อุทาหรณ์! ลูกรอดเพราะคาร์ซีท ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ ลูกไม่เป็นอะไรเพราะนั่งคาร์ซีท

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะเรื่องของความปลอดภัยของลูก เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกค่ะ โดยเฉพาะบ้านไหนที่ต้องพาลูกเดินทางไกลบ่อย แต่ไม่เคยเห็นความสำคัญของคาร์ซีท วันนี้มาดูอุทาหรณ์จากคุณแม่ท่านหนึ่งค่ะ ที่ได้ออกมาเผยแพร่ประสบการณ์ส่วนตัว ลูกรอดเพราะคาร์ซีท หลังเกิดอุบัติเหตุรถไหลมาชนจนรถเละทั้งคัน

 

เรื่องราวนี้ถูกพูดถึงในเพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ที่ก่อนหน้านี้ เคยมีคุณแม่ท่านหนึ่งฝากประเด็นที่น่าสนใจ ผ่านทางเพจมา โดยเป็นการตั้งคำถามว่า พ่อแม่คนอื่นมีความเห็นอย่างไรบ้างกับประเด็นนี้ โดยข้อความดังกล่าวระบุว่า "หนูมีลูกสาวอายุ 1 ขวบ 5 เดือนค่ะ หนูและสามีฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลค่ะ

 

 

แต่ปัญหาคือ เวลาออกไปข้างนอกกันหลาย ๆ คน หรือออกไปกับญาติผู้ใหญ่ ทุกคนมักจะบอกว่าไม่ต้องเอาคาร์ซีทไปหรอก บางครั้งก็ว่ามันเกะกะ ทำให้คนนั่งได้น้อยลง เพราะค่านิยมเดิม ๆ ของผู้ใหญ่ในประเทศไทยที่ว่า ไม่เป็นไร เลี้ยงลูกมาก็ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ก่อนไม่เห็นต้องมีเลย

 

ทำให้เรื่องคาร์ซีท เป็นเรื่องที่คนละเลย ตัวหนูเอง สามี และเพื่อน ๆ ที่มีลูกวัยเดียวกัน รู้สึกดีใจมาก ๆ ที่ประเทศไทยมีกฎหมายเรื่องคาร์ซีทออกมาค่ะ แต่จนแล้วจนเล่า กฎหมายข้อนี้ก็ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน หรือมีความเด็ดขาดในเรื่องนี้ อยากรบกวนจ่านำเสนอข่าวในเรื่องนี้นิดนึงได้รึเปล่าคะ เพื่อที่จะเป็นกระบอกเสียง คิดว่าลำพังความคิดหรือวัฒนธรรมในประเทศไทย ที่ลูกหลานเกรงใจผู้ใหญ่ยังมีอยู่มาก ๆ ค่ะ กฎหมายเป็น หนึ่งอย่างในการทำสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ และเพื่อความปลอดภัยของลูกหลานค่ะ"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ถูกแชร์ออกไป ต่างก็มีหลายความเห็นเข้ามาคอมเมนต์เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นไปในทางเดียวกัน คือเห็นด้วยเรื่องความปลอดภัยที่มีให้เด็ก แต่ในทางเดียวกันก็มีความเห็นที่บอกว่า ราคาสูงเกินกว่าที่ครอบครัวจะหาได้ เนื่องจากบางครอบครัวอาจไม่มีเงินมากพอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกรอดเพราะ "คาร์ซีท" อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย

 

ทำให้หลังจากนั้นไม่นาน มีคุณแม่รายหนึ่งได้ฝากประสบการณ์ตรงมาในเพจอีกครั้ง โดยคุณแม่ได้ระบุว่า ลูกรอดเพราะคาร์ซีท ทั้ง 2 คน หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ รถบรรทุกเบรกแตกไหลมาชน โดยเจ้าตัวได้ระบุข้อความดังนี้ "สวัสดีค่ะจ่า เห็นโพสต์เรื่องคาร์ซีท แต่แปะรูปไม่ได้เลยขอส่งมาเผื่อจะมีประโยชน์ เตือนใจใครได้ อันนี้ประสบเหตุเองค่ะ วันที่ 13 สิงหาคม รถบรรทุกเบรกแตกมาชน แม่ขับ ลูก 2 คนนั่งคาร์ซีทด้านหลังคนละข้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกที่นั่งด้านที่โดนชนเต็ม ๆ จนประตูหายไป มีแค่รอยถลอกที่ขานิดเดียว ส่วนอีกด้าน ไม่เป็นอะไรเลย ทั้งหมดเป็นผลจากการนั่งคาร์ซีทจริง ๆ ค่ะ ส่วนแม่คาดเข็มขัด เย็บหน้าผาก 20 เข็ม หลังศีรษะ 5 เข็ม ถ้าไม่นั่งคาร์ซีท มั่นใจว่าลูกบาดเจ็บหนักทั้งคู่แน่นอน ชนแรงมาก บินแน่ ๆ ค่ะ"

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คาร์ซีท (Car Seat) คืออะไร

คาร์ซีท คือเบาะที่นั่งที่ทำหน้าที่เหมือนเข็มขัดนิรภัย โดยใช้ระบบผูกรัดให้ติดกับเบาะนั่งของเด็ก ป้องกันไม่ให้เด็กระเด็นจากเบาะ ไม่ว่าจะจากการเบรกอย่างแรง หรือรถชน นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับแรงกระแทก จากการชนได้บางส่วนด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของผู้โดยสารที่เป็นเด็กได้

 

 

การเลือกใช้คาร์ซีท ที่เหมาะสมต่ออายุเด็ก?

