ภาพวาด เด็ก ป.1 เผยปม! แม่เห็นถึงกับกอดกันร้องไห้ พาเข้าแจ้งความ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาที่พบได้บ่อยในทั้งเด็กโตและเด็กเล็ก คือการที่บางครั้งลูกไม่ค่อยจะเล่าอะไรฟัง ทำให้คนเป็นพ่อแม่เริ่มเข้าถึงความรู้สึกลูกยากขึ้น มารู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นเรื่องราวที่ใหญ่โต หรือบางครั้งเด็ก ๆ ก็มักจะตัดสินใจด้วยตัวเองซึ่งมักจะไม่ถูกวิธี เหมือนกับรายงานข่าวต่างประเทศนี้ที่ ลูกชาย ป.1 ขังตัวเองในห้อง เมื่อแม่ไขเข้าไปในห้องลูก แล้วพบ ภาพวาด ทำให้ได้รู้ความจริง ถึงกับกอดกันร้องไห้ และจึงรีบเข้าแจ้งความทันที

สุดสะเทือนใจ! ภาพวาด ของเด็ก ป.1 ทำแม่เห็นแล้วถึงกับช็อก!

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ประเทศจีน เมื่อคุณแม่รายหนึ่งได้แชร์เรื่องราวที่ลูกชายของเธอ ในชั้น ป.1 โดยปกติแล้ว ลูกชายของเธอเป็นเด็กที่ร่าเริงและฉลาดไหวพริบดีมาก ทุก ๆ วันหลังเลิกเรียนเธอจะให้ลูกชายเล่นกับเพื่อน ๆ หรือเล่นเกมที่โรงเรียนก่อนกลับบ้าน 30 นาที เพราะเธอสังเกตเห็นว่าการที่ลูกชายของเธอได้มีเวลาสนุกสนานและหัวเราะอย่างเต็มที่ ทำให้เด็กชายมีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ

แต่จู่ ๆ มีวันหนึ่งที่เธอได้ไปรับลูกจากโรงเรียนตามปกติ เธอก็ได้สังเกตเห็นว่าวันนี้ลูกชายมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เขาไม่พูดไม่จา และเมื่อถึงบ้าน ลูกก็วิ่งเข้าห้องนอนทันทีด้วยสีหน้าเศร้าหมอง และล็อกประตูไม่ให้ใครเข้าไป ซึ่งตอนนั้นผู้เป็นแม่ก็คิดว่าลูกชายอาจโกรธเธอหรือมีเรื่องอะไรที่ทำให้เขาแสดงท่าทีเช่นนั้น และคิดว่าเดี๋ยวลูกก็คงหาย และทุกอย่างก็คงจะกลับมาเป็นปกติ

แต่หลังจากผ่านไป 3 วัน ลูกของเธอก็ยังมีพฤติกรรมแบบเดิม ทำให้เธอเริ่มสงสัยและกังวลใจมากยิ่งขึ้น สุดท้ายคุณแม่จึงตัดสินใจไขกุญแจเข้าไปในห้องนอนเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกชายกันแน่ และสิ่งที่เธอเห็น ก็ยิ่งทำให้เธอต้องตกใจเมื่อลูกชายกำลังคลุมโปรงอยู่ในผ้าห่ม ตัวสั่นด้วยความหวาดกลัว เมื่อเธอพยายามเข้าไปถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น ลูกก็ไม่ยอมพูดอะไรเลย จนกระทั่งเธอหันไปเห็น ภาพวาด แปลก ๆ ที่ลูกชายของเธอได้วาดทิ้งไว้บนโต๊ะ ซึ่งในรูปวาดนั้นประกอบไปด้วยผู้ชายร่างใหญ่ใส่แว่น ที่มีท่าทางที่ดุร้าย กำลังต่อว่า เด็กตัวเล็กที่กำลังร้องไห้ด้วยความหวาดกลัว และพยายามวิ่งหนีออกจากพื้นที่ตรงนั้น

