เปิดคัมภีร์ ! อยากทำประกันสุขภาพ ต้องรู้อะไรบ้าง สำหรับมือใหม่อยากทำประกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องของการทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันประเภทอื่น ๆ สำหรับบางคนอาจจะดูเป็นเรื่องที่ง่ายเข้าใจไม่ยาก แต่สำหรับบางคนเรื่องของการวางแผน การทำประกันก็ดูเป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ค่อยรู้ข้อมูล หรือ รายละเอียดมากนัก เพราะฉะนั้นวันนี้ TAP ขออาสามาเปิดคัมภีร์สำหรับมือใหม่ที่อยากทำประกันแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าถ้า อยากทำประกันสุขภาพ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

 

อยากทำประกันสุขภาพ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

 

 

1. ประกันสุขภาพ คืออะไร

ประกันสุขภาพ คือประกันที่ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโรคภัยไข้เจ็บความเจ็บป่วยด้านสุขภาพร่างกายต่าง ๆ ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งในที่นี้จะครอบคลุมตั้งแต่

  • อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่แค่ไปหาหมอรับยาแล้วกลับบ้านได้เลย
  • อาการเจ็บป่วยหนักที่ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ตั้งแต่ไข้หวัดจนถึงโรคร้ายแรงต่าง ๆ

ส่วนในเรื่องของความคุ้มครองที่หลายคนสงสัยว่าประกันสุขภาพจะครอบคลุมการรักษาโรคอะไรบ้าง ต้องบอกว่าความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับแผนประกันของแต่ละบริษัท แต่ละแผนประกันที่เลือก ซึ่งจะมีความแตกต่าง และมีรายละเอียดแบ่งแยกกันออกไป เช่น บางแผนประกันอาจคุ้มครองเฉพาะโรค หรือ บางแผนประกันอาจจะคุ้มครองมากกว่า 1 โรคนั่นเอง

 

2. ประกันสุขภาพมีกี่ประเภท

สำหรับมือใหม่ที่ อยากทำประกันสุขภาพ มักมีความสงสัยว่าประกันสุขภาพมีกี่แบบ มีกี่ประเภท ซึ่งประกันสุขภาพหลัก ๆ จะมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม

ประกันสุขภาพประเภทนี้มักจะพบเจอในองค์กร หรือ บริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำให้กับพนักงานภายในองค์กร เจ้าหน้าที่ภายในบริษัทเพื่อมอบให้เป็นสวัสดิการในการคุ้มครองด้านสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ซึ่งจะมีทั้งความคุ้มครองต่ำ และ ความคุ้มครองสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร แต่ละบริษัทว่าจะเลือกสรรแบบใดให้กับพนักงาน หรือ บุคลากรภายในบริษัท ซึ่งถ้าทางบริษัทเลือกรูปแบบประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองสูงก็ถือว่าเป็นความโชคดีของพนักงาน เพราะความคุ้มครองจะมีความครอบคลุม ครบวงจร แต่ถ้าบางบริษัทเลือกความคุ้มครองต่ำ การดูแลคุ้มครองก็อาจจะไม่ครอบคลุมในหลาย ๆ ด้าน

 

  • ประกันสุขภาพส่วนบุคคล

ส่วนประกันสุขภาพประเภทนี้จะเป็นการทำประกันสุขภาพเฉพาะส่วนบุคคลที่คุ้มครองผู้เอาประกันรายเดี่ยว ซึ่งสามารถเลือกความคุ้มครอง เลือกแผนประกันได้ตามความต้องการเพื่อให้เหมาะกับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง การดูแลรักษาด้านสุขภาพที่ครอบคลุม และ ตรงตามความต้องการที่สุด !

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นอย่างไร ควรซื้อดีไหม เปรียบเทียบราคาให้ดูง่าย ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อีกทั้งยังสามารถแบ่งประเภทประกันสุขภาพตามความคุ้มครองได้อีกด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน

สำหรับประกันสุขภาพผู้ป่วยในจะให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้ป่วยมีคำวินิจฉัยจากแพทย์ว่าต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยมีระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งผู้ซื้อประกันสามารถเช็กกรมธรรม์ที่ตนเองซื้อ หรือ ทำไว้ว่าสามารถคุ้มครองด้านใดได้บ้าง รวมถึงคุ้มครองค่ารักษา ค่าห้อง ค่าแพทย์ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่บ้าง ซึ่งแต่ละกรมธรรม์ของแต่ละแผนประกันก็จะมีความแตกต่างกันไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก

ในส่วนของประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกจะให้ความคุ้มครองในกรณีผู้ป่วยรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลแต่ไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาทิ เช่น

  • คุ้มครองค่าตรวจ
  • คุ้มครองค่ายา
  • หรือคุ้มครองค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ตามรายละเอียดของแต่ละแผนประกัน

 

 

3. ประกันอุบัติเหตุ

สำหรับประกันอุบัติเหตุนั้นจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ทั้งอาการบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงความรุนแรงจนถึงขั้นพิการ หรือ เสียชีวิต ซึ่งค่ารักษารวมถึงความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรมธรรม์ของแต่ละแผนประกัน

 

4. ประกันชดเชยรายได้

ประกันสุขภาพประเภทนี้จะครอบคลุมและทำหน้าที่ในการดูแลจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ซื้อประกัน ในกรณีที่ผู้เอาประกันมีอาการเจ็บ ป่วย จนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถไปทำงานได้ก็จะสามารถเคลมเอาประกันชดเชยรายได้เพื่อให้ได้รับเงินชดเชยในส่วนนั้นนั่นเอง

 

5. ประกันโรคร้ายแรง

สำหรับประกันโรคร้ายแรงจะเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาโรคร้ายแรงโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึงโรคที่ต้องใช้เวลาการรักษาเป็นเวลานาน ใช้เวลามาก และ มีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมถึงโรคจากอาการบาดเจ็บร้ายแรงที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษา ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงในด้านของสุขภาพที่ค่อนข้างสูง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ประกันสุขภาพยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคปัจจุบัน ?

เชื่อเลยว่าคำถามนี้เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนมักจะสงสัยและมีความคิดอยู่ในหัว เพราะการทำประกันสุขภาพสำหรับบางคนอาจจะมองว่าคุ้มค่าและจำเป็น แต่สำหรับบางคนอาจจะมองว่าไม่คุ้ม ไม่จำเป็นต้องทำ แต่ขอบอกตามตรงว่า ประกันสุขภาพ ในโลกยุคปัจจุบันยังมีความจำเป็นอยู่มาก และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การทำประกันสุขภาพยังมีความจำเป็นอยู่ อาทิ เช่น

  • โรคภัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างเช่นในช่วงเวลาที่ผ่านมาเราทุกคนต้องประสบและพบเจอร่วมกัน เพราะโรคใหม่ ๆ ที่มีความร้ายแรงเกิดขึ้นได้ทุกวัน เช่น Covid – 19 ที่เราทุกคนอยู่กับโรคนี้มาเป็นเวลานาน โรคฝีดาษลิงที่มีความอันตรายไม่แพ้กัน และในอนาคตเราไม่มีทางรู้เลยว่าบนโลกใบนี้จะมีโรคอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง จะมีความร้ายแรง และ อันตรายมากแค่ไหน ดังนั้นการที่มีประกันสุขภาพไว้ก็ช่วยให้อุ่นใจได้มากยิ่งขึ้น

 

  • สภาพแวดล้อมที่แย่ลง

เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกในปัจจุบันนี้สภาพแวดล้อมแย่ลงมาก ๆ ทั้งในเรื่องของมลภาวะ ฝุ่น ควัน และ สภาพแวดล้อมที่พร้อมจะทำร้ายสุขภาพของเราในทุกวัน ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าวันไหนร่างกายจะอ่อนแอจนพ่ายแพ้ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จนทำให้มีปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะเล็ก หรือ ใหญ่ ซึ่งการมีประกันสุขภาพจะสามารถช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาได้นั่นเอง

 

และนี่ก็เป็นคัมภีร์ประกันสุขภาพ 101 สำหรับมือใหม่ที่ อยากทำประกันสุขภาพ แต่ไม่รู้รายละเอียด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำประกันสุขภาพนั้นมีข้อดีมากกว่าที่คิด และยังมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นใครที่กำลังสนใจอยากทำประกันสุขภาพ หรือ ประกันอื่น ๆ ต้องลองย้อนถามตัวเองดูว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร มีความเสี่ยงมากแค่ไหน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความคุ้มครองของแต่ละแผนประกันในแต่ละกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทประกันนั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มัดรวม ! 5 ประกันสุขภาพเหมาจ่าย รักษาครอบคลุม คุ้มครองครบวงจร

สะดวก ง่าย สบาย ! ประกันโควิด 2565 เซเว่น ซื้อที่ 7-Eleven ได้เลย !

ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป เปรียบเทียบการคุ้มครองแบบไหนคุ้มค่าที่สุด

ที่มา : 1

บทความโดย

Prawit Kaewsuwan