เด็กป.5 จับกลุ่มดมกาว สุดสลด! โมโหคนที่เตือน ชักมีดไล่แทง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องของสารเสพติดไม่ใช่เรื่องไกลตัว หากเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็กอายุน้อย ไม่เช่นนั้นในอนาคตลูกหลานของเรา อาจตกเป็นเหยื่อของสิ่งพวกนี้ได้ ดังเช่นเหตุสลดของเด็กกลุ่มนี้ที่ เด็กป.5 จับกลุ่มดมกาว ในพื้นที่สาธารณะ

 

มีการรายงานว่าเมื่อวานนี้ (21 ธ.ค. 2565) ที่บริเวณรอบ ๆ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของเทศบาลนครแม่สอด จ.ตาก กลายเป็นสถานที่ที่กลุ่มเยาวชน อายุประมาณ 13-14 ปี ทั้งหมด 4 คน กำลังรวมกลุ่มดมกาวกันอยู่ เมื่อนายสามารถ โยธิน อายุ 32 ปี ยามรักษาการณ์ในศาลเห็นจึงออกไปห้าม แต่เยาวชนทั้ง 4 คนอ้างว่า เป็นที่สาธารณะไม่มีสิทธิ์มาห้าม

 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่นายสามารถไม่ยอม จึงขับไล่ออกไป ทำให้ เด็กป.5 จับกลุ่มดมกาว กลุ่มนี้ไม่พอใจ คว้ามีดปลายแหลมที่พกมา ขนาดยาวกว่า 1 ฟุต จะเข้าไปแทงนายสามารถ นายสามารถเห็นท่าไม่ดี จึงใช้วิทยุสื่อสารแจ้งตำรวจไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ และติดตามจับเยาวชนได้ 2 คน เป็นเยาวชนไทย 1 คน เยาวชนเมียนมา 1 คน

 

1 ในจำนวน 2 คนนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในแม่สอด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นเจ้าของมีดดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำตัวขึ้นรถยนต์เพื่อนำไป สภ.แม่สอด จากการสอบสวนเบื้องต้น เยาวชนทั้ง 2 ราย รับว่า ได้ร่วมกับเพื่อน ๆ ไปนั่งดมกาวบริเวณดังกล่าวจริง แต่ถูกยามไล่จนโมโห จึงนำมีดข่มขู่ไป ส่วนคนที่จะขู่ทำร้ายยามได้หลบหนีไปแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กที่ถูกจับได้เปิดเผยว่า ตนเรียนที่โรงเรียนรัฐแห่งหนึ่ง ชั้นป. 5 ปัจจุบันพ่อแม่ไปอยู่กรุงเทพฯ ทำให้ต้องไปอาศัยกับเพื่อน ร่วมแก๊งดมกาวและไม่ได้ไปโรงเรียน เมื่อถามว่าพกมีดมาทำไม ได้รับคำตอบว่าพกไว้ป้องกันตัว

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้านนายสามารถ กล่าวว่า รู้สึกกลัวเด็กจะมาทำร้ายตนเอง เพราะมีอาวุธมีด ทั้งตนเองอยู่คนเดียว ก่อนเกิดเหตุเห็นว่า เด็กทั้งหมดนั่งดมกาวใกล้สถานที่ราชการ จึงว่ากล่าวตักเตือน และบอกให้ไปที่อื่น แต่ถูกตอบโต้ด้วยการชักมีดข่มขู่ จึงใช้ก้อนหินขว้างเพื่อสกัด พร้อมกับแจ้งตำรวจมาดำเนินการ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กพี้กัญชา เด็กน้อยจับกลุ่มพี้กัญชา ริมหาดพัทยา มีครบทั้งบ้องทั้งไฟแช็ก

 

พิษจากการสูดดมกาว

สารเสพติด เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ ล้วนทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ และมักจะทำให้เกิดอาการอยาก จนต้องเสพซ้ำ ๆ เป็นประจำ โดยเริ่มต้นมาจากการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อการรักษา เช่น การให้โบรไมด์ (Bromide) แก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นการระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก แต่โบรไมด์สะสมในร่างกายและทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท รวมถึงทำลายเซลล์ประสาทในสมองอย่างถาวร

 

การสูดดมกลิ่นกาวหรือสีเข้าไป อาจทำให้รู้สึกดีในระยะสั้น แต่ทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาว อาการชัก หายใจติดขัด หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ สารประกอบที่อยู่ในสีและกาวที่ทำให้เกิดผลกระทบนี้คือ โทลูอีน หรือเมทิลเบนซิน หรือฟีนิลมีเทน เป็นสารตั้งต้นทางอุตสาหกรรมและตัวทำละลายที่มักใช้ในสีทาบ้าน สีเพื่องานอุตสาหกรรม และกาวต่าง ๆ รวมถึงเป็นสารตั้งต้นของสารประกอบอะโรมาติกทางอุตสาหกรรม แต่ส่งผลกระทบน้อยกว่าเบนซีนที่ใช้เช่นเดียวกัน