 

รูปภาพ จาก soha

 

ซึ่งเมื่อเธอได้เห็นรูปวาดนี้ ก็ทำให้เธอเริ่มเข้าใจถึงสถานการณ์ได้ส่วนหนึ่ง ในที่สุดเด็กชายก็กลั้นความหวาดกลัวของเขาไว้ไม่ไหว จึงได้ร้องไห้ออกมาและเล่าเรื่องที่พบเจอให้กับผู้เป็นแม่ฟัง โดยเล่าว่า เมื่อ 3 วันก่อน ในขณะที่เด็กชายกำลังเล่นอยู่กับเพื่อน ๆ เขาบังเอิญทำให้เพื่อนคนหนึ่งหกล้มและมีเลือดออกแบบไม่ได้ตั้งใจ พ่อของเพื่อนคนนั้นเห็นเข้าพอดีจึงดึงตัวเด็กชายไปที่มุมหนึ่ง และได้พูดข่มขู่กับเด็กชายซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งคุณพ่อของเด็กคนนั้นไม่ได้ทำแบบนี้แค่วันเดียว แต่เขายังทำพฤติกรรมข่มขู่เด็กชายอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น และวันต่อ ๆ มา เพื่อแก้แค้นแทนลูกของเขา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อผู้เป็นแม่ได้ทราบถึงเหตุการณ์นี้ เธอแทบใจสลายที่ลูกชายต้องมาแบกรับเรื่องแบบนี้ และรู้สึกเสียใจที่ไม่ทราบถึงเหตุการณ์ให้เร็วกว่านี้ เพื่อที่จะช่วยเหลือลูกชายเธอได้ ต่อมาเธอจึงตัดสินใจจับมือลูกชาย พาเข้าแจ้งความเกี่ยวกับเรื่องราวทั้งหมดให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ เพื่อเรียกตัวชายที่ข่มขู่ลูกชายมาสอบสวน และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

5 เหตุผล ทำไมลูกถึงไม่ยอมเปิดใจเล่าปัญหาให้พ่อแม่ฟัง

1) ลูกกลัวพ่อแม่ไม่เข้าใจปัญหา

ในบางครั้งเด็ก ๆ มักคิดว่าปัญหาของตัวเอง เป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าที่คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจ หรือในเด็กบางคนมีประสบการณ์ที่ว่าเวลามีปัญหาอะไร พ่อแม่ก็มักจะตำหนิอย่างรุนแรง ไม่เชื่อใจ ไม่ไว้ใจตนเอง พ่อแม่เข้ามายุ่งมากจนเกินพอดี หรือบางครั้งก็ตัดสินใจแทนลูก ทำให้เด็กไม่อยากเจอสิ่งเหล่านี้ เลยเลือกที่จะไม่พูดถึงมันดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกทำผิดพ่อแม่อย่าซ้ำ ลูกมีสิทธิทำพลาดได้ แล้วแบบนี้พ่อแม่ต้องทำยังไง?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2) ลูกไม่อยากให้พ่อแม่ผิดหวัง

ในบางเหตุการณ์ที่ลูกเผชิญ เขาอาจเป็นคนผิด ซึ่งปัญหาเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความกดดันให้ลูก ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กกลัวความผิด และการที่ลูกไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมพูดถึงปัญหาของตัวเอง ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะไม่อยากให้ทำให้คุณพ่อคุณแม่ผิดหวัง 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3) ลูกไม่อยากให้พ่อแม่ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว

บางครั้งลูกคิดว่าปัญหาที่ตัวเองเจอถือเป็นเรื่องส่วนตัว จึงไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงการตัดสินใจของเขา ในบางครั้งลูกอาจมั่นใจว่าสามารถแก้ปัญหาเองได้ เพราะเด็กมีความมั่นใจ ในการคิดการกล้าตัดสินใจ มีความกล้าลองผิดลองถูก เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตนเองได้ 

