ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่
ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่ เป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนถามกันเข้ามามาก แม้ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด คุณแม่หลายคนใช้เวลามากขึ้นเรื่อย ๆ ในการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อเมื่อไหร่ที่คุณควรตัดสินใจให้ลูกหย่านมแม่ แต่โชคไม่ดีที่คำแนะนำเหล่านั้นไม่ได้นำไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่ดีกว่าและง่ายกว่า ในทางกลับกันกลับทำให้คุณแม่บางคนสับสนมากกว่าเดิมและรู้สึกผิดเล็กน้อยที่ต้องให้ลูกหย่านมด้วย
ขั้นตอนแรก…
บางที สิ่งแรกที่คุณต้องทำ คือค้นหาข้อมูลและทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ทำไมคุณถึงต้องตัดสินใจตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อคุณเข้าใจและรู้สึกสบายใจกับกระบวนการทางความคิดของคุณถึงเหตุผลในการให้ลูกหย่านมแล้ว คุณก็จะสามารถกำหนดแผนที่แน่นอนสำหรับขั้นตอนการ หย่านม ซึ่งจะช่วยให้คุณและลูกเกิดความรู้สึกเสียใจที่ต้องหย่านมน้อยลง
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คุณแม่ทั้งหลายให้นมลูกเป็นระยะเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้ คนทั่วไปมักคิดว่าลูก ๆ จะหย่านมไปเองไปโดยปริยายเมื่อถึงเวลา อย่างไรก็ตาม ทั้งในเรื่องทางสังคมและความผูกพันธ์กันในแต่ละวันของแม่และลูก อาจเป็นปัจจัยทำให้เรื่องนี้ไม่ตรงกับความต้องการของคุณและลูก คุณควรพิจารณาถึงสถานการณ์และความผูกพันธ์ระหว่างคุณและลูก เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้จะควบคุมช่วงเวลาในการให้นมลูก
บังคับให้ลูกหย่านมดีไหม
อีกเหตุผลหนึ่ง คุณอาจต้องทำการบังคับให้ลูกหย่านมหากจำเป็น ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น เวลาในการลาคลอดของคุณหมดแล้วและคุณต้องกลับไปทำงานตามปกติ และการกลับไปทำงานทำให้คุณต้องอยู่ห่างจากลูกเป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าลูกของคุณยังคงชอบการกินนมแม่อยู่ แต่คุณก็สามารถแทนที่นมแม่ด้วยนมชงและใส่ขวดให้เขาดื่มได้ การสัมผัสร่างกายระหว่างแม่กับลูกอาจต้องน้อยลงไปตามธรรมชาติ สถานการณ์เช่นนี้อาจไม่สามารถเลี่ยงได้เนื่องจากคุณเองความจำเป็นต่าง ๆ แต่เราสามารถที่จะช่วยแบ่งเบาภาระและความรู้สึกบอบช้ำทางจิตใจในการตัดสินใจให้ลูกหย่านมให้กับคุณได้
หากคุณมีรูปแบบชีวิตที่ต้องทำสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา การตัดสินใจให้ลูกหย่านมจึงเป็นสิ่งที่คุณต้องทำ เนื่องจากจะทำให้คุณมีอิสระและได้ทำในสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสั่งสมความรู้สึกไม่พึงพอใจเนื่องมาจากการให้นมลูกของคุณ เหตุผลนี้เป็นเหตุผลที่ดีพอที่จะให้ลูกของคุณเริ่มกระบวนการหย่านม
หาวิธีหย่านมที่ถูกต้องเหมาะสม
ในการค้นหาวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ควรจำไว้ว่าคุณไม่ควรให้ลูกหย่านมโดยฉับพลัน เนื่องจากจะส่งผลต่อความรู้สึกของทั้งคุณและลูก นอกจากนี้ คุณอาจมีอาการเจ็บคัดเต้านมเนื่องจากการหลั่งของน้ำนม เมื่อคุณตัดสินใจที่จะให้ลูกหย่านมคุณควรเริ่มแนะนำลูกของคุณทราบและให้เป็นการหย่านมแบบค่อยเป็นค่อยไป
ปรึกษาแพทย์และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนมผงที่จะใช้แทนน้ำนมแม่ คุณควรทำขั้นตอนนี้ก่อนที่จะให้ลูกหย่านมในช่วงเริ่มแรกคุณอาจแทนที่น้ำนมแม่ด้วยนมชงสักสองครั้ง เด็ก ๆ จะมีการปรับตัวเข้ากับนมชงได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญ ควรให้เขารู้สึกเช่นเดียวกับการได้กินนมแม่ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
บทความแนะนำ :
สูตรอาหารเสริมสำหรับเด็กที่เพิ่งหย่านม
จ้ำม่ำจังลูก แต่มากไปก็ไม่ดีนะ! ถ้าลูกน้อยอ้วนเกินไป จะทำอย่างไรดี