เมื่อเด็กอายุครบ 2 เดือน หรือ 10 สัปดาห์ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง มีเรื่องอะไรที่ควรระวังไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงเป็นกังวลใช่ไหม เมื่อลูกน้อยของเรานั้นอายุได้ 10 สัปดาห์ ควรไปตรวจสุขภาพอะไรบ้าง วันนี้ทางเราจะมาแนะนำว่า ทารก 10 สัปดาห์ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง หรือเด็กอายุได้ 2 เดือนควรไปตรวจสุขภาพอะไรบ้าง มาดูกันเลย

 

เด็กทารกอายุ 2 เดือน

เมื่อลูกน้อยอายุได้ 2 เดือน จะเป็นช่วงที่มีพัฒนาการภายในร่างกายหลายอย่าง ทั้งการเจริญเติบโตของดวงตา กล้ามเนื้อ และส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเด็กในช่วงนร่จะมีการพัฒนาการบางอย่างที่เพิ่มมาจากช่วงเดือนแรก ๆ แต่การที่เด็กยังไม่สามารถที่จะพูดได้อาจจะเป็นอุปสรรคหนึ่งในการสื่อสารคุณพ่อคุณแม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรที่จะใส่ใจและดูลูกน้อยเป็นพิเศษ เพื่อที่ให้เด็กนั้นห่างไกลจากโรคร้าย และมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์แข็งแรง

 

เมื่อเด็กทารกอายุครบวัย 2 เดือน หรือ ทารก 10 สัปดาห์ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง

เมื่อลูกน้อยของเรานั้นอายุได้ 2 เดือน ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่าย และพัฒนาการต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะสงสัยใช่ไหมว่า เมื่อลูกครบ 2 เดือนแล้วต้องตรวจสุขภาพลูกไหม มาดูกัน หากว่าคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยวัย 2 เดือนไปรับการตรวจสุขภาพคุณหมอจะตรวจอะไรบ้าง

 

สิ่งที่คุณหมอจะตรวจสุขภาพลูกน้อย

1. การชั่งน้ำหนัก และวัดความยาว

การชชั่งน้ำหนัก หรือการวัดความยาวของลูกน้อย บางครั้งอาจจะจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออกเพื่อที่จะให้ได้น้ำหนักตัวที่แท้จริงของลูก และคุณหมอจะวัดความยาว และเส้นรอบวงศีรษะเพื่อที่จะคำนวณดูการเจริญเติบโตตานแผนภูมิการเจริญเติบโจของทารก ซึ่งแผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกจะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า ลูกของเรานั้นสามาถเจริญเติบโตได้มาน้อยเพียงใดนั้นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายถือเป็นสิ่งสำคุญมาก ๆ สำหรับการไปตรวจสุขภาพของลูก เนื่องจาคุณพ่อคุณแม่จะได้รู้ว่าลูกนั้นร่างกายปกติหรือเปล่า หรือร่างกายยมีส่วนไหนผิดปกติไหม โดยทางแพทย์จะตรวจส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • ศรีษะ : การตรวจศีรษะของทารก คือการที่ตรวจรูปทรงของศรีษะว่ามีรูปทรงที่ปกติไหม และตรวจความอ่อนนุ่มของกระหม่อมอยู่ในภาวะปกติหรือไม่
  • ตา : การตรวจสอบตาเป็นการตรวจสอบการมองเห็น โดยดูจากลักษณะของดวงตา ว่ามีความผิดปกติไหม หรือตรวจสอบปัญหาอื่น ๆ ที่มักจะพบได้กับเด็ก เช่น ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น
  • หู : การตรวจหูเป็นการตรวจสอบหูของทารกว่ามีการติดเชื้อที่หูหรือไม่ และตรวจในเรื่องของการได้ยินเสียง
  • ปาก : การตรวจดูสภาพของช่องปาก ความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น เกิดแผลในปาก หรือเกิดตุ่มหนองต่าง ๆ ที่เป็นความผิดปกติ
  • หัวใจและปอด : การตรวจหัวใจ และปอด ทางแพทย์ขะใช้หูฟังเพื่อที่จะตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติไหม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือไม่
  • ท้อง : การตรวจท้องทางแพทย์จะกดเบา ๆ ที่ท้องเพื่อที่จะตรวจดูลำไส้ หรืออวัยวะในช่องท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น
  • ร่างกาย : การตรวจร่างกายเป็นการตรสจสอบผิวหนัง ผดผื่น หรือความผิดปกอื่น ๆ ของผิวหนังรวมไปถึงการตรวจสอบกลล้ามเนื้อของทารกด้วยการดูอาการตอบสนองของกล้ามเนื้ออีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การพัฒนาการของเด็กวัย 2 เดือน

เมื่อลูกอายุได้ 2 เดือน คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ก็อยากที่จะรู้ใช่ไหมว่า เมื่อลูกอายุได้ 2 เดือน จะมีการพัฒนาการทางด้านใดบ้าง แล้วควรที่จะส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยวัย 2 เดือน อย่างไร

 

พัฒนาการเด็ก เดือน ด้านการเข้าใจภาษา

พัฒนาการในวัย 2 เดือน จะเป็นการที่เด็กเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ได้แล้ว อีกทั้งยังที่พยายามทำเสียงต่าง ๆ ในคอ สามารถแยกเสียงต่าง ๆ ได้ แลละยังสามารถที่จะโต้ตอบเสียงและรอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกในท่านอนหงาย หรืออุ้มลูกให้หน้าแม่ห่างจากลูกประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจเช่น ทําตาโต ขยับริมฝีปาก ยิ้ม หัวเราะ ร้องเพลง หมั่นเรียกชื่อลูก และอ่านนิทานให้ลูกฟังด้วยจะยิ่งดีมาก

 

พัฒนาการเด็ก เดือน ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

พัฒนาการเด็กในวัย 2 เดือนนี้ ลูกน้อยจะเริามน้ำลายไหลมากขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องห่วงในเรื่องของความสะอาด เพราะธรรมชาติของลูกได้สร้างน้ำลายมาเพื่อที่จะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญลูกน้อยสามารถที่จะเริ่มชันคอได้เมื่อนอนคว่ำแล้ว พร้อมกับเริ่มที่จะพยายามนอนตะแคงโดยใช้แขนยันตัวเองขึ้น และยังสามารถที่จะยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาเล่นได้แล้ว

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนควํ่า ข้อศอกงอ
  2. หยิบของเล่นมาเขย่าตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2
  3. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
  4. ทําซํ้าอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
  5. ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม

 

พัฒนาการเด็ก เดือน ด้านสติปัญญา

พัฒนาการในช่วง 2 เดือน ลูกน้อยสามารถที่จะจดจำใบหน้า และสัมผัสของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว พร้อมกับมีปฏิกิริยากับเสียงที่ได้ยิน และเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ได้แล้ว

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย
  2. ถือของเล่นสีสดใสไม่มีเสียงห่างจากหน้าลูก 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) และอยู่ในตำแหน่งเลยจุดกึ่งกลางของใบหน้าลูกไปทางซ้ายเล็กน้อย
  3. กระตุ้นให้ลูกสนใจโดยแกว่งของเล่นให้ลูกจ้องมอง แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นนั้นให้ผ่านจุดกึ่งกลางใบหน้าลูกไปทางด้านขวาและสลับมาทางด้านซ้าย

 

พัฒนาการเด็ก เดือน ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม

ทักษะ : ลูกน้อยสามารถยิ้มหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อคุณแม่แตะต้องตัวและพูดคุยด้วย

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูก
  2. สบตาลูกและสัมผัสเบาๆ พร้อมกับพูดคุยกับลูก เป็นคาพูดสั้นๆ ซํ้าๆ ช้าๆ เช่น “ว่าไงจ๊ะ.. (ชื่อลูก)..คนเก่ง” “ยิ้มซิ” “ลูกดี” “.. (ชื่อลูก)..ลูกรัก” “แม่รักลูกนะ”
  3. หยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกยิ้มหรือส่งเสียงตอบ

 

พัฒนาการเด็ก เดือน ด้านการกิน 

สำหรับในเรื่องของการกินของเด็กวัย  2 เดือน เด็กที่รับประทานนมแม่คุณแม่ควรที่จะให้ลูกดื่มนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หากว่าเด็กรับประทานเป็นนมผงคุณแม่อาจจะให้เด็กดื่มนมจากขวดครั้งละประมาณ 120 – 150 มิลลิลิตร หรือ 4-5 ออนซ์ ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าลูกน้อยกำลังหลับอยู่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่นขึ้นมากินนม เพราะเด็กมักที่จะส่งสัญญาณบอกเองเมื่อถึงเวลาที่หิวนม

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ขอขบคุณข้อมูลจาก : momster , s-momclub , pobpad

บทความโดย

Kittipong Phakklang