ในช่วงที่ยังเด็กอยู่ การเลี้ยงดูลูกเป็นเรื่องที่ยาก สำหรับพ่อแม่มือใหม่ก็ว่าได้ เพราะไม่รู้ว่าพฤติกรรมใดบ้างที่ลูกจะจดจำ จนอาจกลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบได้ ดังเช่นเรื่องราวสุกช็อกของคุณพ่อท่านนี้ เมื่อต้องพบว่า ลูก 7 ขวบทำอนาจารน้อง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวไต้หวัน ที่ผู้เป็นพ่อได้ฟ้องร้องภรรยา ในประเด็นของการนอกใจ ที่ได้เรื่องอนาจารต่อหน้าลูก ๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ช็อกหนักกว่าเดิมเมื่อพ่อพบว่า ลูก 7 ขวบทำอนาจารน้อง
เรื่องนี้ถูกรายงานว่า สามีและภรรยาชาวไต้หวันคู่หนึ่ง แต่งงานกันในเดือนกันยายน 2558 และมีลูกสาวสองคนซึ่งทั้งคู่อายุไม่เกิน 7 ขวบ สามีระบุว่า เขาเริ่มสงสัยในตัวภรรยามานานแล้ว เนื่องจากวันหนึ่งขณะกลับมาถึงบ้าน เขาบังเอิญเห็นชายแปลกหน้าเดินออกมาจากบ้าน หลังจากนั้นเขาได้ค้นเจอ Facebook ของผู้ชายคนนั้น และพบว่ากำลังออกเดตกับใครบางคนอยู่ อีกทั้งแม่ของเขายังเคยเจอจดหมายรักปริศนาที่หน้าประตูบ้านด้วย ยังไม่นับรวมเรื่องน่าสงสัยอื่นอีก
แต่เหตุการณ์ที่ทำให้หมดความอดทนคือ พฤติกรรมที่แปลกไปของลูกสาวคนโต ที่มักจะขึ้นขี่ทับบนตัวลูกสาวคนเล็ก บางครั้งถึงขนาดทำท่าทางอนาจารอย่างชัดเจน เขารู้สึกตกใจมากกับสิ่งที่ได้เห็น และตัดสินใจพาลูกเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาล แต่ต้องช็อกกว่าเดิม เมื่อจู่ ๆ ลูกสาวก็พูดออกมาด้วยสายตาใสซื่อแบบเด็ก ๆ เล่าความจริงว่าเห็นแม่และลุงแปลกหน้าทำแบบเดียวกัน แล้วจึงจำมาทำกับน้องสาว
หลังจากเรื่องเข้าสู่กระบวนการของศาล ฝั่งภรรยาได้โต้แย้งว่า เธอและชายคนนั้นรู้จักกันในเกมมือถือในปี 2563 การพูดคุยก็มีแค่การหารือเกี่ยวกับเกม อีกทั้งจดหมายรักที่สามีพูดถึงก็ไม่ได้ลงนามว่าส่งถึงใคร นอกจากนี้ เธอยังชี้ว่าพฤติกรรมอนาจารของลูกสาว เป็นความตั้งใจของสามีที่จะใส่ร้ายเธอ เช่นเดียวกับชายคู่กรณี เขาอ้างว่าไม่รู้มาก่อนว่าอีกฝ่ายแต่งงานมีสามีแล้ว ในจดหมายรักไม่มีชื่อของเขาอยู่ ดังนั้นจึงใช้พิสูจน์ไม่ได้ว่า พวกเขามีความสัมพันธ์กัน
ศาลแขวงเถาหยวนเชื่อว่า ชายหญิงคู่นี้ใช้คำว่า “ภรรยาคนโปรดของผม” และ “รักคุณเหมือนกัน” ตอบโต้กันบน Facebook หลายครั้ง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการติดต่อกันเกินกว่าเพื่อนทั่วไป รวมทั้งคำหลักฐานจากพูดของเด็กในโรงพยาบาล รวมทั้งหลักฐานอื่นที่สามีรวบรวม เมื่อพิจารณาแล้ว ผู้พิพากษาจึงตัดสินว่า ฝ่ายภรรยาและเพื่อนชายของเธอ มีความสัมพันธ์เกินขอบเขตปกติ ทำให้ผลประโยชน์ทางกฎหมายของคู่สมรส ถูกละเมิดอย่างร้ายแรง จึงตัดสินให้ทั้งสองคนจ่ายเงินชดเชยให้สามี 180,000 หยวน (ประมาณ 8.7 แสนบาท) อย่างไรก็ดีคดีความยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่
พฤติกรรมการเลียนแบบในเด็ก
พฤติกรรมการเลียนแบบเป็นเรื่องที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะจะส่งผลต่อนิสัยและความคิด รวมถึงการใช้ชีวิตของเด็กเมื่อโตขึ้น หากไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ เด็กในช่วงอายุ 2-6 ปี จะเรียนรู้การสร้างบุคลิกของตน โดยเริ่มจากการเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสดงออก วิธีการพูด และการกระทำโดยที่ไม่รู้ว่า สิ่งใดเหมาะสมหรือสิ่งใดไม่เหมาะสม เพราะยังขาดความสามารถในการแยกแยะ
พฤติกรรมการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้ตามธรรมชาติ โดยทำการเลียนแบบทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีปะปนกันเป็นไปตามสถานเหตุการณ์ที่เด็กพบเจอ ซึ่งเด็กในวัยนี้มีความสามารถจดจำพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากพบว่าลูกมีพฤติกรรมไม่ดี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมให้เด็กพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น พฤติกรรมบางอย่างหากเด็กพบเห็นเป็นประจำ จะบ่มเพาะจนกลายเป็นนิสัย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา
การสั่งสอนอย่างมีคุณภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเขาตั้งแต่เด็ก เช่น แสดงความรักต่อกันให้เด็กเห็น เมื่อเด็กทำตามเป็นประจำจนเป็นนิสัย เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะแสดงความรักต่อคนรอบข้าง โดยเป็นการแสดงออกมาแบบธรรมชาติ หรือการเคารพความคิดเห็นต่างของผู้คนอื่นก็เป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้เด็กทราบว่า ถึงแม้เราจะมีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเราต่างเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกันก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อในครอบครัวเคารพและรับฟังความคิดเห็นกัน พฤติกรรมจะถูกปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ว่าทุก ๆ สังคมจะมีความเห็นต่างอยู่เสมอ สำคัญอยู่ที่ต้องเรียนรู้ เข้าใจ ยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล
พฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียแก่เด็ก
- พฤติกรรมก้าวร้าว : พฤติกรรมนี้มักเลียนแบบมาจากครอบครัวที่มีความรุนแรง ทั้งการทะเลาะ หรือการดุด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายต่อกัน หากเด็กเห็นจะเกิดการซึมซับ และมองว่าวิธีดังกล่าวสามารถใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
- พฤติกรรมการสนใจสื่อที่มีความรุนแรง : เมื่อเด็กมีอายุน้อย และเข้าถึงสื่อออนไลน์เร็วเกินไป โดยผู้ปกครองต้องการเพียงให้เด็กอยู่นิ่ง ๆ โดยไม่ได้นึกถึงผลที่ตามมา ทำให้เด็กรับสื่อที่มีความรุนแรงมากเกินไป และแยกแยะไม่ได้ว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ รวมถึงความใจร้อนไม่สามารถรอคอยเวลาได้
- พฤติกรรมการลักขโมย : เด็กเลียนแบบผู้ปกครอง หรือคนในบ้านที่หยิบสิ่งของผู้อื่นมาใช้แล้วไม่คืน การกระทำเช่นนี้มีผลให้เด็กมองว่าเป็นเรื่องปกติด้วยเช่นกัน
- พฤติกรรมการโกหก : เกิดจากการล้อเลียนหรือหยอกล้อ แกล้งคนรอบตัว ไม่ใช่แค่คนในครอบครัวแต่รวมถึงสังคมเพื่อนด้วย หากไม่มีการอธิบายให้เด็กฟังว่าทำไมถึงโกหก เด็กจะเข้าใจว่าการพูดโกหกไม่ใช่สิ่งที่ผิด และอาจติดเป็นนิสัยได้
- พฤติกรรมการใช้สิ่งเสพติด : หากเด็กได้เห็นพฤติกรรมของคนรอบข้างที่ใช้สารเสพติด หรือสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถส่งต่อพฤติกรรมมาสู่เด็กได้ ทำให้เด็กเลียนแบบและส่งผลเสียทำให้ติดสารเสพติดในเวลาต่อมา
เหตุผลที่พฤติกรรมเลียนแบบ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ
หากเป็นกรณีที่พฤติกรรมนั้นไม่เหมาะกับช่วงวัยของเด็ก ส่วนมากมักเป็นการซึมซับจากความใกล้ชิด เช่น อยากทาลิปสติกหรือสวมรองเท้าส้นสูงเหมือนคุณแม่ ที่อาจทำให้ผู้ปกครองกังวลใจว่าลูกจะเป็นเด็กที่โตเกินตัว หรือในเด็กผู้ชายพ่อแม่ก็อาจกลัวว่าลูกจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน แต่ในความเป็นจริงแล้วส่วนมากหากเกิดกับเด็กเล็ก มักเป็นเรื่องปกติและไม่ส่งผลเสียในระยะยาว เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นจะมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจกว่ามาแทนที่ตามวัยของเด็ก ส่งผลให้พฤติกรรมเลียนแบบหายไปเองตามธรรมชาติ
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่อาจป้องกันปัญหาเบื้องต้นได้ ในช่วงที่ลูกแสดงออกถึงพฤติกรรมดังกล่าว โดยการไม่แสดงความสนใจ ไม่ชื่นชมยกย่อง หรือพยายามแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้นไม่ได้ดีเสมอไป แต่ถ้าหากเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่เด็กไปซึมซับมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเด็กนำกลับมาใช้ที่บ้าน สามารถแก้ไขได้โดย การแสดงอาการไม่ยอมรับในสิ่งที่เด็กทำ หรือเพิกเฉยต่อกิริยาก้าวร้าวนั้น เด็กจะรับรู้ได้ว่าการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม หากไม่ยอมรับใน เขาก็จะเลิกแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นไปในที่สุด
การแก้ไขพฤติกรรมเลียนแบบที่ส่งผลเสียกับเด็ก
การแก้ไขพฤติกรรมที่เด็กเลียนแบบ ที่กลายเป็นนิสัยถือว่าทำได้ยาก ด้วยการอธิบายพูดคุยถึงความไม่เหมาะสมของพฤติกรรมและชี้นำแนวทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังคงต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถ้าหากเด็กมีพฤติกรรมรุนแรงเกินเยียวยาได้ อาจต้องถึงขั้นพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำต่อไป ดังนั้นหากการแก้ปัญหาทำได้ยากการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบจึงเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า เช่น
- ผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก เช่น การไหว้ การขอโทษ อย่าบังคับให้เด็กทำอย่างเดียว
- การชมเชยเมื่อเด็กทำความดี
- การระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกตอนมีเด็กอยู่ใกล้ ๆ เช่น อารมณ์โกรธ หรือคำหยาบ เป็นต้น
พ่อแม่ต้องพยายามใกล้ชิดเด็กให้มาก ๆ ทุกช่วงวัย โดยในแต่ละช่วงวัยก็จะมีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไป หากเด็กเริ่มโต เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง เริ่มดูแลรับผิดชอบตัวเองได้ในระดับหนึ่ง การแสดงออกถึงความใกล้ชิดก็จะเปลี่ยนเป็นการพูดคุยแทน เพื่อแชร์ข้อมูลของเด็กและสั่งสอนไปในตัว และไม่ควรกังวลมากเกินไป จนเผลอซักไซ้หรือควบคุมเด็ก จนรู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจที่จะเปิดใจคุยกับพ่อแม่ในเรื่องต่าง ๆ สิ่งสำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ควรระมัดระวังนั่นคือ สื่อออนไลน์ที่เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา การปล่อยให้เด็กอยู่กับสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีคนคอยแนะนำ จะส่งผลให้เด็กเกิดการเลียนแบบในสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้เช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็ก อนุบาล 3 ฟ้องพี่สาว ถูกเพื่อนผู้ชายห้องเดียวกันสั่งแก้ผ้า
ปล่อยให้ลูก “อยู่คนเดียว” ได้ตั้งแต่กี่ขวบ? มีผลเสียอะไรบ้าง?
เกมมือถือ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง? ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดเกม
ที่มา : Sanook, Petcharavej Hospital