เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

สิ่งของที่มองดูแล้วธรรมดาสำหรับผู้ใหญ่ แต่อาจเป็นภัยใกล้ตัวลูก ของใช้เด็กที่ว่าปลอดภัยแต่ความจริงแล้วอาจมีอันตรายที่แฝงอยู่ สิ่งของอันตราย เครื่องใช้ของเจ้าตัวน้อยบางชิ้นจึงควรระวังและไม่ประมาทเวลานำใช้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้เลี่ยงหรือหาอย่างอื่นแทนดีกว่า

ของใช้เด็กที่ว่าปลอดภัยแต่ความจริงแล้วอาจมีอันตรายที่แฝงอยู่ สิ่งของอันตราย เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง !!

#1 เตียงเด็กแบบเลื่อนที่กั้นขึ้นลง

เตียงแบบนี้หากล็อคไม่ดีก็อาจเกิดอันตรายเนื่องจากที่กั้นด้านข้างอาจเลื่อนลงมาหนีบแขน ขา มือ หัวหรือตัวของเจ้าตัวน้อยที่เกาะหรืออยู่ใกล้ที่กั้น เตียงที่มีลักษณะแบบนี้นั้นได้ถูกสั่งห้ามใช้โดยคณะกรรมการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา (CPSC) ในปี 2011

ทำไมถึงอันตราย: ที่เลื่อนด้านข้างอาจหล่นลงมาบีบรัดคอเด็ก ทำให้หายใจไม่ออก ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 32 ราย ตั้งแต่ปี 2000 และอีกเป็นร้อยที่ไม่มีการรายงาน

วิธีแก้ไข: ใช้เตียงที่ติดอย่างแน่นทั้งสี่ด้าน ถ้าใครมีเตียงแบบนี้ ก็ควรทำให้ไม่สามารถเลื่อนได้ และเลือกเตียงที่มีมาตรฐาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#2 เบาะกั้นกระแทกของเตียง

ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกายลูกน้อย กลัวลูกกลิ้งไปชนขอบเตียงจึงเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันทารกจากการหัวกระแทกกับด้านข้างของเตียง แต่ตัวช่วยนี้อาจเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือ SIDS จากการที่มีอะไรมาอุดจมูกลูกได้

ทำไมถึงอันตราย: ที่กันกระแทก อาจทำให้เด็กหายใจไม่ออก และตายเฉียบพลัน จากการศึกษาของ The Journal of Pediatrics พบว่า เด็กอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี เสียชีวิต 27 ราย จากการขาดอากาศหายใจจากที่กันกระแทกนี้ (1985 – 2005)

วิธีแก้ไข: เอาที่กันกระแทกออก ผู้เชียวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำว่าให้ใช้เตียงที่โปร่งและพอดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#3 เบาะจัดท่านอนทารก

แม้ว่าการใช้หมอนหรือเบาะจัดท่านอนทารกเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลิ้งตัวไปจนนอนคว่ำหน้า และยังช่วยยกหัวและหลังของทารกให้สูงเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน แต่ถ้าชะล่าใจปล่อยให้ลูกนอนเพียงลำพัง เจ้าตัวน้อยอาจพลิกคว่ำหน้าลงกับฟูกและอาจเป็นอันตรายเพราะหายใจไม่ออกได้ ซึ่งถ้าเลี่ยงได้ควรให้ทารกได้นอนในท่านอนหงายบนเบาะราบธรรมดาเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวดีกว่าค่ะ

ทำไมถึงอันตราย: ที่จัดท่านอนสำหรับเด็ก เพื่อไม่ให้กลิ้งไปมา หรือยกระดับศีรษะขึ้นมาเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน แต่เด็กอาจจะหายใจไม่ออกถ้าหากเด็กคว่ำหน้าลง ซึ่งใน 13 ปีที่ผ่านมา มีเด็กเสียชีวิตไปแล้ว 13 คน วิธีแก้ไข: American Academy of Pediatrics แนะนำว่าให้เด็กนอนหงายเพื่อลดภาวะตายเฉียบพลัน ถ้าเด็กมีอาการกรดไหลย้อนให้รีบปรึกษากุมารแพทย์

#4 ผ้าห่มและหมอนใบจิ๋ว

หมอน ผ้าห่มอันเล็ก ๆ ที่ดูน่ารักเข้ากั้นเข้ากันสำหรับลูกน้อย แต่สิ่งของเหล่านี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกได้เพียงแค่พลิกตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมถึงอันตราย: ผ้าห่มอาจจะพันเด็กหรือ หมอนที่นุ่มทำให้หายใจไม่ออกได้ ซึ่งพบเด็กที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ในปี 2006-2008 จำนวน 92 คน จากการขาดอากาศหายใจเพราะหมอนกับผ้าห่ม และการให้เด็กนอนเตียงเดียวกับผู้ปกครอง อาจจะกลิ้งทับเด็กได้ ผู้เชียวชาญจึงไม่แนะนำให้นอนกับเด็ก

วิธีแก้ไข: ให้ลูกน้อยนอนสบายๆ ในเตียงเด็กแล้วใส่ชุดนอนที่คลุมถึงเท้า ถ้าคุณแม่ได้รับผ้าห่มสวยๆ มาเป็นของขวัญ ให้แขวนไว้ที่ผนังหรือใช้ตอนท้องแทน

#โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมทรงสูงหรือไม่มีขอบกั้นทั้ง 4 ด้าน

โต๊ะทรงสูงที่ไม่แข็งแรงมั่นคงเพียงพอ หรือไม่มีขอบเพื่อป้องกัน เพียงพ่อแม่ละสายตาชั่วพริบตา ลูกน้อยก็อาจกลิ้งหล่นลงมาได้โดยง่าย ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าคือการเปลี่ยนผ้าอ้อมบนเบาะที่วางราบกับพื้นหรือเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมบนโต๊ะให้ลูกได้อยู่ด้านข้างเสมอและวางมือข้างหนึ่งไว้บนตัวลูกตลอดเวลา ไม่ควรออกห่างหรือละสายตาจากลูกแม้เพียงเสี้ยวนาทีเมื่อลูกยังอยู่บนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมนะคะ

ทำไมถึงอันตราย: โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เล็กเกินไป เด็กอาจจะตกจากโต๊ะได้ ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ประมาณ 4,500 คน เกิดการบาดเจ็บในปี 2009

วิธีแก้ไข: เลือกโต๊ะที่ได้มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย ควรเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่ใหญ่ขึ้นและผิวเรียบ ไม่ควรปล่อยมือจากเด็ก อย่างน้อยต้องใช้มือ 1 ข้าง จับเด็กไว้ และไม่ห่างจากตัวเด็ก

#6 รถหัดช่วยเดิน

แม้ว่ารถหัดเดินจะดูเหมือนเป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกน้อยฝึกยืนและหัดเดิน แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเป็นอันตรายได้จากการไถลไปชนกับกำแพงหรือตกบันได และที่สำคัญสิ่งนี้ยังอาจเป็นตัวขัดขวางพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อของวัยเตาะแตะได้ เพราะการใช้รถหัดเดินคล้ายกับเป็นการถูกบังคับให้เดิน โดยไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อที่ถูกส่วน จะทำให้เด็กเดินเขย่งปลายเท้ามากกว่าหัดเดินด้วยตัวเองแบบเต็มเท้าบนพื้นที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า รถพยุงตัวหรือรถหัดเดินเป็นอุปกรณ์ที่ยังคงวางขายทั่วไปในห้างสรรพสินค้าและร้านของใช้เด็ก พ่อแม่ในสังคมไทยมีความเคยชินในการใช้เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะจัดหาให้เด็กเมื่อเด็กอายุประมาณ 5-6 เดือน ขณะที่การศึกษาพบว่า พ่อแม่หาซื้อให้เด็กตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 4 เดือน ร้อยละ 50 คิดว่า จะช่วยให้เด็กเดินได้เร็วขึ้น ร้อยละ 40 ให้เหตุผลว่า ใช้เพราะผู้ดูแลไม่ว่าง ต้องทำงานบ้าน จึงต้องมีที่ที่วางเด็กไว้โดยไม่ต้องดูแลเอง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ตรงข้ามกับข้อควรปฏิบัติในการใช้ทั้งสิ้น

ขณะที่ในต่างประเทศอย่างแคนาดา ออสเตรเลีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา ได้มีกฎหมายห้ามมิให้มีการจำหน่ายรถหัดเดินแล้ว ในบางรัฐให้มีการจำหน่ายพร้อมคำเตือนอันตรายแก่ผู้ซื้อ ในบ้านเราปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้เรียกว่า รถพยุงตัว ไม่ให้ใช้คำว่า รถหัดเดิน และให้กำกับฉลากคำเตือนบนผลิตภัณฑ์ให้ผู้ดูแลเด็กรู้ว่าอาจมีอันตราย ต้องอยู่ใกล้ชิดเด็กเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์นี้ และไม่ช่วยในการหัดเดิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#7 เก้าอี้อาบน้ำทารกในอ่างหรือที่รองอาบน้ำ

ความปลอดภัย

  • ควรมีอุปกรณ์กันลื่นที่ก้นอ่าง เพื่อไม่ให้อ่างเคลื่อนที่ ขณะที่ลูกน้อยของคุณอยู่ในอ่าง
  • อ่างอาบน้ำบางรุ่น มีอุปกรณ์เสริมเป็นผ้า โฟม หรือ ตาข่าย อาจเสี่ยงต่อการขึ้นรา ควรเลือกที่ถอดซักตากแดดได้เพื่อป้องกันเชื้อรา
  • อ่างอาบน้ำทารก ควรทำด้วยพลาสติกอย่างหนา ที่จะไม่เสียรูปทรงได้ง่าย ๆ เมื่อต้องรับน้ำหนักของน้ำ
  • รูปทรงต้องโค้งมน ไม่มีเหลี่ยมมุม หรือความคม ที่อาจขีดข่วนผิวบอบบางของลูกน้อยได้

แม้ว่าเก้าอี้อาบน้ำทารกถูกออกแบบมาเพื่อรองตัวทารกให้นั่งในอ่างอาบน้ำได้ แต่ภัยเงียบที่เกิดขึ้นคือการที่พ่อแม่ละเลยเรื่องความปลอดภัย การละสายตาจากลูกน้อยอาจทำให้เด็กลื่นล้มแล้วจมน้ำได้ ดังนั้นในขณะอาบน้ำลูกน้อยนั้นไม่ควรหันหลังให้กับลูกขณะอาบน้ำหรือทิ้งลูกไว้ในอ่างน้ำเพียงลำพังแม้เพียงแค่ชั่วครู่ หรือเลี่ยงมาใช้อ่างอาบน้ำที่เป็นพลาสติกแข็ง และวางแผ่นกันลื่นไว้ โดยให้มืออีกข้างของคุณแม่ประคองตัวลูกไว้ขณะที่อาบน้ำตลอดเวลานะคะ

#8 เก้าอี้หัดนั่ง

เก้าอี้หัดนั่ง หรือบัมโบ้ซีท เป็นเก้าอี้มหัศจรรย์ของคุณพ่อคุณแม่หลายๆคน เพราะเชื่อในคำโฆษณา ทราบหรือไม่ เก้าอี้หัดนั่งสำหรับทารกถูกเรียกคืนหลายล้านตัว เนื่องจากเด็กประสบอุบัติเหตุจากการใช้เก้าอี้ดังกล่าว ทำให้กระโหลกศีรษะร้าวไปหลายสิบราย ไม่ปลอดภัยเลยจริงๆค่ะ ตามพัฒนาการของร่างกายเด็กเมื่อเข้าสู่ เดือนที่ 6 -7 เป็นต้นไป กระดูกสันหลัง กระดูกคอ และกล้ามเนื่อต่างๆเริ่มเเข็งแรงแล้ว ทารกก็จะค่อยๆฝึกนั่งเองตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็กมากเกินไปเพราะนอกจากจะทำให้เกิดภาวะเครียดแล้ว อาจเกิดอุบัติเหตุจากการเลือกใช้เก้าอี้หัดนั่งได้ค่ะ

แม้ว่าเจ้าเก้าอี้จะออกแบบมาให้ดูน่ารัก และช่วยให้ลูกน้อยวัยคลายฝึกหัดนั่ง แต่ก็เป็นสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยนั้นตกจากเก้าอี้และได้รับบาดเจ็บบางรายถึงขั้นกะโหลกแตก คณะกรรมการเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของสหรัฐพบว่า เด็กเล็กสามารถเอนหลังและหมุนตัวออกจากเก้าอี้หัดนั่งสำหรับทารกได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นก่อนใช้เก้าอี้หัดนั่งคุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกสามารถยกหัวตั้งตรงได้แล้ว และไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งอยู่ในเก้าอี้หัดนั่งเพียงลำพังแม้ว่าจะ “แค่ไม่กี่วินาทีก็ตาม”


ที่มา : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

https://www.parentsone.com

5 เครื่องดื่มอันตราย อย่าคิดดื่มตอนตั้งครรภ์เลยนะแม่

เปิด 5 จุดอันตรายใกล้บ้าน ที่คนมีลูกเล็กต้องระวัง!

บทความโดย

Napatsakorn .R