เคล็ดลับการเลี้ยงดูลูกสำหรับพ่อแม่ที่หย่าร้างกัน

เมื่อการแต่งงานจบลงด้วยการหย่าร้างเด็ก ๆ จะได้รับผลกระทบเสมอ มันเป็นเรื่องยากที่แก้ไขปัญหาแบบยึดตามหลักกฎหมายและยากที่จะตัดสินใจใด ๆ ลงไป แต่เรามีวิธีที่ช่วยให้ทั้งพ่อแม่และลูกสามารถปรับตัวรับเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับ การเลี้ยงลูกเมื่อหย่า เพื่อลูกอันเป็นที่รักของคุณ

เคล็ดลับ การเลี้ยงลูกเมื่อหย่า เพื่อให้ลูกใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

พ่อแม่เลิกกัน คนที่เจ็บคือลูก พ่อแม่เลิกกันควรบอกลูกอย่างไร พ่อแม่หย่ากัน ห้ามพูดอย่างไรกับลูก สิ่งที่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด เมื่อตัดสินใจแยกทาง

รักษาชีวิตคู่ไว้ไม่ไหว แต่ต้องรักษาชีวิตลูกให้ได้

ข้อมูลการหย่าร้างของสามีภรรยาหรือพ่อแม่ที่เลิกกัน จากการสำรวจของกระทรวงมหาดไทย ในปี 2559 มีจำนวนครอบครัวทั้งหมดกว่า 25 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้ มีการจดทะเบียนสมรสรวม 307,746 คู่ และมีผู้จดทะเบียนหย่าจำนวน 118,539 คู่ ถัดมาในปี 2560 มีคู่รักจดทะเบียนหย่าเพิ่มขึ้นเป็น 121,658 คู่ นอกจากนี้ยังมีการหย่าขาดกันที่ต่างประเทศ เมื่อปี 2559 อีกจำนวน 412 คู่ ส่วนปี 2560 มีคู่รักหย่าขาดจากกันเพิ่มขึ้น 426 คู่

การหย่าขาดหรือเลิกราของพ่อแม่ สร้างบาดแผลในใจให้กับลูก การที่พ่อแม่เลิกกัน คนที่เจ็บคือลูก อย่าลืมว่าถึงแม้จะไม่ได้เป็นผัวเมียกันแล้ว แต่เรายังเป็นพ่อแม่ของลูกอยู่

สิ่งที่ห้ามทำกับลูกเด็ดขาด หากพ่อแม่เลิกกัน

เพจสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่า สิ่งที่ไม่ควรทำมีดังนี้

พ่อแม่เลิกกัน อย่าด่าอีกฝ่าย เพราะคนที่เจ็บคือลูก

1. การด่าอีกฝ่ายให้ลูกฟัง

ในชีวิตจิตแพทย์พบได้บ่อยมาก มักเกิดในพ่อหรือแม่ที่เจ็บปวดกับการกระทำของอีกฝ่าย จึงไประบายด้วยการด่าอีกฝ่ายให้เด็กฟัง เช่น เล่าถึงการนอกใจของพ่อ ความไม่เอาไหนของแม่ เป็นต้น

ไม่ควรว่าอีกฝ่ายต่อหน้าลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
พ่อแม่เลิกกัน อย่าเอาลูกเป็นพวกตัวเอง

2. การดึงลูกให้เข้ามาเป็นพวกเป็นฝ่ายของตน

อยากให้ลูกอยู่ข้างตัวเอง บางคนกีดกัน บางคนแสดงความไม่พอใจที่ลูกไปคุยกับอีกฝ่าย บางคนพูดให้ลูกรู้สึกผิด เช่น “ถ้าลูกไปคุยกับพ่อ แปลว่าลูกไม่รักแม่”

พ่อแม่เลิกกัน อย่าให้ลูกเป็นผู้ส่งสาร แค่นี้ลูกก็เจ็บมากพอแล้ว

3. ทำให้ลูกเป็นผู้ส่งสาร

เช่น พ่อแม่ไม่พูดกันเพราะทะเลาะกันอยู่ พอจะบอกอะไรอีกฝ่ายก็บอกผ่านลูก ให้ลูกไปบอกอีกที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่น พ่อบอกให้ลูกไปบอกแม่ว่า “เสาร์ อาทิตย์นี้จะไม่อยู่นะ”

พอลูกไปบอกแม่ แม่ก็บอกให้ลูกไปบอกพ่อว่า “เออ จะไปตายที่ไหนก็ไป” เป็นต้น

พ่อแม่เลิกกัน อย่าบังคับให้ลูกเลือกว่าจะอยู่กับใคร

4. บังคับให้เด็กเลือกว่าจะอยู่กับใคร

เพราะไม่ว่าจะตอบหรือเลือกใครก็ลำบากใจทั้งนั้นสำหรับเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กจะรู้สึกผิดอย่างมากกับคนที่เขาไม่ได้เลือก เพราะเขารู้ว่าพ่อ/แม่คนนั้นจะต้องเสียใจหรือโกรธ บางคนก็กลัวว่าพ่อหรือแม่ที่เขาไม่ได้เลือก จะเลิกรักเขา
หากต้องการรู้ว่าเด็กอยากอยู่กับใครมากกว่าอาจจะใช้วิธีการอ้อม ๆ เช่นให้ญาติที่สนิทกับเด็ก ถามเด็กว่าชอบเวลาอยู่กับใครมากกว่ากัน เป็นต้น

ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะสร้างความขัดแย้งในใจ ความอึดอัดให้เด็กอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น หากแม่ด่าพ่อให้เด็กฟัง ถ้าเด็กไม่เห็นด้วยกับแม่ ก็เท่ากับทรยศแม่ และกลัวว่าแม่อาจไม่รัก แต่ถ้าเห็นด้วย ก็เท่ากับว่าว่าพ่อเลว และเป็นการทรยศพ่อ

เพราะสำหรับเด็กแล้ว ยังไงก็พ่อแม่ก็เป็นพ่อแม่ ย่อมเป็นคนสำคัญของเขาเสมอทั้งสองคน (แม้ะดูไม่ดีในสายตาของคู่สามีภรรยาก็ตาม)

ความขัดแย้งระหว่างพ่อและแม่ จะทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดอย่างมาก

 

เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปหย่า

เพจสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยแนะนำว่า ด้านเงินทอง สิ่งที่ควรทำคือการตกลงกันตามกฎหมาย คือ เรื่องค่าเลี้ยงดู แต่ในขณะเดียวกันก็ควรคิดเผื่อหาทางอื่นด้วย และให้คงความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะพ่อของลูกและแม่ของลูก ร่วมมือกันเพื่อเลี้ยงลูกให้ได้ดีตามสมควร

 

สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับลูก
  1. ให้ความมั่นใจกับเด็กว่า การที่พ่อแม่แยกกันไม่ได้มีสาเหตุจากลูก
  2. การบอกความจริงกับเด็ก ในระยะยาวจะทำให้เด็กปรับตัวได้ดีกว่า จุดสำคัญ คือ แม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันครบเหมือนก่อน แต่พ่อและแม่ก็ยังคงเป็นพ่อและแม่ของลูกอย่างเดิม
  3. พยายามรักษาสภาพความเป็นอยู่ให้ใกล้เคียงชีวิตเดิมของลูกที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในระยะแรก การเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้เด็กปรับตัวได้ยากขึ้น
  4. ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักความใส่ใจเหมือนเดิม ไม่ว่าลูกจะอยู่กับใครก็ตาม แรก ๆ เด็กอาจจะมีปฏิกิริยาแปลก ๆ หรือแสดงความไม่พอใจอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

คุณเเม่มีสิทธิในตัวของลูกเพียงผู้เดียวค่ะ เเม้ว่าจะมีการใส่ชื่อบิดาในใบเกิดของลูกก็ตาม เมื่อลูกโตขึ้น ต้องเข้าเรียนทำงาน หรือรับราชการใด ๆ ก็ตาม การไม่ระบุชื่อบิดาจะไม่มีปัญหาในการทำเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้น

เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรส (ถูกต้องตามกฎหมายหรือจดทะเบียนกัน) กับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นอำนาจการปกครองบุตรจึงเป็นของมารดาฝ่ายเดียว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส อำนาจการปกครองเลี้ยงดูลูก จะตกเป็นของคุณแม่โดยชอบด้วยกฎหมาย

คุณพ่อจะมีสิทธิในตัวลูกได้ยังไง

คุณพ่อจะมีสิทธิในตัวลูก หรือลูกจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ซึ่งบิดาและมารดาของบุตรจะมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน) ก็ต่อเมื่อ

  • บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง
  • บิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร (ต้องได้รับความยินยอมทั้งจากมารดาและเด็กโดยตามปกติต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนที่อำเภอ)
  • ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547) โดยต้องให้ญาติสนิทของเด็กคนอื่นๆหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี เพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1556
กรณีจดรับรองบุตร

ทำให้ลูกมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเเละรับมรดกจากพ่อ เเละพ่อมีสิทธิในตัวลูกค่ะ ส่วนเรื่องฝ่ายไหนจะเลี้ยงนั้น หากฝ่ายชายเมื่อรับรองบุตร แล้วสามารถจะเอาบุตรไปเลี้ยงได้ ต้องร้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองจากแม่ไปเป็นของพ่อเสียก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566(5) ซึ่งศาลจะพิจารณาว่า บุตรอยู่กับพ่อหรือแม่ ลูกจะได้ประโยชน์มากที่สุด ก็จะพิจารณาไปตามที่สมควร อาจจะเป็นแม่หรือพ่อก็ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ที่ไม่ได้มีอำนาจปกครองพบปะบุตรตามสมควร

เเต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการเลี้ยงลูกนั้น หากต้องมีการฟ้องร้องการเลี้ยงดูลูกนั้น ว่าพ่อหรือเเม่มีความเหมาะสมมากกว่ากัน ศาลจะพิจารณาโดยอิงผลประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรกค่ะ

กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าขาดด้วยความสมัครใจ
  • สามารถใช้อำนาจการปกครองบุตรร่วมกันได้ ซึ่งควรต้องมีทำความตกลงเป็นหนังสือ ระบุผู้มีอำนาจปกครองบุตร หากตกลงกันไม่ได้ต้องเป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ชี้ขาด เพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่มีปัญหาการแย่งตัวเด็กกันในภายหลัง
  • การมีสิทธิในตัวลูก อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หากคุณพ่อหรือคุณเเม่ ประพฤติตนไม่สมควร หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี ศาลมีอำนาจเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้
  • แม้จะหย่าแล้ว อีกฝ่ายที่ไม่ได้เลี้ยงดูลูก ไม่ว่าจะเป็นพ่อหรือแม่หรือปู่ย่าตายายก็ตาม ยังมีสิทธิในการติดต่อกับเด็กได้ตามสมควร แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดู หากไม่ได้ตกลงในสัญญา สามารถให้ศาลเป็นผู้กำหนดได้ ศาลจะชี้ขาดโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก

การที่พ่อแม่เลิกกัน คนที่เจ็บคือลูก การถนอมน้ำใจซึ่งกันและกัน เจะเป็นทางออกที่ดีกว่า สิ่งสำคัญคือต้องคิดถึงลูกให้มาก ๆ เพราะสามีภรรยาเมื่อเลิกกันนั้นเจ็บมากแล้ว แต่สำหรับลูก การที่พ่อแม่เลิกกัน ลูกรู้สึกเจ็บที่สุด

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”


source หรือ บทความอ้างอิง : kidshealth.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 สาเหตุการหย่าร้าง

หย่าไม่ได้แปลว่า “ชีวิตล้มเหลว”

8 เคล็ดลับ การเลี้ยงลูกคนเดียว

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team