 

ความน่ากลัวของสารโทลูอีน ไม่เพียงแต่มีผลต่อร่างกาย ยังสลายตัวได้ยากในธรรมชาติ โทลูอีนสามารถระเหยและลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 76 ปี ก่อนจะสลายไป การทำงานของสารโทลูอีนในระยะแรกเมื่อเข้าสู่ร่างกายคือ การกระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งสารโดพามีนออกมามากขึ้น ทำให้รู้สึกพึงพอใจ มีความสุข แต่ก็ตามมาด้วยอาการวิงเวียน กังวล สับสน แน่นอนว่ามันเป็นสารเสพติด ทำให้ต้องได้รับมันซ้ำเมื่อเริ่มจะหมดฤทธิ์ เพื่อให้รู้สึกพึงใจและมีความสุขต่อไป แต่การได้รับในปริมาณที่มากขึ้น ก็จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น

 

สารระเหยคืออะไร ?

สารระเหยคือสารที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอระเหยรวดเร็วในอากาศ จัดว่าเป็นสารเสพติดให้โทษ ตามพระราชกำหนด การป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 มีฤทธิ์ในการกระตุ้นและการกดประสาท จึงได้ระบุให้ผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ จัดเป็นสารระเหย ได้แก่

  1. ทินเนอร์
  2. แล็กเกอร์
  3. กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ที่มียางโอปริน หรือสารกลุ่มไวนิล
  4. กาวอินทรีย์ธรรมชาติ ที่มียางสน ยางธรรมชาติ หรือเซลลูโลส

ซึ่งแบ่งประเภทออกตามลักษณะการใช้ หรือทางการแพทย์ โดยแบ่งออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ

 

1. สารระเหย (Hydrocarbon)

เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ที่ได้มาจากน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสารระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง จึงนิยมใช้มากในอุสาหกรรมที่มีคุณสมบัติแห้งระเหยได้เร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. สารทำละลาย (Solvents)

ใช้เป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน

 

3. น้ำยาพ่นฝอย (Acrosol)

ซึ่งจัดบรรจุในภาชนะที่ใช้สำหรับฉีด มีส่วนผสมในรูปแบบของสีเคลือบภาชนะ ที่ใช้ในครัวเรือน

 

การป้องกันการติดสารระเหย

  1. การหลีกเลี่ยงที่จะสูดดม เข้าใกล้ ควรมีผ้าปิดจมูก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรสวมแว่นตา เพื่อป้องกันไอจากสารระเหยที่จะได้รับโดยไม่รู้ตัว
  2. ไม่สัมผัสโดยตรงกับสารระเหย
  3. จัดการสิ่งแวดล้อม โดยให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออยู่เหนือลม เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับสารระเหย
  4. หากเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรใส่ใจและรีบปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ
  5. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้สารระเหย ในการประกอบอาชีพหรือทำงาน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด
  6. ในเด็กเล็ก จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงในการสัมผัสสารระเหย ไม่ว่าจะเป็นทางกลิ่น หรือสัมผัสโดยตรง

 

แม้ว่าจะได้รับสารโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายครั้งละเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย เพราะสารนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้ นอกจากระบบทางเดินหายใจ หลอดเลือดฝอยจะถูกทำลายแล้ว โทลูอีนยังทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย ถึงอย่างนั้นมันก็ยังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน เนื่องจากราคาของมันถูกและสามารถเข้าถึงได้ง่าย

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะรู้ว่ามันมีอันตรายต่อร่างกาย แต่โทลูอีนก็ยังเป็นสารที่นิยมใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลากหลาย ดังนั้นอาจจะหนีการใช้งานไม่ว่าจะเป็นกาว สี หรือสารละลายเหล่านี้ได้ยาก แต่ก็สามารถป้องกันตัวเองได้ หากจำเป็นต้องเข้าไปสัมผัส หรือทำงานกับสารเหล่านี้ ก็ควรใช้หน้ากากเพื่อป้องกันการสูดดม และได้รับเอาสารโทลูอีนเข้าไปเกินมาตรฐาน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พลเมืองดีสุดทน! ร้องปวีณาฯ แม่พาลูก 7 เดือนไม่มีรูทวาร หนีจาก รพ. มาเสพยากับสามี

บุกจับ พ่อคลุ้มคลั่ง ใช้ปืนจี้ลูกสาวชั้น ป.1 คาโรงเรียน

ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพยา ถ้ามารดาเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

ที่มา : nation, trueplookpanya

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn