เด็กชายชั้น ป.3 เป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในพื้นที่ ถูกผู้ดูแลลงโทษให้ ลงโทษเด็ก 8 ขวบ ลุกนั่งเกิน 300 ที จนต้องเข้าโรงพยาบาลอาการสาหัส ทำให้เด็กเดินไม่ได้ ที่สำคัญคือทำให้ตับและไตทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้ปัสสาวะไม่ออก เรื่องแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กตัวแค่นี้ ถึงน้องจะทำผิดร้ายแรงแค่ไหน ก็ไม่ควรทำถึงขนาดนี้ มันเกินไปไหม” ทำให้ได้เกิดเป็นการคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในเพจ
ลงโทษเด็ก 8 ขวบ ให้ลุกนั่ง 300 ครั้ง !
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 ข่าวรายงานกรณีเพจ “อยากดังเดี๋ยวจัดให้รีเทิร์น Part 5.2” ได้โพสต์ภาพของเด็กชายคนหนึ่ง ที่ได้เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังจากมีอาการเดินไม่ได้ และปัสสาวะไม่ออก โดยได้ระบุข้อความว่า “ลงโทษหนักไปไหมกับเด็กวัยขนาดนี้ คนที่ลงโทษเด็กไม่ใช่ครู แต่เป็นผู้คุมหอพักชาย ซึ่งไม่ได้เรียนในสายอาชีพครู
ทีมข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบที่ รพ.รือเสาะ พบ น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 33 ปี กำลังนั่งเฝ้าอาการบาดเจ็บ ด.ช.บี (นามสมมุติ) อายุ 8 ขวบ ลูกชายอยู่อย่างใกล้ชิดอยู่ข้างเตียงรักษา จากการสอบถามเบื้องต้นได้เล่าว่า เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา หลังลูกชายกลับมาจากโรงเรียน ได้สังเกตเห็นอาการผิดปกติของลูก ที่ไม่สามารถเดินได้ ตนจึงได้สอบถาม ลูกเล่าให้ฟังว่า โดนสั่งทำโทษให้ลุกนั่งหลายครั้ง ตนจึงรีบพาไปโรงพยาบาล จนทราบว่าน้องกล้ามเนื้ออักเสบ ถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน เรื่องนี้ตนเองรู้สึกรับไม่ได้ จึงได้ไปแจ้งความไว้กับ ร.ต.อ.เสกสรร เรืองฤทธิ์ รอง สว.(สอบสวน) สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ซึ่งตำรวจอยู่ระหว่างรอผลตรวจจากแพทย์ เพื่อประกอบสำนวนดำเนินคดีกับผู้กระทำต่อไป
ขณะที่พ่อของเด็กผู้เสียหาย เผยว่า แพทย์ตรวจเลือดแล้ว ได้พบว่าค่าตับสูง ส่งผลต่อระบบปัสสาวะ ทำให้ลูกฉี่ไม่ออก ส่วนสาเหตุที่ถูกลงโทษนั้น ทราบว่า มีเด็กได้เปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้ แต่ไม่มีใครยอมรับผิด ผู้ดูแลหอพักจึงสั่งทำโทษเด็กทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นทางโรงเรียนได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบแล้วส่วนหนึ่ง ด้วยการย้ายลูกชายตนให้ไปอยู่ในห้องพิเศษ ส่วนคดีความคงต้องรอให้ลูกอาการดีขึ้นเสียก่อน จึงจะมีการพูดคุยกันอีกครั้ง แต่ยืนยันว่าจะขอดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
ขณะที่ นพ.ซัมซุดดีน หามะ ผอ.รพ.รือเสาะ กล่าวว่า เด็กมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อสลายตัว ส่งผลต่อตับ ขณะนี้ต้องเฝ้าดูอาการไปสักระยะหนึ่ง หากอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต้องปรึกษาทาง รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ อีกครั้ง ปัจจุบันค่าตับดีขึ้นเยอะพอสมควรแล้ว คาดว่าไม่น่าจะมีภาวะแทรกซ้อน ถ้าหากรักษาจนพ้นจากสภาวะวิกฤตินี้ได้ ก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไรแล้ว ส่วนเด็กจะมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่นั้น คงจะต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ส่วน ผอ.โรงเรียนดังกล่าว กล่าวว่า ทั้งโรงเรียนมีเด็กอยู่ 760 คน แต่มีเพียง 168 คน ที่อยู่หอพัก จากเรื่องที่เกิดขึ้นจะได้นัดพูดคุยกับผู้ปกครองอีกครั้ง และหลังจากเกิดเหตุได้รายงานให้ทางต้นสังกัดทราบเรื่องนี้แล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากผู้ดูแลหอพักต้องการทำโทษคนที่เปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้จนท่วมห้องน้ำ เพราะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้ว เมื่อสอบถามนักเรียนแต่ไม่มีใครยอมรับ จึงสั่งทำโทษเด็กทั้งห้อง 21 คน โดยให้เด็กลุกนั่ง 500 ครั้ง ซึ่งเด็กยอมทำตามไปเรื่อย แต่น่าจะไม่ถึง 100 ครั้ง
กระทั่งมีผู้ปกครองมารับกลับบ้านในวันที่ 20 ม.ค. และนำมาส่งในวันที่ 22 ม.ค. เท่าที่ทราบมีเด็กเพียงคนเดียวที่ได้รับบาดเจ็บจากเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางโรงเรียนไม่ทราบว่าเด็กมีโรคประจำตัวอยู่หรือไม่ ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางโรงเรียนมีมาตรการดูแลเพิ่มเติมแล้ว เพราะได้พูดคุยกับผู้ดูแลหอพักว่า จะไม่ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุอีก และได้มีการพูดคุยเบื้องต้นถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่เกิดขึ้นก็จะมีการลงโทษผู้ดูแลหอพัก เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : “สอนลูก” โดยการสร้างวินัยหรือการทำโทษ ต่างกันอย่างไร
วิธีลงโทษลูก แต่ไม่อยากตีควรทำอย่างไร?
