เด็กกลืนแปรงลงท้อง หมอยังตะลึง เด็ก 9 ขวบกลืนลงไปได้ยังไง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อันตรายจากการเอาสิ่งของเข้าปาก เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะต้องเฝ้าระวังค่ะ โดยล่าสุดมีการรายงานว่า หมอพบเคสชวนตะลึง เด็กกลืนแปรงลงท้อง

 

เรื่องนี้ถูกรายงานผ่าน สำนักข่าว New York Post โดยได้ระบุว่า แพทย์พบ เด็กกลืนแปรงลงท้อง ซึ่งแปรงดังกล่าว เป็นแปรงสีฟันไฟฟ้า ที่ถูกพบในทางเดินอาหาร ของเด็กชายวัย 9 ขวบ

 

 

เรื่องราวเกิดขึ้นใน ประเทศชาอุดีอาระเบีย เมื่อวันคริสต์มาส (25 .. 65) ที่ผ่านมา โดยแพทย์ต้องพบกับ เคสชวนตะลึง หลังจากพบอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันอัตโนมัติ หรือ แปรงสีฟันไฟฟ้า ที่เป็นส่วนหัว ในร่างกายของเด็กชาย วัย 9 ขวบ

 

แม่ของเด็ก รีบพามาที่โรงพยาบาลทันที โดยสถานการณ์ระหว่างเกิดเหตุไม่ชัดเจน ทราบเพียงแค่ว่า เด็กชาย 9 ขวบ เผลอกลืนแปรงสีฟันไฟฟ้าเข้าไป ในระหว่างการทำความสะอาดฟัน อย่างล้ำลึก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ผลการเอกซเรย์ออกมา พบว่า แปรงเข้าไปติดอยู่ในท้องของเด็กชาย ที่อาจทำให้เกิดอาการอุดตันในลำไส้ได้ และเป็นอันตรายหนักมาก หากไม่นำออกมา อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ โชคดีที่แพทย์สามารถช่วยเหลือ และนำออกมาได้ โดยใช้กล้องเอนโดสโคป ซึ่งเป็นท่อที่มีแสงบาง ๆ พร้อมกล้อง นำแปรงออกมาได้ หลังจากใช้เวลา 20 นาที

 

ปัจจุบันเด็กชาย 9 ขวบรายนี้ ออกจากโรงพยาบาลแล้ว หลังจากฟื้นตัวได้ดี จากการผ่าตัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ลูกชอบเอาของเข้าปาก ทำไงดี?

สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต จะมีความรู้สึกว่า ต้องการสำรวจโลกให้มากกว่าเดิม ที่ถึงแม้เจ้าตัวจะถูกจำกัดขอบเขตการสำรวจ แต่อย่างหนึ่งที่เด็กสามารถทำได้ นั่นก็คือการสำรวจด้วยการ หยิบสิ่งของในมือเข้าปาก เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสำรวจ แต่ด้วยความที่ยังเด็กมาก ยังไม่สามารถแยกแยะออกได้ ว่าอะไรสามารถหยิบเข้าปากได้บ้าง ทำให้คุณพ่อคุณแม่ ต้องเอาใส่ใจเรื่องการหยิบของเข้าปากเป็นอย่างมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารก 18 เดือน เผลอกินยาลดน้ำตาลในเลือด โคม่าหนักเกือบสิบวัน

 

เหตุผลที่เด็ก “นำสิ่งของเข้าปาก

สาเหตุที่ลูกชอบเอาของเข้าปากนั้น เป็นพัฒนาการปกติตามวัย ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ โดยเด็กแรกเกิด – 1.5 ปี จะเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้จากปาก ซึ่งลูกจะมีความสุขจากกิจกรรมทางปาก เช่น การดูด การเคี้ยว การกัด อย่างการหยิบของเข้าปาก หรือการอมนิ้วนั่นเอง

 

นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังไม่รู้ว่าของแต่ละชิ้นเอาไว้ทำอะไร เมื่อคว้าได้ก็จะหยิบเข้าปากเป็นปกติค่ะ ซึ่งการใช้ปากในการเรียนรู้ของเด็ก จะทำประสานไปกับการพัฒนาการ ในด้านอื่น ๆ ด้วยนะคะ เช่น การใช้กล้ามเนื้อมือ หรือการใช้สายตาทำงานไปพร้อม ๆ กัน

 

1. การงอกของฟัน

ในเด็กที่กำลังมีฟันงอกออกมา หากได้เคี้ยวหรือกัดบางอย่าง จะช่วยให้พวกเขารู้สึกสบาย และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากฟันที่งอก

 

2. บรรเทาอาการทางอารมณ์

ในระยะนี้ การได้ดูดบางอย่าง อาทิ จุกนม นมแม่ ที่หมายถึงการมีชีวิตรอดสำหรับเด็ก แต่เมื่อจุกนมเด็กและขวดนม ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันแล้ว พวกเขาจะมองหาสิ่งใหม่ เพื่อเติมเต็มความว่างเปล่านี้

 

การตอบสนองที่เหมาะสม

เมื่อเห็นว่าลูกหยิบของเข้าปาก คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน ก็คงรีบดึงของชิ้นนั้น ออกจากปากของลูกทันที เพราะกลัวเรื่องของอันตราย ซึ่งหากสิ่งของที่ลูกหยิบเข้าปาก เป็นสิ่งที่อันตรายจริง ๆ คุณพ่อคุณแม่ทำถูกต้องแล้วค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูก ต้องมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว

 

แต่ถ้าของที่ลูกเอาเข้าปาก เป็นของที่เรามั่นใจว่า สะอาด ปลอดภัย ชิ้นไม่ใหญ่ ทำให้ติดคอ ก็ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ จากการหยิบของเข้าปากเถอะนะคะ เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กค่ะ แต่ต้องจับตาดูเสมอ อย่าปล่อยให้คลาดสายตา เพราะถ้าเกิดเราตอบสนองลูกอย่างไม่เหมาะสม เช่น เห็นเอาของเข้าปากปุ๊บ ก็รีบดึงออกมาปั๊บ ก็อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพในตอนโตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

จริงอยู่ที่การปล่อยให้ลูก หยิบของเข้าปากเรื่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ หากของที่ลูกหยิบเข้าปาก เป็นของชิ้นเล็ก หรือมีส่วนผสมของสารเคมี การที่พ่อแม่ต้องคอยจับตาดูลูกอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ สามารถทำตามวิธีดังนี้ได้ค่ะ

  • จัดสภาพแวดล้อมของบ้าน หรือโซนที่ลูกอยู่ ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย สะอาด และเป็นระเบียบอยู่เสมอ
  • เก็บของอันตรายไว้ที่สูงและมิดชิด
  • เลือกของเล่นที่มีมาตรฐานความปลอดภัย
  • เลือกของเล่นที่มีขนาดใหญ่กว่าการหยิบเข้าปาก
  • ทำความสะอาดของเล่นทุกครั้งหลังลูกเล่นเสร็จ

 

ครั้งหน้าหากเห็นลูกหยิบของเข้าปาก ย้ำอีกทีว่าเป็นของที่มั่นใจว่าปลอดภัย ก็อย่าไปดึงของออกจากปากลูกเลยนะคะ ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้จะดีกว่าค่า แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นของชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ แต่การจับตามองอย่างใกล้ชิด ก็เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ อย่าให้ต้องไปถึงมือคุณหมอกันเลย!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หยุดลูกน้อยนำสิ่งของเข้าปาก ทำอย่างไรได้บ้าง มาดู

ลูกท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ท้องร่วง ถ่ายเหลว รับมืออย่างไรดี

แนะนำ! 7 จิ๊กซอว์ ของเล่นเสริมพัฒนาการ พัฒนาสมองสำหรับเด็ก

ที่มา : sanook, nypost, parentsone

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn