แม่ให้กำเนิดลูก หลังแท้งกว่า 26 ครั้ง กลายเป็นโดนดราม่าว่าพยายามเกินไปไหม ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลายเป็นเหตุการณ์ดราม่าแบบไม่คิด เมื่อโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แชร์ประสบการณ์ของ แม่ให้กำเนิดลูก หลังแท้งกว่า 26 ครั้ง เพื่อหวังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่อยากมีลูก แต่ยังไม่สำเร็จ สุดท้ายแล้วกลายเป็นการโดนบูลลี่เสียอย่างนั้น

 

โดยเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน โดยเป็นการเผยแพร่จาก โรงพยาบาลแม่และเด็กมณฑลหูหนาน ในเมืองฉางซา ซึ่งระบุว่า คุณแม่คนนี้เพิ่งให้กำเนิดลูกสาวด้วยวิธีผ่าคลอดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่แท้งลูกครั้งที่ 26 ไปเมื่อปี 2019 ขณะอายุ 34 ปี ซึ่งทำให้เธอแทบจะ “หมดความหวัง” ในการมีบุตร

 

โรงพยาบาลระบุว่า ที่เปิดเผยเรื่องราวฝันที่เป็นจริงของ แม่ให้กำเนิดลูก หลังแท้งกว่า 26 ครั้ง รายนี้นั้นเพราะว่า อยากให้ผู้คนโฟกัสกับความพยายามที่ไม่หมดหวัง และทักษะที่ดีของทีมแพทย์ แต่กลับกลายเป็นว่าผู้คนมองอีกมุมหนึ่ง จนกลายเป็นความไม่สบายใจของคนไข้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชาวเน็ตหลายคนคอมเมนต์เชิงลบถึงหญิงสาวคนนี้ว่า “ปล่อยให้ความเป็นแม่สำคัญกว่าการใช้ชีวิต” และ “หมกมุ่นกับการมีลูกมากเกินไป” บ้างก็โยงไปถึงสภาพสังคมที่กดดันให้ต้องมีลูก ที่แย่ไปกว่านั้นคือมีความเห็นประชดว่า เธอควรจะได้รับการบันทึกสถิติโลกโดย กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส หนึ่งในความเห็นที่ได้รับการกดถูกใจที่สุด สำหรับเรื่องนี้ระบุว่า “ฉันไม่เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้มันน่าโปรโมตตรงไหน คนเราควรเคารพชีวิตตัวเองเหนือสิ่งอื่นใด”

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีอัตราการเกิดลดลงต่ำอย่างรวดเร็ว และด้วยปัจจัยแวดล้อมอย่างโรคระบาด โควิด-19 ทำให้แนวโน้มนี้อาจจะยังอยู่ต่อเนื่อง ไปจนถึงปี 2023 ก็เป็นได้ อ้างอิงจากผลการศึกษาของนักวิจัยจีนที่เผยแพร่ลงวารสารการแพทย์แลนซิต เมื่อเดือน พ.ค. พบว่า อัตราการมีบุตรยากของผู้หญิงชาวจีน ในวัยให้กำเนิดบุตรเพิ่มสูงขึ้น จากระดับ 11.9% ในปี 2007 มาอยู่ที่ 17.6% ในปี 2020

บทความที่เกี่ยวข้อง : ติดกรรมแท้งลูก ลูกหลุดขณะท้อง หรือทำแท้ง แก้กรรมแท้งลูกได้อย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำแท้งปลอดภัย ทางออกที่ไม่เสี่ยงอันตราย

การทำแท้งยังคงเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันในสังคมไทย แม้ปัจจุบันมีกฎหมายที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้แล้ว ภายใต้อายุครรภ์หรือเกณฑ์ที่กำหนดและต้องทำโดยแพทย์ การทำแท้งในประเทศไทยเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากมีปัจจัยด้านสิทธิของผู้หญิงและทารกในครรภ์ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม และศีลธรรมของคนในสังคมรวมอยู่ด้วย

 

การจะลดปัญหาท้องไม่พร้อมและการทำแท้งได้นั้น ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก และหากมีการสนับสนุนบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมายอาจช่วยให้คนท้องไม่พร้อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ จริงอยู่ที่การทำแท้งมีอันตราย แต่ถ้าหากการแท้งนั้น ได้รับการดูแลที่ถูกวิธีจากแพทย์ผู้ชำนาญ ที่เรียกว่าทำแท้งเพื่อการรักษา ยังสามารถเป็นเรื่องที่ทำได้ เว้นแต่ว่าการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ จะยิ่งสร้างอันตรายให้กับผู้หญิงอีกด้วย

 

ทำแท้งถูกกฎหมาย ทางเลือกที่ปลอดภัย

จากการแก้ไขกฎหมาย ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ โดยหญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์และยืนยันจะทำแท้ง สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยต้องให้แพทย์ในสถานพยาบาลที่ถูกกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น หากมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องผ่านการตรวจและได้รับคำปรึกษาทางเลือกจากทีมแพทย์อย่างละเอียดก่อนทำแท้ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เช่นเดียวกันกับผู้ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพ ทารกในครรภ์อาจมีภาวะทุพพลภาพ ผู้ตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน หรือมีเพศสัมพันธ์ในเชื้อสายเดียวกัน ก็ต้องตรวจและประเมินเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้ยุติการตั้งครรภ์และแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง หญิงที่เข้ารับการทำแท้งในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมาย จะได้รับการดูแลและรักษาก่อนและหลังทำแท้ง โดยมีการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติครรภ์ วิธีการดูแลตัวเอง ไปจนถึงวิธีติดตามสังเกตอาการของตนเองเพื่อกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง

 

อาการที่เป็นสัญญาณว่าแท้ง

  • มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ปวดท้องติดต่อกันหลายวัน หรือปวดอย่างรุนแรง เพราะอาจเป็นสัญญาณของ อาการแท้ง
  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ท้องไม่โตขึ้นหรือมีขนาดเล็กลง ทั้ง ๆ ที่อายุครรภ์มากขึ้น
  • รู้สึกถึงการบีบตัวของมดลูกบ่อยมากขึ้น
  • อาการต่าง ๆ หายไปอย่างฉับพลัน เช่น ไม่แพ้ท้อง ทั้งที่เคยแพ้ท้อง หรืออาเจียนคลื่นไส้อย่างหนัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินกระชายได้ไหม ? กินแล้วทำให้แท้งลูกได้จริงหรือไม่ ?

 

อันตรายที่เกิดกับผู้ทำแท้ง

1. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดทันที

เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นขณะทำแท้ง หรือเกิดภายใน 3 ชั่วโมงหลังทำแท้ง มีการตกเลือด มดลูกทะลุ ปากมดลูกฉีกขาด อันตรายจากยาชา และยาสลบ ภาวะเลือดไม่แข็งตัว ทำให้ตกเลือดมาก ภาวะโซเดียมคั่งในเลือด ภาวะเป็นพิษจากสารน้ำ และหลอดเลือดอุดตันจากฟองอากาศ อุดตันจากลิ่มเลือด หรืออุดตันจากน้ำคร่ำ อาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

 

2. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดล่าช้า

เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นหลังการทำแท้ง 3 ชั่วโมงไปจนถึง 28 วัน ได้แก่ ภาวะแท้งไม่ครบหรือแท้งค้าง และการอักเสบติดเชื้อ ทั้งสองภาวะนี้ เป็นอาการสำคัญที่นำผู้ทำแท้งเถื่อน ต้องเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ซึ่งการอักเสบติดเชื้อนั้นพบเกือบทุกราย รายที่อักเสบรุนแรงอาจจะถูกตัดมดลูกทิ้ง แม้ผู้ป่วยจะยังอายุเพียง 15-16 ปีก็ตาม รายที่รุนแรงกว่านั้นอาจจะเสียชีวิตก่อนตัดมดลูก หรือแม้แต่ตัดมดลูกออกแล้ว ก็ช่วยชีวิตไม่ได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในระยะหลัง

เป็นอันตรายที่เกิดหลังการทำแท้ง 28 วันไปแล้ว ได้แก่ การอักเสบเรื้อรังในอุ้งเชิงกราน ปวดประจำเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือบางรายปวดมากจนไม่สามารถมีได้ บางรายเป็นหมันเพราะโพรงมดลูกติดกันจนตัน หรือเป็นหมันเพราะท่อนำไข่อุดตันจากการอักเสบ และผลของการอักเสบของท่อนำไข่อาจทำให้มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ นอกจากนี้ยังพบอุบัติการณ์ของการแท้งซ้ำในครรภ์หลัง ๆ ค่อนข้างบ่อย

 

การแท้งสามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งส่วนใหญ่ มักเกิดในช่วงอายุครรภ์ 4-20 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ที่แท้งสามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้งทันที แต่ควรมีการเตรียมตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงควรเข้ารับคำปรึกษาเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากผู้ที่มีประวัติการแท้ง มักพบว่ามีความเสี่ยงมากกว่าปกติ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

11 สิ่งที่แม่ท้องต้องรู้ น้ำหนักตอนท้อง แท้งคุกคาม วิธีเร่งคลอด โดยคุณหมอสูติ

วิธีรับมือกับการแท้ง ทำอย่างไรให้คุณแม่ข้ามผ่านความสูญเสียนี้ไปได้

ยุติการตั้งครรภ์ หรือ การทำแท้งลูกอย่างถูกกฎหมาย

ที่มา : mgronline.com, trueplookpanya.com

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn