เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ TikTok ชื่อ kasamishiro ได้โพสต์คลิป รีวิว ส่งลูก เข้าหอใน ม.ดังเชียงใหม่ เมื่อลูกเห็นสภาพหอในแล้วถึงกับงอแงอยากกลับบ้านทันที พร้อมระบุข้อความขำ ๆ เพื่อให้กำลังใจลูกชายสั้น ๆ ว่า นักศึกษาคนใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู้ ๆ นะลูกพ่อ
โดยเนื้อหาภายในคลิปเป็นการรีวิว หอพักนักศึกษาชาย เริ่มตั้งแต่การรายงานตัวเข้าหอพัก ทางเข้าไปในห้องพัก สภาพห้องพักด้านใน สภาพห้องน้ำรวม และก็ตัดมาที่สีหน้าของลูกชายที่ดูแล้วรับรู้ถึงความรู้สึกสุด ๆ แถมยังแอบงอแงเล็กน้อยว่าอยากกลับ
@kasamishiro นักศึกษาคนใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่😅🤣😁 สู้ ๆ นะลูกพ่อ #ปี1มช. #เชียงใหม่ ♬ เสียงต้นฉบับ – รายใหญ่แบรนด์เดลล่า – vorrawan 🤍
จากนั้น เมื่อคลิปคุณพ่อ ส่งลูก เข้าหอใน ม.ดังเชียงใหม่ ถูกแพร่กระจายออกไปก็ทำให้หลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดาศิษย์เก่าทั้งหลาย ที่แห่มาให้กำลังใจ พร้อมระบุข้อความเอาไว้สั้น ๆ อีกว่า อยู่ไปสักพักเดี๋ยวจะเริ่มสนุกขึ้นมาเอง แต่บางคนก็ถกกันเกี่ยวกับประเด็น การไม่พัฒนาของระบบหอใน เพราะสภาพยังเหมือนเดิมแทบทุกอย่างกับตอนที่ตนเคยอยู่ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ผู้คุมหอพักโหด! ลงโทษเด็ก 8 ขวบ ลุกนั่ง 300 ครั้ง จนตับไตทำงานไม่ปกติ
ย้ายเข้าหอในครั้งแรก ควรเตรียมอะไรไปบ้าง ?
สำหรับคนที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย และเรียนอยู่ไกลบ้าน ไม่สามารถไปเช้าเย็นกลับได้ ทำให้จำเป็นต้องออกมาอาศัยอยู่หอพัก ซึ่งคนที่ไม่เคยใช้ชีวิตอยู่หอพักมาก่อน อาจจะมีความรู้สึกมึน ๆ งง ๆ สับสนเล็กน้อย นึกไม่ออกว่าในหอในนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง เตรียมตัวไม่ถูก วันนี้เราจึงได้รวบรวมสิ่งของที่จำเป็นมาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
1. อุปกรณ์ทำความสะอาดห้อง
การย้ายเข้ามาอยู่หอใน ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาศัยอยู่กับคนอื่นด้วย จึงจำเป็นต้องรักษาความสะอาดร่วมกัน เพื่อให้สภาพแวดล้อมภายในห้องน่าอยู่ อุปกรณ์จำเป็น คือ
- ไม้กวาด
- ไม้ถูพื้น และน้ำยาถูพื้น
- ผ้าขี้ริ้ว
- พรมเช็ดเท้า
- ถุงใส่ขยะ
2. อุปกรณ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า
- ผงซักฟอก สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในหอพักแนะนำเป็นแบบน้ำ เพราะหากใช้แบบผงอาจจะทำให้เกิดคราบตกค้างได้ค่ะ ยิ่งกับเสื้อขาว ๆ เป็นคราบผงซักฟอกแล้วเห็นได้ชัดมากเลยค่ะ
- กะละมังไว้ใช้ซักผ้า
- ไม้แขวนเสื้อ
- เตารีด
- ตะกร้าผ้า
- ชุดเครื่องนอน
3. อุปกรณ์สำหรับรับประทานอาหาร ทำอาหาร
- ถ้วย จาน ชาม ช้อน ส้อม
- กระทะไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว แต่ถ้าหอไหนไม่อนุญาตให้ทำกับข้าวก็ต้องปฏิบัติตามกฎด้วยนะคะ
- โต๊ะญี่ปุ่นเล็ก ๆ ไว้นั่งกินข้าว
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นม โจ๊ก อื่น ๆ
- น้ำเปล่า ขวดน้ำเปล่า ซึ่งในหอในจะมีตู้ให้กดน้ำอยู่แล้ว
4. ยาสามัญประจำบ้าน
- หากใครที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อย่าลืมพกยาติดห้องเอาไว้ด้วยนะคะ
- ยาแก้ปวดหัว ยาแก้แพ้
- ยาหม่อง ยาดม แก้วิงเวียน
- ยา หรือเจลไว้ทาลดอาการปวดเมื่อยล้า
- พลาสเตอร์ แอลกอฮอล์ล้างแผล ยาแดง
5. ของจิปาถะ สำหรับการเข้าอยู่หอในครั้งแรก
- ไฟฉาย – ถ่านไฟฉาย
- ร่ม หรือเสื้อกันฝน
- แม่กุญแจสำหรับล็อกห้อง
- ปลั๊กพ่วง
- นาฬิกาปลุก
- พัดลม
- ปฏิทิน
- ที่ดับกลิ่นห้อง
วิธีการรับมือกับอาการคิดถึงบ้าน
1. เอาของที่คุ้นเคยติดตัวไปด้วย
การย้ายจากบ้านไปอยู่หอครั้งแรกของเด็ก ๆ หลายคนอาจจะเป็นเรื่องยากมาก ๆ โดยเฉพาะกับคนที่ติดบ้านและติดครอบครัว ดังนั้น การมีของจาก “บ้าน” ติดตัวไปด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดความรู้สึกคิดถึงบ้านได้ในระดับหนึ่ง เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น รูปภาพครอบครัว ตุ๊กตาที่เคยนอนกอด เป็นต้น
2. ทำกิจกรรมที่ชอบทำเวลาอยู่ที่บ้าน
เคยมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำอะไรที่เคยทำตอนอยู่บ้านจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น เช่น การดูหนังที่เคยดู การกินเมนูสุดโปรดที่เคยกิน หรือเล่นกีฬาที่เคยเล่น เป็นต้น เพราะมันทำให้เราเหมือนได้ย้อนกลับไปอยู่ที่บ้านอีกครั้ง
3. โทรกลับหาครอบครัว
การโทรกลับไปหาที่บ้าน ก็เหมือนเป็นการเติมพลังใจอย่างหนึ่ง ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับครอบครัว แถมยังช่วยลดระดับความคิดถึงลงไปได้ด้วยค่ะ ดังนั้น หากมีเวลาว่างจากการเรียน แนะนำให้โทรกลับไปหาที่บ้านบ่อย ๆ แล้วจะทำให้ไม่รู้สึกเครียดหรือว่าคิดถึงบ้านหนักเกินไป
ช่วงเวลาของการย้ายออกจากบ้านที่คุ้นเคยแล้วต้องไปอาศัยอยู่หอในร่วมกับผู้อื่น ช่วงแรก ๆ อาจจะรับมือยากหน่อย เพราะยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ แต่เมื่อปรับตัวได้แล้ว ยังไงก็สนุกขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ เพราะในรั้วมหาวิทยาลัยมีกิจกรรมให้ทำเยอะ แถมยังได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองอย่างเต็มที่อีกด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เมื่อมีลูกแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบ! เปิดใจ พ่อพาลูกเข้าห้องสอบ
ห้ามพลาด!! “10 ไอเทมเด็กหอ ที่ทุกคนต้องมี” ในงบไม่เกิน 500 บาท
ภาพสุดฮา! นักศึกษาสาธิตวิธีการ ช่วยเด็กสำลักอาหาร ทำหัวหุ่นหลุดกระเด็น
ที่มา :