Time out
วิธีการแยกเด็ก ให้เด็กได้อยู่ตามลำพัง ปกติแล้วมักจะถูกใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 2-10 ปี เมื่อลูกมีความผิดจะต้องชี้แจงว่าทำความผิดอะไร จากนั้นให้ลูกไปนั่งที่มุมห้อง หรือบนเก้าอี้คนเดียว โดยบริเวณดังกล่าวต้องไม่มีของเล่น หรือกิจกรรมใด ๆ ให้เด็กทำ หากเด็กไม่ยอมไปนั่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปนั่งได้เองเลย เด็กควรนั่งนิ่ง ๆ ตรงจุดนั้นไม่เกิน 10 นาที ในระหว่างเวลานั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องไม่สนใจเด็ก และปล่อยให้เขาได้อยู่กับตัวเอง แต่เมื่อครบเวลาให้เข้าไปหาเด็กเพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทันที โดยต้องระมัดระวังคำพูดที่สื่อออกไป เพราะอาจทำให้เด็กกลับมาโกรธอีกครั้ง และอาจกลายเป็นภาวะต่อต้านได้
ลดความสนใจ
หากเด็กทำผิดขึ้นมา และมีอาการร้องไห้โวยวาย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตามใจลูก ควรปล่อยให้เด็กร้องไห้ต่อไป แต่ต้องไม่ให้รบกวนบุคคลอื่นด้วย พยายามไม่สนใจเด็ก แต่ต้องให้เด็กอยู่ใกล้กับตนเอง ไม่ควรหายไปจากเด็ก ไม่นานเด็กจะหยุดร้องไปเอง เพราะลูกจะรับรู้ได้ว่าไม่มีใครสนใจสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ หลังจากลูกหยุดร้องไห้ ให้ผู้ปกครองเข้าไปพูดคุยกับเด็กอีกครั้ง แต่ไม่ควรเข้าไปโอ๋ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า ครั้งต่อไปเขาจะได้รับการโอ๋อีกครั้ง ควรพูดคุยถึงปัญหา และชี้แจงให้ลูกเข้าใจว่าทำไมจึงไม่มีใครสนใจในสิ่งที่เขาทำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลงโทษลูกน้อย อย่างไรให้ลูกหายดื้อ ทำไมยิ่งทำโทษลูกยิ่งดื้อ!
ยกเลิกกิจกรรม
เด็กบางคนอาจมีกิจวัตรประจำวันที่ทำแตกต่างกันไป แต่สำหรับเด็กแน่นอนว่าต้องมีเรื่องเล่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว เช่น อ่านการ์ตูน หรือดูการ์ตูนหลังทำการบ้าน หรือหลังอาบน้ำ, สามารถฟังนิทานได้หลังเก็บของเล่นที่เล่นทิ้งไว้เสร็จแล้ว เป็นต้น หากลูกไม่ยอมทำตามที่ตกลงกันไว้ แล้วมีอาการงอแง หรือโวยวายร้องไห้เสียงดัง ให้คุณพ่อคุณแม่งดการทำกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้ลูกเข้าใจในความรับผิดชอบของตนเอง
ให้ลูกรับผิดชอบ
เมื่อลูกทำผิด บางอย่างอาจไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงแต่ การปล่อยไปอาจทำให้ลูกติดจนกลายเป็นนิสัยได้ การลงโทษจึงสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำ เช่น ทำของหล่นบนพื้นก็ต้องให้เขาเป็นคนเก็บเอง เป็นต้น วิธีการนี้จะทำให้เด็กรับรู้ได้ว่าความผิดที่ตัวของเขาทำ และต้องมีความรับผิดชอบ แทนการร้องไห้โวยวาย หรือการโทษผู้อื่น
งดรางวัล
ลูกอาจตื่นเต้นทุกครั้งกับการได้ทำกิจกรรมบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น และกำลังใจจดจ่อเฝ้ารอ เช่น การได้ไปเที่ยว, การได้ของเล่นชิ้นใหม่ ๆ หรือการได้กินขนมในร้านโปรด แต่หากลูกปฏิบัติตัวไม่น่ารัก และไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่สามารถนำรางวัลที่กล่าวไปข้างต้นไปต่อรอง พร้อมกับสอนลูกด้วยว่าทำไมการกระทำแบบนี้ถึงส่งผลไม่ดีต่อผู้อื่น และทำไมต้องงดรางวัลที่ลูกควรจะได้อีกด้วย
การลงโทษเด็กอาจเป็นเรื่องที่ลำบากใจของพ่อแม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่อาจทนได้กับการเห็นลูกจะต้องเสียใจ หรือไม่อยากให้ลูกเจ็บ ปวด แต่หากเลือกวิธีทำโทษลูกได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล ก็จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล
ครูโหดทำโทษหนัก ใช้ดาบกระบี่กระบองตีเด็กจนไม้หัก ทำเด็กนั่งเรียนไม่ได้
หามนักเรียน ร.ด. ส่งโรงพยาบาล 17 คน พบปัสสาวะสีเข้ม ต้องฟอกไต หลังฝึกโหด !
ที่มา : www.dailynews.co.th