1. ทารกแรกเกิด จนถึงอย่างน้อยอายุ 2-4 ปี

ในทารกแรกเกิดจนถึงอย่างน้อยอายุ 2-4 ปี ควรใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็ก ที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing car seat) เดิมทีคาร์ซีทแบบนี้แนะนำให้ใช้จนถึงอายุ 2 ปี แต่ในการศึกษาวิจัยในปัจจุบันแนะนำให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าไปด้านหลังรถให้นานที่สุด จนกว่าอายุ 4 ปี หรือตัวโตจนความสูงเกินขนาดของคาร์ซีท ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเกิดการหักของกระดูกต้นคอ หากเกิดอุบัติรุนแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วินาทีเฉียดตาย! เมื่อรถไปชนท้ายรถบรรทุก การติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้อง สำคัญมาก

 

2. เด็กอายุ 2-3 ปี จนถึง 4-7 ปี

ในส่วนของเด็กอายุ 2-3 ปี จนถึง 4-7 ปี สามารถใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าตามปกติ (Forward-facing car seat) ซึ่งต้องมีขนาดที่ครอบคลุมทั้งลำตัวและศีรษะ โดยมีสายรัดลำตัวเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 5 จุด ติดตั้งมาพร้อมที่นั่งยึดติดกับรถ ด้วยเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์

 

3. เด็กอายุ 4-7 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี

ควรใช้คาร์ซีทแบบที่เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้า จนกว่าจะโตเกินความสูงของคาร์ซีท หรือน้ำหนักตัวมากกว่า 18 กิโลกรัมก็สามารถเปลี่ยนมาใช้ที่นั่งแบบหันไปด้านหน้าได้ โดยไม่มีสายรัดติดตั้งมากับที่นั่ง ( Belt-positioning booster seat) เพื่อเสริมความสูงให้กับเด็ก และปรับตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยของรถให้พอดีกับลำตัวเด็ก

 

4. เด็กอายุมากกว่า 10 ปี

เด็กอายุมากกว่า 10 ปี หรือน้ำหนักมากกว่า 28 กิโลกรัม สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยปกติที่มีในรถยนต์ได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้ booster seat ทั้งนี้เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว สายคาดควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่ทำให้เกิดอันตรายแก่เด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีท

  1. ฝึกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แนะนำให้ฝึกตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้แก่ลูก
  2. ทำบ่อย ๆ ไม่ว่าจะระยะทางใกล้หรือไกล ก็ควรให้ลูกนั่งคาร์ซีท เพราะอุบัติเหตุเกิดได้เสมอ
  3. ปรับทัศนคติให้ตรงกัน อาจจะพูดคุยถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องนั่งคาร์ซีท หรืออาจจะลองหาเหตุการณ์ใน Youtube ว่าลูกที่นั่งคาร์ซีท กับ ไม่ได้นั่งคาร์ซีทแล้วเกิดอุบัติเหตุจะเป็นอย่างไร
  4. เช็กสภาพแวดล้อม หากลูกรู้สึกไม่สบายตัวก็หาสาเหตุ ว่าเพราะอะไร อาจจะรถร้อนเกิดไป ตรงที่นั่งโดนแดดส่องมากเกินไป
  5. บรรยากาศในรถ สลับไปนั่งด้านหลังเป็นเพื่อนลูก ชวนลูกคุย หรือเปิดเพลงฟัง จะช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลาย
  6. นำของเล่นติดขึ้นรถ เพื่อจะได้ให้ลูกรู้สึกสนุก ฆ่าเวลาในการนั่งรถ ลูกก็จะมีส่วนร่วมในการเดินทาง รู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุขเวลานั่งรถ
  7. ขนมทานเล่น คุณแม่อาจจะเตรียมขนมที่ลูกชอบ หากลูกเบื่อ ๆ ก็เอาขนมออกมาทานเล่นได้

 

พ่อแม่หลายคนต้องการประหยัดเงินไม่อยากซื้อของใหม่ หรืออยากใช้ของเดิมที่เคยใช้กับคนพี่ หรือมีเพื่อน ๆ หรือญาติ ๆ ให้มา เพราะของใช้หลายอย่าง พ่อแม่บางคนอาจได้รับการส่งต่อ ความจริงแล้วเด็กก็สามารถใช้คาร์ซีทมือ 2 ได้เช่นกันค่ะ เพราะว่าเด็กโตเร็ว บางคนใช้แล้วของยังดูใหม่อยู่เลย โดยเฉพาะคาร์ซีมสำหรับทารกที่ใช้ได้ไม่ถึงปีก็เปลี่ยนแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรเช็กสภาพของคาร์ซีทก่อนว่า มีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีการชำรุดเสียหาย สายคาดรัดเข็มขัดกระชับ ไม่ย้วย ตัวฐาน ตัวล็อกแน่นหนา ยังใช้งานได้ดี และควรเช็กว่าคาร์ซีทยี่ห้อไหนดี คาร์ซีทที่ซื้อมานั้นมีอายุการใช้งานเท่าไหร่ เราแนะนำว่าไม่ควรใช้คาร์ซีทที่มีอายุเกินกว่า 6 ปี เพราะอาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คาร์ซีทสำหรับเด็ก ชวนคุณแม่เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยขณะนั่งรถ

แนะนำ 10 คาร์ซีทงบประหยัด ปี 2023 ราคาดี มีคุณภาพ คาร์ซีทยี่ห้อไหนดี?

นั่งคาร์ซีทอย่างไร ให้ปลอดภัย และวิธีรับมือ ลูกงอแงเวลานั่งคาร์ซีท

ที่มา : 1

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn