่ออกมานั้นเจือจางจนไม่สามารถตรวจวัดค่าได้

 

รู้จักการตรวจเอชซีจี (hCG) ฮอร์โมนจำเป็นสำหรับการตรวจครรภ์

เทคนิควิธีตรวจสอบการตั้งครรภ์ผ่าน ที่ตรวจครรภ์ ตรวจเลือด และ ตรวจปัสสาวะ โดยหลักจะใช้หลักการตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนนี้ จะเกิดจากตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิอย่างน้อย 6 วันขึ้นไป

ระดับปริมาณฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) บ่งบอกการตั้งครรภ์และอายุครรภ์คร่าว ๆ ได้ ฮอร์โมนนี้มีความยาวของกรดอะมิโน 237 ตัว ชุดน้ำยาในที่ใช้ในการตรวจครรภ์ จะสามารถอ่านผลได้จากการดักจับฮอร์โมนเอชซีจีเป็นหลัก ส่วนการใช้วิธีตรวจการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการตรวจผ่านทางห้องแล็ปปฏิบัติการนั้น จะใช้ชุดน้ำยาอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถจับส่วนประกอบย่อย ของฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนคือ อัลฟ่า เอชซีจี (Alpha Subunit หรือ Alpha-hCG) และ เบต้า เอชซีจี (Beta Subunit หรือ Beta-hCG)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ควรใช้อย่างไร ต่างกับแบบอื่นอย่างไร

 

ค่าฮอร์โมน hCG สูง-ต่ำหมายถึง

hCG คืออะไร

ค่าฮอร์โมน hCG ต่ำหมายถึง

หากตรวจฮอร์โมนแล้วพบว่าค่าต่ำซึ่งมีหลายสาเหตุแนะนำให้ตรวจซ้ำ ค่าฮอร์โมนhCG อาจจะมีสาเหตุมาจากจำวันประจำเดือนสุดท้ายคลาดเคลื่อน การแท้ง ไข่ฝ่อ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก Ectopic pregnancy

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ค่าฮอร์โมน hCG สูงหมายถึง

หากค่าสูงควรจะตรวจซ้ำใน 24 – 48 ชั่วโมง ค่าที่สูงอาจจะมีสาเหตุมาจาก จำวันประจำเดือนครั้งสุดท้ายคลาดเคลื่อน ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุ หรือตั้งครรภ์แฝด Multiple pregnancy

 

ค่าฮอร์โมนนี้จะกลับสู่ปกติเมื่อไร

หลังคลอดหรือแท้งค่าฮอร์โมนจะกลับสู่ปกติ 4 – 6 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์สิ้นสุด

อายุครรภ์ hCG level (U/ML
0-1 สัปดาห์ 0-50
1-2 สัปดาห์ 40-300
3-4 สัปดาห์ 500-6,000
1-2 เดือน 5,000-200,000
2-3 เดือน 10,000-100,000
ไตรมาสที่ 2 3,000-50,000
ไตรมาสที่ 3 1,000-50,000

ตารางที่แสดงระดับของฮอร์โมน hCG ในหญิงตั้งครรภ์

ระดับของค่า hCG ในเลือดของคุณแม่ จะมีค่าสูงสุดในช่วงที่ครรภ์อายุได้ประมาณ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่า hCG ก็จะเริ่มตกลงมาในช่วงไตรมาสที่ 2 และมีเริ่มคงที่หลังจากอายุครรภ์ได้ 22 สัปดาห์เป็นต้นไป ในขณะเดียวกัน ระดับของ Free Beta hCG ในกลุ่มคุณแม่ที่ทารกมีอาการของดาวน์ซินโดรม ระดับ hCG จะต่ำกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ MSAFP โดยในการตรวจกรองนี้ จะให้ค่าที่วัดนั้นถูกต้องถึง 49% แต่หากพิจารณาร่วมกันกับอายุผลที่วัดได้จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 50% เลยทีเดียว

 

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ hCG ได้แก่

  • น้ำหนักตัวมารดา  หากน้ำหนักมากจะมีระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
  • เบาหวานชนิด IDDM ซึ่งจะมีผลให้ระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
  • เชื้อชาติ (race) เชื้อชาติ African-Americans and Asian-Americans จะมีระดับสูงกว่าสตรีผิวขาวประมาณร้อยละ 8-9 และร้อยละ 16
  • การตั้งครรภ์แฝด ค่าจะสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวประมาณ 1.8-2.4 เท่าในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 15-19 สัปดาห์
  • uE3 (Unconjugate Estriol) เราจะสามารถสังเกตค่าของ uE3 จากเลือดของคุณแม่ได้ว่า โดยปกติจะมีค่า uE3 นี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ แต่ค่า uE3 นี้จะมีต่ำกว่าปกติ ในกลุ่มของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกกลุ่มดาวน์ซินโดรม โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 21

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ตั้งครรภ์กี่วันถึงจะตรวจเจอ กี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง อาการขณะตั้งครรภ์เป็นอย่างไร

