สพฐ. เตรียมหารือผู้เขียนแก้เนื้อหา "ภาษาพาที ป.5" หลังโดนสังคมวิจารณ์หนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากกรณีประเด็นดรามาแบบเรียน ภาษาพาที ระดับชั้น ป.5 ที่พูดถึงเรื่องโภชนาการของเด็ก โดยมีเนื้อหาว่า “กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกข้าวผัด ผักบุ้ง” ทำให้หลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับการ romanticize เรื่องของความจน เพราะในหนังสือทำให้ตัวละครมีความสุขกับการกินอยู่แบบนี้ถือว่าเป็นความพอเพียง เป็นการเห็นคุณค่าของชีวิต แต่ในโลกความเป็นจริงเกรงว่าเด็ก ๆ จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการพัฒนาการตามช่วงวัย

 

 

หลังจากที่มีดรามากันอยู่หลายวัน วันนี้ 24 เมษายน 2566 มีรายงานว่า นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พอรับทราบถึงเสียงสะท้อนจากคนในสังคมก็ได้สั่งตรวจสอบเนื้อหาในตำราเรียน ภาษาพาที ป.5 พร้อมสั่งการให้คณะกรรมการ สำนักวิชาการ หารือกับผู้เขียนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อการสื่อสารให้ชัดเจนเรื่องโภชนาการอาหารใหม่ เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าให้เด็กกินข้าวไข่ต้มครึ่งซีกคลุกน้ำปลาถือเป็นอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ และหลังจากนี้จะมีการเติมข้อความย้ำว่าเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้นเข้าไปด้วย

 

 

ซึ่งประเด็นการถกเกี่ยวกับเรื่อง ไข่ต้ม ก็ได้มีคนนักวิชาการและผู้ชื่อเสียง ออกมาสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เริ่มที่ นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Jiraruj Praise โดยระบุว่า

“ ไข่ครึ่งซีก + ข้าวคลุกน้ำปลาอร่อยที่สุดในโลก ”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โภชนาการวัยเรียนแบบนี้ได้จริง ๆ หรือ

สิ่งสำคัญในอาหารที่เด็กควรได้ ไม่ใช่เรื่องของ “พลังงาน” หรือแค่อิ่มท้องอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญนั้น คือ “โปรตีน” ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง กล้ามเนื้อ และการทำงานของเอนไซม์ในระบบต่างๆ ของร่างกาย”

“ยังมีเรื่องของวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญที่ไม่ควรขาดในเด็กอีก อาหาร จึงไม่ใช่เพียง “แค่อิ่มท้อง” หรือ “แค่อร่อยปาก” แต่อาหารที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตพัฒนาการทางสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน

“ถ้าวิสัยทัศน์มีเพียงแค่ “อิ่มท้อง” “สุขใจ” แต่ไม่มองให้เห็นถึง สารอาหาร ที่จำเป็นต่อเด็กของเรา นี่คือเรื่องน่ากังวลมากๆ สำหรับ “อนาคตของชาติ” ภายใต้การกำหนดทิศทางการศึกษาจากคนบางกลุ่มที่ยังล้าหลังของบ้านเราแบบนี้”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ด้าน แพรรี่ – ไพรวัลย์ วรรณบุตร ก็ได้ออกมาโพสต์สะท้อนเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยอิงจากประสบการณ์ที่เคยเจอมาเพียงสั้น ๆ ว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

“ ดิฉันเคยโตมาด้วยการกินไข่ต้ม 1 ลูกแบ่งกัน 3 คน ดิฉันจึงอยากบอกว่า การกินหลากหลายจำเป็นมากค่ะ และการขาดสารอาหารตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เรื่องโรแมนติกเลย จบ ”

 

 

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ที่ออกมาสะท้อนเกี่ยวกับแบบเรียน ภาษาพาที ป.5 และจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นก็ทำให้เราได้เห็นแง่มุมที่หลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องความคิดและทัศนคติของผู้ใหญ่ที่ออกแบบบทเรียนอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 หนังสือเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก พร้อมฝึกอ่านออกเสียง

 

หนังสือภาษาพาที คืออะไร ?

