ปาฏิหาริย์! ทีมแพทย์ ทำคลอดทารกปาเลสไตน์สำเร็จ หลังจากแม่เสียไปแล้ว

ปาฏิหาริย์มี ทีมแพทย์ ทำคลอดทารกปาเลสไตน์สำเร็จ หลังจากแม่เสียไปแล้ว ได้สำเร็จหลังจากแม่ดับในเหตุการณ์อิสราเอลโจมตี ฉนวนกาซาไม่มีวันจบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปาฏิหาริย์! ทีมแพทย์ ทำคลอดทารกปาเลสไตน์สำเร็จ หลังจากแม่เสียไปแล้ว

ปาฏิหาริย์มี ทีมแพทย์ ทำคลอดทารกปาเลสไตน์สำเร็จ หลังจากแม่เสียไปแล้ว ได้สำเร็จหลังจากแม่เสียชีวิตในเหตุการณ์อิสราเอลโจมตี โ ทีมแพทย์ในเมืองราฟาห์ ได้ทำคลอดทารกหญิงออกมาจากครรภ์ของแม่ที่เสียชีวิต จากการโจมตีของประเทศอิสราเอล โดยล่าสุดทารกหญิงคนนี้ซึ่งมีน้ำหนัก 1.4 กิโลกรัม อยู่ในตู้อบของโรงพยาบาลราฟาห์ พร้อมกับทารกอีกคนหนึ่งพร้อมกับข้อความบนแผ่นที่ติดบนหน้าอกของเธอว่าทารกของผู้พลีชีพ

ขอขอบคุณรูปจาก PPTV

โมฮัมเหม็ด ซาลามา แพทย์ที่เป็นผู้ดูแลการผ่าตัดทำคลอดทารกหญิงรายนี้ บอกว่าหลังจากทำคลอดในห้องผ่าตัดฉุกเฉินทารกหญิงคนนี้มีอาการทรงตัว และค่อย ๆ ดีขึ้น ถึงแม้ว่าเธอจะคลอดก่อนกำหนดและอยู่ในครรภ์มารดาได้เพียง 30 สัปดาห์เท่านั้น

คุณหมอที่ดูแลเคสนี้ได้เผยว่า “เมื่อทารกคลอดออกมา อาการของเธออยู่ในช่วงระหว่างปานกลาง ถึงวิกฤติ และขณะนี้หลังจากให้การรักษาตั้งแต่คืนเกิดเหตุจน ถึงตอนนี้เธอก็ค่อย ๆ ดีขึ้นในช่วงไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาอาการของเธอสามารถพูดได้ว่าคงที่แล้ว”

คุณหมอได้เสริมว่า ทารกอยู่ในความดูแลของแพทย์ และเธอจะอยู่ที่นี่เป็นเวลาสาม ถึง สี่สัปดาห์ในตู้อบ หลังจากนั้นค่อยมาคุยกันว่าเธอจะต้องไปอยู่ที่ไหน ไปหาครอบครัว ไปหาคุณป้า คุณลุง คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย โดยเรื่องนี้นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุด เพราะถึงแม้เด็กคนนี้จะรอดชีวิตมาแต่ก็เกิดมาเป็นเด็กกำพร้า

แม่ของทารก รายนี้เป็นหนึ่งใน 19 คนของเหยื่อผู้เสียชีวิต จากเหตุโจมตีรุนแรงของอิสราเอลที่บ้านสองหลังในเมืองราฟาห์ โดยเธอจากไปพร้อมกับสามี และลูกสาวอีกคนนึงด้วย และในบรรดาผู้เสียชีวิตทั้งหมด 13 คนจากครอบครัวเดียวกัน

คุณหมอ ระบุว่าทุกวันนี้มีเรื่องราวใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาที่นี่ และเรื่องราวไม่ได้จบลงด้วยการเกิดของทารก หรือการเสียสละของแม่ หรือพ่อแต่มันเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม แม้เด็กทารกจะได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลุงของทารกแรกเกิดได้ตั้งคำถาม ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นที่ว่าทำไมครอบครัวน้องชายของเขาถึงถูกสังหาร ลุงของทารกเผยว่าอะไรคือความผิดของพวกเขา ทั้งครอบครัวถูกตัดออกจากทะเบียนราษฎร และผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวคือเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ พี่สาวของเธอต้องการตั้งชื่อเธอว่า รูห์ ซึ่งตอนนี้พี่สาวของเธอก็ลาจากไปแล้ว เหลือเพียงแค่เธอเท่านั้นพระเจ้าจะทรงเมตตา และพระองค์ทรงเป็นผู้จัดสรรที่ดีที่สุด คนเหล่านี้เป็นพลเมืองธรรมดา ๆ น้องชายขอเขาเป็นเพียงแค่ช่างตัดผม นพระเจ้าจะทรงเมตตา และพระองค์จะจัดสรรอย่างดีที่สุด

สำหรับการโจมตีของอิสราเอล เพื่อตอบโต้กลับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา พบผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 34,000 คนโดยในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก

ถึงปัจจุบันความรุนแรงในประเทศไทย ไม่มีเรื่องของสงคราม หรือโศกนาฏกรรมเหมือนกับฉนวนกาซา แต่เราก็สามารถสอนให้ลูกป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้

หยุด ! ความรุนแรงในครอบครัว

1. หยุดทำร้ายจิตใจ

ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงการตีเพียงเดียวนะคะ  ยังมีความรุนแรงที่เรียกว่า  ทำร้ายจิตใจ อีกด้วย  เช่น  เลี้ยงลูกลำเอียง รักพี่หรือรักน้องมากกว่า  การใช้คำพูดกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม  เช่น  ลูกเก็บมาเลี้ยง  หรือเกิดมาทำไม เกิดมาแล้วทำให้พ่อแม่ลำบาก  คำพูดเช่นนี้จะสะสมในจิตใจจนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ  คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก  นานวันเข้าลูกจะแสดงออกด้วยการกระทำที่รุนแรง  แรกเริ่มอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อนานวันเข้าจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น ๆ ต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ปล่อยปละละเลย

เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยนึกถึงกันสักเท่าไร การไม่มีเวลาให้ลูกหรือแม้จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่ค่อยเอาใจใส่ลูกเท่าใดนัก  อาจจะเหนื่อยจากงานหรือเรื่องส่วนตัวทำให้พ่อแม่หมกมุ่นสนใจแต่ตัวเอง จนลืมไปว่าลูกก็ต้องการความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกอยู่กับโลกโซเชียล เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูการ์ตูนซึ่งอาจจะแฝงความรุนแรง โดยที่เด็กยังไม่รู้จักกลั่นกรองว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี  อาจจะจดจำมาและรับสิ่งนั้นไปใช้โดยขาดการไตร่ตรอง

3. การเลี้ยงดูที่ดี คือ วัคซีนป้องกันความรุนแรง

เมื่อพูดถึงคำว่า “วัคซีน” แน่นอนว่าย่อมหมายถึงการป้องกัน  เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูลูกพ่อแม่ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงสิ่งแวดล้อมทัศนคติของพ่อแม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของลูก เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยความรักและความเข้าใจเมื่อโตขึ้นเด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมและมีอารมณ์ที่มั่นคง

การเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมของลูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างและการทำงานของสมอง หากเด็กถูกเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง สมองจะเรียนรู้การกระทำที่รุนแรงการถูกปล่อยปละละเลยจากพ่อแม่  ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเงียบเหงา ขาดความรัก  จึงทำให้มองโลกในแง่ลบได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทางออกของปัญหาการใช้ความรุนแรง  ควรเริ่มจากอะไร ?

1. เตรียมตัวเองให้พร้อม 

คำว่าเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนจะสร้างครอบครัว ไม่ใช่หมายถึง เรื่องเงินทองเท่านั้น แต่ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะถ้ามีลูกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้วางแผนในการมีลูกคนต่อไป อาจสร้างความปัญหาให้กับคุณพ่อคุณแม่เองและลูกอีกด้วย

2. อย่าให้ลูกรู้สึกว่า “ ขาดความรัก ”

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูกของตนเองอยู่แล้ว แต่ความรักนั้นหากไม่แสดงออกลูกก็คงไม่รู้  ที่สำคัญความรักไม่ใช่การให้สิ่งของหรือเงินทอง หรือที่เรียกว่า  ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกอยากได้อะไรตามใจ สิ่งนั้นไม่ถูกต้องแน่ ๆ ที่สำคัญเมื่อลูกขึ้นจะทำให้เขาปรับตัวเข้ากับสังคมยาก ขาดความอดทน และรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยหากไม่ได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้จะหวนกลับมาทำร้ายลูกในอนาคตต่อไป  รักลูกแสดงออกด้วยการพูดคุยให้คำปรึกษา ให้เวลาแก่ลูก  ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เมื่อมีเวลาว่าง ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยจะดีที่สุดค่ะที่สำคัญความรักของพ่อแม่ต้องมีความยืดหยุ่นบนหลักเหตุและผลไม่ควรปล่อยให้ทำตามใจตนเองไปทุกอย่าง

3. เหตุผล VS อารมณ์

คงไม่มีเด็กคนไหนชอบให้พ่อแม่ใส่อารมณ์ดุด่าว่ากล่าวตนเองอย่างแน่นอน ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยที่อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง อาจจะมีอาการดื้อซนให้เห็นอยู่บ่อย ๆ  บางครั้งเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น ตี หยิก ดึง เมื่อเขารู้สึกไม่พอใจ ทำให้คุณพ่อคุณแม่อาจเกิดอารมณ์โมโหไม่พอใจในการกระทำของลูก อย่านะคะ!!! อย่าตีลูก

แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผล  เพื่อให้ลูกรู้ว่าตนเองควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละคะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้เสียก่อน แทนที่จะตีก็ให้พาลูกออกไปจากสิ่งนั้น เช่น หากลูกอยากได้ของเล่นแล้วลงไปนอนดิ้นกับพื้น แทนที่จะตีก็สงบอารมณ์ลงก่อน แล้วค่อยอธิบายกับลูก เมื่อลูกได้เห็นท่าทีที่อ่อนโยนของพ่อแม่ต่อเขาลูกจะเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อเขา และเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ถือเป็นปลูกฝังสิ่งดี ๆ นั้นให้กับลูกต่อไป โดยลูกได้เรียนรู้ผ่านการกระทำของพ่อแม่นั่นเอง

4. พ่อแม่ คือต้นแบบที่สำคัญ

ลูกในวัยที่พร้อมจะเรียนรู้จากการเลียนแบบจากคนใกล้ตัว แน่นอนว่า ก็คือคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีต่อกันที่มีต่อลูกรวมถึงสมาชิกในครอบครัว  ทุกอย่างเปรียบได้กับฉากละคร ลูกจะซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวเขา หากพ่อแม่มีจิตใจที่เอื้ออาทรรักสัตว์ลูกก็จะจดจำและทำตาม หากพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ลูกก็จะทำตามได้ไม่ยากตรงกันข้ามหากพ่อแม่ชอบมีปากมีเสียงลงไม้ลงมือลูกก็จะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ทำเช่นกัน

5. เลี้ยงลูกด้วยความรักและอาทร

ปัจจุบันนี้การแข่งขันมีสูงในสังคมของเราแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ในวัยอนุบาลยังต้องสอบแข่งขันแย่งที่เรียนกันเลย แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสวนกระแสด้วยการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น   แม้วันนี้ลูกอาจจะไม่เข้าใจ  แต่อย่างน้อยการเริ่มต้นสั่งสอนตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งเหล่านี้จะสั่งสมอยู่ในจิตใจของลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ เพราะพื้นฐานที่ดีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ลูกดีงามไปพร้อมกับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจนั่นเอง

จะเห็นว่าความรุนแรงแม้จะเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา หรือผ่านสื่อมาให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เราสามารถสร้างเกราะป้องกันความรุนแรงนั้นได้ด้วยความรักและความเข้าใจกันภายในครอบครัว เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อลูกของเราและเพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไปค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มติชน, Udel

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หดหู่ใจ บุกช่วยเด็กออทิสติก 10 ชีวิต ถูกศูนย์รับเลี้ยงเด็กใช้ความรุนแรง

แนะนำ 10 หมอจิตวิทยาเด็ก หมอจิตแพทย์เด็กที่ไหนดี รวมมาให้แล้ว

พ่อแม่ที่อุปการะ ทารกในยูเครน ยังมารับเด็กไม่ได้ เพราะติดสงคราม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

bossblink