 

ตรวจครรภ์กี่วันถึงรู้ผล

  • ตรวจเลือดรู้ผล 14 วัน หลังปฏิสนธิ สำหรับการตรวจสอบการตั้งครรภ์จากเลือดนั้น เป็นวิธีการตรวจแบบ hCG ด้วยการตรวจจากฮอร์โมน Beta hCG เป็นหลัก และจะทราบผลที่แน่ชัด หลังจากมีการปฏิสนธิแล้ว 14 วัน สามารถรู้ผลการทดสอบได้ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ที่ตรวจครรภ์รู้ผล 14 วันขึ้นไปหลังปฏิสนธิ ในกรณีที่สาว ๆ ใช้ที่ตรวจครรภ์ แม้ว่าจะเห็นขึ้นขีดจางหรือขีดสีเข้ม แต่ผู้หญิงส่วนมาก ไม่ทราบว่าผ่านการปฏิสนธิมากี่วันแล้ว จะเป็นการตรวจด้วยวิธีการประมาณ จากวันแรกที่ประจำเดือนขาด

 

ความแม่นยำในการตรวจ

จากชุดตรวจสอบหลายยี่ห้อที่มีอยู่ มีการยืนยันถึงความแม่นยำที่สูงเกือบ 100% ซึ่งถือว่าเป็นความแม่นยำที่เชื่อถือได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย ที่อาจจะส่งผลให้การตรวจนั้นมีความคลาดเคลื่อน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

hCG คืออะไร

 

1. ช่วงเวลาในการตรวจเร็วเกินไป 

เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอชซีจีในปัสสาวะยังสูงไม่มากพอ จึงไม่สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ และผลการตรวจออกมาเป็นลบ คือ ไม่ตั้งครรภ์ ควรรอเวลาอีกสักพักแล้วทำการตรวจใหม่อีกครั้ง

 

2. ค่าความไวในการตรวจของชุดทดสอบการตั้งครรภ์

ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แต่ละยี่ห้อมีการตรวจหาค่าความไวต่อฮอร์โมนเอชซีจีที่ต่างกัน ยิ่งค่าความไวในการตรวจจับฮอร์โมนมีน้อยจะทำให้ผลอาจเป็นลบได้ หรือไม่ตั้งครรภ์ได้

 

3. ความเข้มข้นของปัสสาวะ

เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเจือจาง เนื่องจากการดื่มน้ำมากเกินไปก่อนการตรวจ อาจส่งผลต่อความเข้มข้นของฮอร์โมนในปัสสาวะได้เช่นกัน จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง

 

4. การรับประทานยาบางประเภท

ในยาบางตัวอาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอชซีจี เช่น ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) หรือยาแก้แพ้ (Antihistamines) ซึ่งส่งผลต่อการตรวจได้เช่นกัน

 

ค่าตรวจเอชซีจี (hCG) เท่าไหร่

ปัจจุบันสามารถเข้ารับการตรวจครรภ์แบบเอชซีจี (hCG) ได้แล้ว ซึ่งราคาหรือค่าบริการก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่โรงพยาบาลนั้น ๆ หากสนใจอยากเข้าตรวจ สามารถติดต่อโรงพยาบาลที่สนใจ เพื่อสอบถามรายละเอียดได้

 

ฮอร์โมนตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ?

ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ท้องจะผลิตฮอร์โมนมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของครรภ์ และเป็นตัวการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก อาการหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จนถึงหลังคลอด ส่วนมากแล้ว เกิดขึ้นจากฮอร์โมนแทบทั้งนั้น

 

มีฮอร์โมนอะไรบ้าง ที่ร่างกายสร้างขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ?

  • ฮอร์โมนเอชซีจี (Human chorionic gonadotropin hormone หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คุณแม่รู้จักกันดี เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ และเป็นฮอร์โมนตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาในร่างกายของคนท้อง ฮอร์โมน hCG ถูกผลิตขึ้นในรก และจะพบได้ในเลือด และปัสสาวะของแม่ท้อง ฮอร์โมนชนิดนี้ มีส่วนทำให้แม่ท้องมีอาการวิงเวียน และแพ้ท้องมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการไตรมาสแรก
  • ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human placental lactogen หรือ hPL) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาการไปหล่อเลี้ยงตัวอ่อน และยังกระตุ้นต่อมน้ำนม สำหรับการให้นมลูกด้วย
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งผลิตขึ้นในรังไข่ และรก เพื่อการเจริญเติบโตของครรภ์

  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยรังไข่ และรกในขณะตั้งครรภ์ มีหน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับกับการฝังตัวของตัวอ่อน

 

ที่มา : (siamhealth),(trueplookpanya), (stanfordchildrens)

บทความที่เกี่ยวข้อง :

ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

ตั้งครรภ์อ่อนๆ ท้องอืด เรอ อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ วิธีบรรเทาอาการท้องอืด

ก่อนตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง เรื่องจำเป็นที่คนท้องต้องรู้

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong