การป่วยเป็นโรค HIV ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ แต่การต้องบูลลี่จนอีกฝ่ายต้องออกไปต่างหาก ถึงเป็นการกระทำที่ไม่ดี โดยเรื่องที่เกิดขึ้นกับสาวรายนี้ นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก เนื่องจากต้องกินยาต้าน HIV มานานนับปี ก่อนรู้ความจริงสุดช็อก
เรื่องนี้ถูกรายงานผ่านสื่อ Saostar ซึ่งเป็นเรื่องราวของ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ในมณฑลเจียงซี ประเทศจีน ที่ไปโรงพยาบาลเมื่อปีที่แล้ว เพื่อตรวจร่างกาย เนื่องจากรู้สึกไม่ค่อยสบาย จากผลตรวจร่างกายเบื้องต้น แพทย์สงสัยว่า เธออาจติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือเอดส์ จึงขอให้เธอเข้ารับการตรวจ ที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอีกครั้ง
ต่อมา แพทย์ของศูนย์ฯ วินิจฉัยยืนยันว่า เธอเป็นโรคเอดส์จริง ๆ เธอถูกบังคับให้แจ้งเรื่องดังกล่าว กับสถานศึกษา นับจากนั้นเธอก็เริ่มถูกรังแกด้วยวิธีต่าง ๆ จนสุดท้ายทนไม่ไหว และต้องออกจากมหาวิทยาลัยในที่สุด
นศ.ถูกบูลลี่ จนต้องลาออก คนนี้เธอต้องกินยารักษาโรคเอดส์ มาเป็นเวลากว่าหนึ่งปี ก่อนที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โรงพยาบาลกลับเปิดเผยว่า การวินิจฉัยของเธอนั้นผิดพลาด เธอไม่ได้เป็นโรคเอดส์ อย่างที่เคยแจ้งเมื่อครั้งแรกในปีก่อน
ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อเธอไปโรงพยาบาล ในเครือของมหาวิทยาลัยหนานชาง เพื่อตรวจสุขภาพโดยรวมตามปกติ แต่ผลการตรวจกลับพบว่า เธอไม่มีเชื้อเอดส์ เมื่อได้รับผลดังกล่าว พ่อจึงพาเธอไปที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคทันที เพื่อขอคำชี้แจงสำหรับการตรวจพบเชื้อ HIV ในครั้งแรก
หลังจากที่เรื่องดังกล่าว ถูกเปิดเผยออกมา พ่อของนศ.คนดังกล่าว ได้บอกว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ชีวิตของลูกสาวเปลี่ยนไปมาก หลังจากได้รับการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ว่ากำลังเป็นโรคเอดส์ เธอฝันร้ายบ่อยในตอนกลางคืน ร้องไห้ตลอดเวลา ซ้ำน้ำหนักยังขึ้น 4-5 กิโลกรัม
เนื่องจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดดังกล่าว ทำให้ผู้เป็นพ่อโกรธมาก จึงได้ตัดสินใจฟ้องศาล เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ให้กับลูกสาว แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากผู้รับผิดชอบ ห้องปฏิบัติการของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ได้ระบุว่า
“ในขณะที่ตรวจหาเชื้อ HIV นักศึกษาหญิงกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่เธอไม่ได้บอกความจริง ซึ่งการไม่บอกข้อนั้น ส่งผลต่อการทดสอบ จึงเกิดเป็น “ผลบวกลวงของไวรัสเอชไอวี” หรือกล่าวคือ การที่ไม่ได้บอกว่าท้อง และตรวจร่างกายตามปกติ ทำให้ไม่ได้ตรวจหาเรื่องการท้อง ทำให้ผลตรวจออกมาเป็น โรคเอดส์นั่นเอง
ทั้งนี้ ประเด็นข้อพิพาทของครอบครัวนี้และโรงพยาบาล ยังคงอยู่ในกระบวนการตัดสินของศาล
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?
โรคเอดส์คืออะไร ?
โรคเอดส์คืออาการของ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome) โดยเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus : HIV) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV)
โดยโรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 8-10 ปีทำให้ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงจนในที่สุดร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคภายนอก
ซึ่งในการทำลายเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่การกำจัดสิ่งแปลกปลอมถูกทำลายไป ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นสามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ ส่งผลให้เป็นโรคอื่น ๆ ตามมา อาทิ วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต เชื้อรา และอีกมากมายหลายโรค ที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย จึงไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายได้นั้นเอง
ในปัจจุบัน สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างรวดเร็ว และให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัส สำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีเชื้อเอชไอวี เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อในร่างกาย และป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ระยะโรคเอดส์ได้
โรคเอดส์มีกี่สายพันธุ์
เชื้อไวรัสเอดส์นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ เอชไอวี 1 (HIV-1) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาดอยู่ใน ยุโรป แอฟริกากลาง และสหรัฐอเมริกา ส่วนเอชไอวี 2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก
ส่วนในประเทศไทยนั้น พบบ่อยคือ เชื้อเอชไอวี 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ เออี (A/E) หรือ (E) พบได้มากถึง 95% โดยการแพร่ระบาดนั้นเกิดจาก การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง กับสายพันธุ์บี (B) ที่เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มรักร่วมเพศ หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพื่อใช้เสพยาเสพติด
สำหรับสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบเลยในประเทศไทยเลยคือ สายพันธุ์ซี แต่มีการพบสายพันธุ์ระหว่าง อี-ซี ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์อีในประเทศไทย กับสายพันธุ์ซี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ ได้ค้นพบเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยตรวจพบที่ใดในโลกมาก่อน เป็นการผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ คือ เอ อี และจี เรียกว่า เอ อี จี (AE/G)
เชื้อไวรัสเอชไอวี ติดต่อได้อย่างไร ?
เชื้อเอชไอวีสามารถพบได้ในเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำนมของผู้ที่ติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่ง ที่มีเชื้อเอชไอวี ผ่านทางเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลัก ๆ มี 3 ทาง ดังนี้
- การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
- การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีโอกาสรับเชื้อได้ 3 ช่วง คือ ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และ กินนมแม่
ที่สำคัญเชื้อเอชไอวี ไม่ติดต่อจากการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป เช่น การจับมือ กอด การทานอาหารร่วมกัน รวมทั้งไม่ติดต่อผ่านยุงกัด นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้าน จะสามารถลดปริมาณไวรัสในเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ จนอยู่ในระดับต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลา 6 เดือน หลังเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่จะกดปริมาณไวรัสลง จนแทบจะตรวจไม่พบ หลังจากนั้นโอกาสที่จะถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีไปที่คนอื่น ๆ เช่น คู่นอน หรือ ลูก จะลดลงอย่างมาก ดังที่อธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ตรวจไม่พบเชื้อ เท่ากับไม่แพร่เชื้อ
ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์
1. ปริมาณเชื้อเอดส์ที่ได้รับ
หากได้รับเชื้อเอดส์ในปริมาณมาก ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงตามไปด้วย เชื้อเอดส์จะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด
2. การมีบาดแผล
หากมีบาดแผล บริเวณผิวหนังหรือในปาก ก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอดส์สูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
3. ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ
หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
4. การติดเชื้อแบบอื่น ๆ
เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้ จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และเชื้อเอดส์ก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
5. สุขภาพของผู้รับเชื้อ
หากเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน
ควรตรวจหาเชื้อเอดส์เมื่อไหร่
- ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือแม้แต่ผู้ที่ต้องการทราบว่า ตัวเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
- ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรือแต่งงาน
- ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง
- ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของแม่และตัวเด็ก
- ผู้ที่จะเดินไปทำงานต่างประเทศ เพราะต้องการข้อมูลที่สนับสนุนเรื่อง ความปลอดภัยและสุขภาพร่างกาย
การป้องกันโรคเอดส์
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- มีคู่นอนเพียงคนเดียว
- ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรมีการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ที่ได้รับเชื้อเอดส์
ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์หรือ HIV นั้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติทั่วไป ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพราะหากไม่พบโรคแทรกซ้อน ก็จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีกหลายปี โดยปฏิบัติดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องมีเพศสัมพันธ์ ให้ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพราะวิธีนี้จะเป็นการป้องกันการรับเชื้อ และการแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่ผู้อื่นได้
- ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ ไม่เครียด
- หากเป็นหญิงไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถแพร่จากแม่สู่ลูก ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
จริงอยู่ที่โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสียส่วนใหญ่และในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ถ้าทำการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการทานยากดภูมิก็มีโอกาสที่จะทำให้ปริมาณเชื้อในเลือดต่ำลงจนไม่สามารถส่งต่อความเสี่ยงให้คู่รักได้
อย่าลืมว่าเดิมทีโรคนี้ ก็เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงอยู่แล้ว เป็นปัญหาทางสุขภาพที่มีหลายปัญหาตามมา แถมตัวผู้ป่วยยังถูกมองติดลบในสังคมอีกด้วย ซึ่งการป่วยทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจอยู่แล้ว หากต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมจริง เพียงแค่ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด ก็ไม่สามารถติดโรคได้แล้วค่ะ หันมาเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อให้การป่วยนี้เบาบางลงเถอะค่ะ!
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เตือนภัยสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ อันตรายใกล้ตัวสาว ติด HIV เพราะการทำเล็บ
เพื่อนร่วมงานขอบริจาคน้ำเชื้อทำพันธุ์ เหตุเพราะเห็นสามีตัวเองหล่อ ถึงขั้นคุกเข่าขอร้อง!
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด
ที่มา : sanook, saostar, สมาคมโรคติดเชื้อในด็ก