วิธีช่วยเหลือแบบเห็นภาพ จากหมอแล็บแพนด้า "สำลักอาหารต้องทำยังไง"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ว่าด้วยเรื่องของการสำลักอาหาร กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคน ควรจะต้องรู้ค่ะ เพราะในทุกวันนี้การสำลักอาหาร ก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอันตรายจนถึงชีวิตได้ ดังนั้นวันนี้ theAsianparent จะพาไปดูค่ะว่า สำลักอาหารต้องทำยังไง หากพร้อมแล้ว เราไปดูตัวอย่างจากหมอแล็บแพนด้า กันก่อนเลยค่ะ

 

จากที่มีการแชร์ภาพกิจกรรม จากเพจ "วิทยากรสอนปฐมพยาบาล เบื้องต้นตามกฎหมาย" โพสต์ภาพกิจกรรมในงานฝึกอบรม การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ได้สาธิตวิธีการช่วยเด็กสำลักอาหาร โดยการใช้หุ่นตุ๊กตาเด็กเป็นตัวสาธิต แต่มีนักศึกษาที่เข้าอบรมรายหนึ่งตบที่หลังหุ่นตุ๊กตา โดยใช้แรงมากเกิน จนทำให้หัวหุ่นตุ๊กตากระเด็นหลุดตกลงที่พื้น โดยทางเพจระบุข้อความไว้ว่า "เศษอาหารที่ติดคอ ออกเรียบร้อย" จนทำเอาชาวเน็ตแห่แซวว่า ไม่น่าจะใช่แค่เศษอาหาร เพราะหัวเด็กก็หลุดไปกับเศษอาหารเหมือนกัน

 

 

ร้อนถึง ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ได้แนะนำวิธีปฏิบัติเมื่อ สำลักอาหารต้องทำยังไง โดยเป็นภาพพร้อมข้อความประกอบ เชื่อว่าหากบ้านไหนหยิบตัวอย่างนี้ ไปสอนลูกน้อย เชื่อว่าต้องทำได้อย่างถูกวิธีแน่นอนค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โดยเริ่มต้นจากในกรณีที่อยู่คนเดียว ให้รีบหาของโต๊ะหรือพนักเก้าอี้ นำมาดันเข้ากับหน้าท้องของตัวเองแรง ๆ ถ้าการสำลักอาหาร เกิดขึ้นกับเด็กทารก ให้นอนหงายประคองด้วยแขนหรือหน้าตัก กดด้วยนิ้วสองนิ้วลงไปตรง ๆ บริเวณกระดูกอก ตรงกลาง 5 ครั้ง จากนั้นให้คว่ำหน้า หันหัวลง ประคองด้วยแขนและหน้าตัก ตบด้วยอุ้งมือ กลางหลัง 5 ครั้ง ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่หยุดหายใจ ให้รีบทำการ CPR โดยด่วน และรีบโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน หรือ 1699 ให้มาช่วยชีวิตทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาพสุดฮา! นักศึกษาสาธิตวิธีการ ช่วยเด็กสำลักอาหาร ทำหัวหุ่นหลุดกระเด็น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อันตรายจากการสำลักอาหาร

การสำลักอาหาร ภาวะการสำลักอาหาร คือการที่มีเศษอาหารหรือน้ำ (Food particle) หลังกลืนอาหารหล่นเข้าไปอยู่ในหลอดลม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลายๆครั้งเพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม

ปกติแล้วเมื่อเกิดกระบวนการกลืนอาหารขึ้น โคนลิ้นจะผลักอาหารให้เข้าไปอยู่ในคอหอยจากนั้นฝาปิดกล่องเสียงจะเคลื่อนตัวลงมาปิดทางเข้าของกล่องเสียงรวมทั้งสายเสียงทั้ง 2 ข้างจะเคลื่อนตัวมาชิดกันเพื่อปิดทางเข้าของหลอดลมทำให้อาหารที่กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านลงไปในทางเข้าของหลอดอาหารนั้นไม่สามารถหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ จึงไม่เกิดการสำลักขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุการสำลักอาหาร

  1. คนที่พูดในขณะรับประทานอาหาร หรือในขณะกลืนอาหารนั้น ฝาปิดกล่องเสียงและสายเสียงจะเปิดออก เพื่อให้เกิดเสียงพูด อาหารจึงตกลงไปในหลอดลม และเกิดการสำลักขึ้นได้
  2. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง จะทำให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้ ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการสำลักขึ้น
  3. ผู้ป่วยที่สายเสียงเป็นอัมพาต ขยับและทำงานไม่ได้ ก็จะเกิดการสำลักอาหารและน้ำ รวมทั้งมีอาการเสียงแหบร่วมด้วย
  4. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณลำคอ บางครั้งจะเกิดการบวมของเนื้อเยื่อในคอได้ และเกิดการสำลักอาหารได้เช่นกัน
  5. ผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบ มีการใส่ท่อช่วยหายใจ บางครั้งจะทำให้สายเสียงบวม และทำงานผิดปกติไปได้ จึงเกิดภาวะเสียงแหบ และการสำลักอาหารขึ้นได้

นอกจากการสำลักอาหารตรง ๆ แล้ว อีกหนึ่งการสำลักที่น่าห่วงก็คือ สำลักเงียบ (Silent Aspiration) หรือ การสำลักอาหารหรือน้ำดื่ม ลงในทางเดินหายใจโดยไม่มีอาการไอ หรือ เสียงพร่าตอบสนองให้เห็น เป็นภาวะที่พบได้บ่อยใน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนผิดปกติ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย

 

สำลักเงียบและภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุที่มีโรคทางระบบประสาท จะพบภาวะกลืนลำบากได้สูง ถึง 50-75% และพบว่า มีภาวะสำลักเงียบร่วมได้ ถึง 40-70% ส่งผลให้เกิดปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงตามมา ในกรณีผู้สูงอายุ ที่มีภาวะปอดอักเสบติดเชื้อแล้ว พบมีภาวะสำลักเงียบสูง ถึง 71% และในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี พบอัตราเสียชีวิตด้วยภาวะปอดติดเชื้อ จากการสำลักสูงถึงเกือบ 30%

 

อาการที่มองไม่เห็นจากสำลักเงียบ

เนื่องจากการสำลักเงียบ ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ทำให้ผู้ป่วยรวมถึงผู้ดูแลขาดความระมัดระวัง และไม่ทราบว่ามีการสำลักอาหารหรือน้ำดื่มลงในทางเดินหายใจ จนเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความผิดปกติให้เห็นรุนแรง เช่น ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ ซึ่งนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

นอกจากนี้ ภาวะสำลักเงียบ อาจไม่สามารถพบจากการตรวจประเมินทางคลินิกได้ เนื่องจากไม่แสดงอาการขณะทำการตรวจคัดกรองและการตรวจร่างกาย ดังนั้นจึงมีความจำเป็น ต้องได้รับประเมินจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการกลืนแป้งทางรังสี หรือการส่องกล้อง เพื่อตรวจหาว่า ผู้ป่วยมีภาวะสำลักเงียบหรือไม่ และทำการป้องกันรักษาได้ทันท่วงที

 

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการสำลักปกติ ในผู้ใหญ่ หรือเด็ก การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ และตำแหน่งของอวัยวะ ที่ทำให้เกิดการสำลักบางกรณีสามารถรักษาได้ด้วยยา บางกรณีอาจต้องใช้การฝึกกลืนช่วย บางกรณีใช้วิธีการฝึกการออกเสียง เพื่อให้สายเสียงแข็งแรงขึ้น และบางกรณีอาจต้องอาศัยการผ่าตัด ซึ่งภาวะการสำลักอาหารนั้น ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือรุนแรง โดยเฉพาะในคนสูงอายุ สามารถทำให้เกิดทางเดินหายใจอักเสบติดเชื้อได้ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบเป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตลกแต่ได้ความรู้ หมอแล็บแพนด้าโพสต์สอน จะมีลูกต้องอ่าน

ปลาแดดเดียวทอดพ่นยาฆ่าแมลง ลูกกินโดยไม่รู้ สุดท้ายต้องหามส่งโรงพยาบาล!

ชื่นชม! ตำรวจเป็นฮีโร่ช่วยเหลือ ลูก 6 เดือน สำลักนม รีบรุดพาส่งโรงพยาบาลอย่างไว!

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn