เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ 2 ขวบ พูดไม่ได้! หมอชี้สาเหตุเพราะขาดทักษะสำคัญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในยุคปัจจุบัน พ่อแม่และปู่ย่าตายายหลาย ๆ ท่าน นิยมใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเปิดคลิปวิดีโอหรือเกมส์กล่อมลูกน้อย เพื่อให้พวกเขาอยู่เฉย ๆ ซึ่งพ่อแม่บางท่านอาจคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก แต่รู้หรือไม่ว่า การเลี้ยงลูกด้วยจอนั้นส่งผลเสียต่อพัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยได้ เหมือนกับเคส เด็ก 2 ขวบ พูดไม่รู้เรื่อง สื่อสารไม่ได้ ผลกระทบมาจากการที่ผู้ปกครอง เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ พร้อมแนะนำแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการด้านของลูกน้อยอย่างถูกวิธี

อันตรายแฝง! เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ 2 ขวบ พูดไม่ได้ หมอเตือน เสี่ยงขาดทักษะสำคัญ

เมื่อวันที่ 5 มิ.ย 2567 ได้มีเพจเฟซบุ๊กจากคุณหมอท่านหนึ่ง นามว่า “Wong Wiriya” แชร์คลิปผู้ป่วยเด็กเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้สำหรับผู้ปกครองที่ เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ ซึ่งเนื้อหาในคลิปเผยให้เห็นว่าเด็กน้อยไม่สามารถพูดหรือสื่อสารได้อย่างปกติ สาเหตุหลักมาจากการที่ผู้ปกครองให้เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ยังเด็ก โดยให้เด็กดูการ์ตูน เล่นโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้เด็กไม่สามารถพูดได้ในปัจจุบัน โดยสังเกตได้ว่าเด็กมีสมาธิสั้น มองไปรอบ ๆ ไม่จดจ่อกับสิ่งใด เวลาพูดเด็กจะไม่สามารถพูดเป็นคำได้ ร้องได้แค่เสียงแอ้ ๆ เท่านั้น

ซึ่งคุณหมอหวังว่ากรณีนี้จะเป็นอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรหลานติดโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน เนื่องจากการใช้เวลากับหน้าจอเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก ทำให้เกิดรูปแบบการสื่อสารทางเดียว โดยเด็กจะรับข้อมูลด้วยทักษะการฟังเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ฝึกฝนการพูดและการแสดงออก อีกทั้งยังขาดการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เนื่องจากมัวแต่จดจ่ออยู่กับหน้าจอ

 

ขอบคุณรูปภาพจาก Facebook: Wong Wiriya

 

ขอบคุณรูปภาพจาก Facebook: Wong Wiriya

 

หลังจากคลิปนี้ได้มีการเผยแพร่ออกไป ผู้ปกครองหลายท่านก็ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ บางท่านเล่าประสบการณ์ว่าเคยเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอเช่นกัน แต่ไม่ได้เข้มข้นเท่ากรณีนี้ พอทราบปัญหาก็รีบให้ลูกหยุดดูหน้าจอและพาไปพบแพทย์ ผลลัพธ์คือลูกพัฒนาการกลับมาเป็นปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พวกเขาก็ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นหลักแสนบาท บางท่านก็เล่าว่าเคยเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอโดยเปิดการ์ตูนให้ดู แต่เมื่อต้องพาลูกออกไปข้างนอก ลูกกลับไม่นิ่ง ดื้อมากจนคนรอบข้างทักว่าเป็นเด็กพิเศษ ทางผู้ปกครองจึงตัดสินใจให้ลูกหยุดดูหน้าจอเด็ดขาด และหันมาพูดคุยกับลูกแทน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตามการที่เด็กจะเรียนรู้การพูดผ่านการพูดคุยและโต้ตอบได้นั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ โดยเปิดการ์ตูนนั้น แท้จริงแล้วอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการด้านภาษาลูก โดยเฉพาะในเด็กที่ต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะการ์ตูนมักจะมีการพูดที่รวดเร็ว เปลี่ยนฉากบ่อย ส่งผลให้เด็กไม่สามารถเลียนแบบการพูดตามได้ทันที แต่จะจดจ่ออยู่กับภาพบนหน้าจอเท่านั้น เมื่อเด็กไปเจอกับคนจริง เด็กจะยืนนิ่งและจ้องมอง คิดว่าสิ่งที่เห็นนั้นเหมือนกับในจอ ส่งผลให้เด็กเบื่อง่าย ไม่อดทน รอคอย อารมณ์เสีย โมโหหงุดหงิดง่าย เพราะไม่สามารถควบคุมสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องระวังการให้ลูกดูจอก่อน 2 ขวบ ควรส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การพูดผ่านการพูดคุย โต้ตอบ และเล่นกับพ่อแม่

 

ที่มา: Kapook

 

เลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยอย่างไร?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีล้ำหน้า เด็กเล็กจำนวนมากสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดายบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจยุ่งวุ่นวายกับภารกิจต่าง ๆ อาจทำให้ไม่มีเวลาเล่นกับลูก การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านหน้าจอจึงกลายเป็นทางเลือกที่หลายคนใช้เพื่อเป็นเพื่อนเล่นกับลูกน้อยแทน

อย่างไรก็ตาม ความคิดที่ว่าการให้เด็กเรียนรู้ผ่านหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรืออืน ๆ ตั้งแต่อายุน้อยจะช่วยให้ลูกฉลาดและเก่งหลายภาษานั้น อาจไม่เป็นความจริงเสมอไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กดูการ์ตูนนาน ๆ ดูตามลำพังโดยไม่มีการดูแลอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้ ดังนี้

  • ปัญหาด้านพัฒนาการ: เด็กอาจมีปัญหาพูดช้า พูดไม่ชัด เรียนรู้ภาษาช้า พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ช้า
  • ปัญหาด้านพฤติกรรม: เด็กอาจมีพฤติกรรมสมาธิสั้น ขาดการควบคุมอารมณ์ ก้าวร้าว พฤติกรรมคล้ายออทิสติก
  • ปัญหาพัฒนาการด้านสังคม: เด็กอาจมีปัญหากับการเข้าสังคม เล่นกับเพื่อน หรือมีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก

บทความที่เกี่ยวข้อง: เลี้ยงลูกด้วยจอ มือถือ แท็บเล็ต เลี้ยงอย่างไรให้เหมาะสม

แนวทางการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม ในเด็กเล็ก

 

 

  • จำกัดเวลาการดูหน้าจอ: เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ควรหลีกเลี่ยงการดูหน้าจอ เด็กอายุ 2-5 ขวบ ควรดูหน้าจอไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • เลือกสื่อที่มีคุณภาพ: เลือกสื่อที่มีเนื้อหาเหมาะสมกับวัย ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  • ดูหน้าจอร่วมกับเด็ก: พูดคุย อธิบาย ตอบคำถาม และเล่นกับเด็กไปพร้อม ๆ กัน
  • ส่งเสริมกิจกรรมอื่นๆ: ส่งเสริมให้เด็กเล่นกับของเล่น เล่นกับเพื่อน อ่านหนังสือ เล่นกีฬา และทำกิจกรรมกลางแจ้ง

 

4 วิธีช่วยให้ลูกน้อย ห่างจากหน้าจอ

1) เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก

พ่อแม่ควรวางโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ลงบ้าง และใช้เวลากับลูกมากขึ้น เด็ก ๆ มักเรียนรู้จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ใหญ่รอบข้าง หากพ่อแม่ติดหน้าจอ ลูกก็มีแนวโน้มที่จะติดไปด้วย

 

2) เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้พ้นมือ 

เก็บโทรศัพท์ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ให้พ้นสายตาของลูก ปิดอุปกรณ์หรือปิดเสียงเพื่อลดการดึงดูดความสนใจ เด็ก ๆ จะได้ไม่รู้สึกอยากเล่น

 

3) หากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกทำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจและส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกทำ เช่น การออกกำลังกาย การเล่นในสวนสาธารณะ การทำงานศิลปะ การอ่านหนังสือ การร้องเพลง กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของลูก และทำให้พวกเขาลืมเกี่ยวกับหน้าจอ

 

4) จำกัดเวลาและเนื้อหาที่ลูกดู

หากจำเป็นต้องให้ลูกดูหน้าจอ ควรจำกัดเวลาและควบคุมเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัย เลือกดูวิดีโอหรือเล่นเกมที่เสริมสร้างพัฒนาการ หลีกเลี่ยงการให้ลูกดูแอปพลิเคชั่นหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมค่ะ

 

ดังนั้น การเลี้ยงลูกยุคใหม่ จำเป็นต้องใส่ใจพัฒนาการด้านภาษาตั้งแต่วัยแรกเริ่ม พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เวลากับลูกน้อย พูดคุย โต้ตอบ เล่นสนุก ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ แทนการใช้หน้าจอ หากจำเป็นต้องให้ลูกดูหน้าจอ ควรจำกัดเวลา เลือกสื่อที่เหมาะสม เพราะหน้าจอไม่ใช่คำตอบสำหรับการพัฒนาภาษาที่ดี การมีปฏิสัมพันธ์ การพูดคุย โต้ตอบกับพ่อแม่ต่างหากที่จะช่วยให้ลูกน้อยพูดได้เร็ว พูดคล่อง และมีพัฒนาภาษาที่ดีและพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

ที่มา: pptv, Paolo Hospital

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

20 คำถามหลังเลิกเรียน ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน

ผู้เชี่ยวชาญแนะ! พ่อแม่ควรทำโทษลูก ด้วยการ ยึดมือถือ หรือไม่?

วิจัยชี้! เด็กติดจอ มากเกินไปเสี่ยง ออทิสติกเทียม

บทความโดย

samita