ภาษาพาที เป็นชุดหนังสือเรียนภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยจัดการขึ้นจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะภาษาไทยขั้นพื้นฐาน รวมถึงการปลูกสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก ๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 หรือเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ซึ่งหนังสือชุดภาษาพาที เป็นหนังสือเรียนที่ทำต่อมาจากชุด ‘ภาษาเพื่อชีวิต’ ตามแนวทางหลักสูตรฯ ปี พ.ศ. 2544 หรือย้อนไปอีก 22 ปีก่อน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัตถุประสงค์ของชุดหนังสือเรียนภาษาพาที

1. หนังสือภาษาพาที เน้นการอ่าน การฟัง การเขียน และการพูด

อย่างที่เราได้เกริ่นไปข้างต้นนะคะว่าหนังสือชุดภาษาพาทีเริ่มเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มจะไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก พร้อมภาพประกอบแบบสีทั้งเล่ม ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกให้เด็ก ๆ ได้หัดอ่านออกเสียง พร้อมดูภาพประกอบไปด้วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจของเนื้อเรื่อง

 

2. ภาษาพาที เป็นหนังสือที่มุ่งเน้นภูมิปัญญาทางภาษา

สำหรับใครที่เคยเรียนภาษาไทยผ่านหนังสือชุดภาษาพาทีน่าจะเห็นได้ชัดว่าภายในเล่มส่วนใหญ่เน้นเรื่องภูมิปัญญาทางภาษา ภายในเรื่องจึงถูกถ่ายทอดไปด้วยคำพูดง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับวัยของพวกเขา นอกจากนี้ยังช่วยปลูกฝังวัฒนธรรมทางภาษาความเป็นไทย และเน้นย้ำเรื่องของความเป็นคนดีของสังคมอีกด้วย

 

สุดท้ายนี้การวิจารณ์หนังสือไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก หากจำกันได้ในช่วงปี 2563 ก็เคยมี #Saveเกี้ยว ขึ้นมาแล้ว จากหนังสือเรียนภาษาไทย ภาษาพาที ของนักเรียนชั้น ป.6 บทที่ 14 เรื่อง “ เสียแล้วไม่กลับคืน ” โดยในเนื้อหาได้ระบุเอาไว้ว่า

 

“ เกี้ยวใจแตกมาตั้งแต่ยังไม่มีคำนำหน้าว่านางสาว ตามีไว้ดูโทรทัศน์ ปากมีไว้กิน และพูดเรื่องไร้สาระ หูมีไว้แนบกับโทรศัพท์มือถือแทบไม่เคยห่าง ตอนกลางวัน เกี้ยวหนีโรงเรียนไปเที่ยวตามศูนย์การค้า กลางดึกก็หนีออกจากบ้านไปเที่ยวผับ… ”

 

โดยหนังสือพยายามสื่อถึงการรักนวลสงวนตัวไม่ชิงสุกก่อนห่าม แต่หากมองอีกมุมนึงมันก็เหมือนย้อนกลับมาด้อยค่าของผู้หญิง ต้องปฏิบัติตัวตามกรอบที่ผู้ใหญ่วางเอาไว้ ปฎิบัติตัวตามสังคมคาดหวัง จึงเกิดการถกเถียงขึ้นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน รวมไปจนถึงความแตกต่างของคนในสังคม

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 หนังสือพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ ทารก – อนุบาล เสริมทักษะได้รอบด้าน !

สอนลูกเขียนภาษาไทย คำไทยยาก ๆ ก-ฮ เขียนคำไทยให้ถูกต้อง

เทคนิคฝึกลูกเรียนรู้สระ อ่านออกเขียนได้ ฝึกได้ง่าย ๆ ที่บ้าน

ที่มา :

mgronline.com

thairath.co.th

บทความโดย

supasini hangnak