 

4) ลูกไม่อยากให้พ่อแม่ไปเล่าต่อ

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะลืมตัว และเผลอเอาเรื่องปัญหาของลูกไปเล่าต่อ แสดงออกว่าปัญหาที่ลูกเจอเป็นเรื่องขบขัน นำไปเปรียบเทียบกับเรื่องราวของคนอื่น ทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่ไม่เคารพปัญหาของเขาและอาจทำให้เขารู้สึกเขินอายต่อหน้าคนอื่นได้อีกด้วยค่ะ

 

5) ลูกเห็นว่าพ่อแม่ไม่สนใจปัญหาของเขา

เหตุผลนี้มักสร้างความเจ็บปวดกับลูกไม่น้อยเลย ทำให้ลูกคิดว่าจะเล่าไปทำไม เพราะถ้าเล่าไปพ่อแม่ก็ไม่สนใจอยู่ดี ทำให้เด็กหลายคนเลือกที่จะไปปรึกษาปัญหากับคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ 

 

ทำอย่างไร ให้ลูกยอมเปิดใจเล่าเรื่องให้ฟัง

ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การบอกเล่าความรู้สึกเป็นทักษะ ไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วเราจะทำได้ทันทีเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใหญ่หลาย ๆ คน ก็ยังบอกความรู้สึกตัวเองไม่ได้ รู้สึกอะไรอยู่ รู้แค่ว่าความรู้สึกที่เป็นอยู่ตอนนี้มันแย่มาก ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรสอนลูก ให้กล้าที่จะเปิดใจเล่าปัญหา มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  • ใส่ใจและสังเกตความรู้สึกของลูก บอกรักอย่างสม่ำเสมอ และเอ่ยปากทักเมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก จะทำให้ลูกมั่นใจว่าคุณให้ความสนใจเขาเสมอ
  • เปิดใจรับฟังปัญหาของลูก ไม่รีบวิจารณ์หรือตัดสินความถูกผิดทันที หากลูกทำผิดจริง ควรปลอบเขาก่อน แล้วจึงค่อยสอนลูกในภายหลัง
  • ทำให้ลูกเห็นว่าคุณเป็นที่พึ่งที่ดีให้กับลูกได้ ต่อให้ลูกต้องเจอปัญหาใหญ่ขนาดไหน พ่อแม่ก็พร้อมจะช่วยลูกแก้ปัญหาเสมอ
  • เคารพการตัดสินใจของลูก หากรู้สึกว่าปัญหาที่ลูกเจอเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับตัวลูก ค่อยถามความเห็นว่าต้องการความช่วยจากพ่อแม่หรือไม่

 

 

จากเหตุการณ์เด็ก ป.1 ชาวจีนที่ได้กล่าวมานั้น แม้ผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังภาพวาด แต่ ภาพวาด ของเด็ก ๆ นั้น เปรียบเสมือนเสียงสะท้อนจากภายในจิตใจ สะท้อนเรื่องราว ประสบการณ์ และความรู้สึกที่พวกเขาเผชิญ ดังนั้นหากอยากให้ลูกเล่าความรู้สึก พ่อแม่ต้องเปิดใจตัวเอง พร้อมที่จะรับฟัง พร้อมที่จะปลอบลูก ทำให้ลูกเห็นว่าตนเองเป็นที่พึงทางใจสำหรับลูกได้เสมอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เพื่อนร่วมงานโหด! วางยาคนท้อง ลั่นไม่อยากให้ลาคลอด เพราะไม่อยากเหนื่อย

เดือดทั้งโซเชียล! พี่เลี้ยงเด็ก ทำร้ายลูกน้อย 3 ขวบ ตาปูด แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ

8 เรื่องน่ากลัวสำหรับเด็ก ที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม

ที่มา:

sanook, Phyathai, Mood of the Motherhood 

 

บทความโดย

samita