ยายป้อนน้ำส้มคั้นให้หลานทารก ตกดึกแหวะนมต้องแอดมิท อันตรายที่ต้องระวัง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เชื่อหรือไม่คะ ? ว่าการเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่ช่วงแบเบาะ เป็นอาหารหลักสำคัญสำหรับลูก ที่ไม่ควรมีสารอาหารอื่นมาแทรก เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดเคสแบบนี้ได้ ที่เด็กน้อยวัยเดือนเศษ ลำไส้อักเสบติดเชื้อรุนแรง โดยเหตุที่เกิดมาจาก ยายป้อนน้ำส้มคั้นให้หลานทารก

 

 

โดยเรื่องนี้นับเป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ ที่อยากฝากถึงคนเลี้ยงลูกเล็กจริง ๆ ค่ะ การที่ฝากให้คนอื่นเลี้ยงอาจจะเกิดเรื่องที่อันตรายได้ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องระวังด้วยตัวเองมากกว่าปกติ เพราะเมื่อเกิดเหตุ ยายป้อนน้ำส้มคั้นให้หลานทารก จนทำให้หลานวัยเดือนเศษต้องแอดมิทที่โรงพยาบาล เป็นเวลานานกว่า 10 วัน เนื่องจากอาการ ลำไส้อักเสบติดเชื้อรุนแรง

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่คลอดลูกน้อยออกมา ไม่เคยต้องป่วยหรือมีปัญหาใด แต่กลับต้องแอดมิทนาน 10 วัน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน ๆ มาตลอด ที่สำคัญตั้งแต่แรกเกิดไม่เคยมีปัญหาเรื่องท้องอืด เรอ แหวะนมเลย แต่วันหนึ่งที่เธอทำงานบ้านอยู่ ฝากให้ยายดูลูกให้ แล้วยายแอบป้อนน้ำเปล่าและน้ำส้ม พอตกกลางคืน ลูกทั้งอาเจียน แหวะนม และถ่ายท้อง จนต้องพาไปโรงพยาบาลกลางดึก ผลคือลำไส้อักเสบติดเชื้อรุนแรง ต้องแอดมิทถึง 10 วัน…

 

ทั้งนี้ แพทย์แจ้งว่าถ้าไปโรงพยาบาลช้าอีกนิดเดียว น้องมีโอกาสลำไส้แตกสูงมาก หลังจากออกจาก รพ.กลับมาอยู่บ้านได้ 3 วัน ลูกมีอาการแหวะนม ท้องอืด ไม่ผายลม ไม่ถ่าย ต้องสวนก้นให้ถ่ายและลมระบายออกมาตลอด และต้องกลับเข้าแอดมิทอีกรอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

น้ำส้มคั้น อันตรายต่อเด็ก

เชื่อว่าหลายครอบครัว อาจจะเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่บอกว่า “ลูกท้องผูกเหรอ ให้ดื่มน้ำส้มสิ ดื่มได้!!” เมื่อลูกน้อยมีอาการอึน้อย หรืออึไม่ออกนานหลายวัน จนทำให้หลายครอบครัวสับสน เพราะในทางเดียวกันอาจจะเคยได้ยินข่าว เด็กลำไส้ทะลุเพราะกินกล้วยและน้ำส้ม

 

ชุดความคิดที่ว่าให้ทารกดื่มน้ำส้มนี้ เป็นเรื่องที่ผิดมากค่ะ เพราะโดยปกติแล้ว เด็กที่ดื่มนมแม่ในช่วง 1-3 เดือนแรก จะอึห่างกันทุก 3-7 วัน เป็นปกติค่ะ ถ้าหากลูกยังสามารถดื่มนมได้ อารมณ์ดี น้ำหนักเป็นปกติ นับว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วง ยังไม่จำเป็นต้องทานน้ำส้ม เพื่อให้ร่างกายช่วยถ่ายท้องในช่วงนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทารกจำเป็นต้องดื่มน้ำส้มไหม ?

ความจริงแล้ว น้ำส้มไม่จำเป็นต่อสุขภาพของทารกค่ะ เนื่องจากส้มเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีกรดซิตริกที่เด็กบางคนอาจแพ้ได้ อีกทั้งยังมีน้ำตาลที่เกินจำเป็น ที่อาจทำให้ลูกเป็นเด็กติดหวานได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลนี้อ้างอิงจากสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐบอกว่า น้ำส้มหรือน้ำผลไม้ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร ที่จำเป็นต่อเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะในเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ควรกินนมเพียงอย่างเดียว ส่วน 6 เดือนขึ้นไปอาหารเสริมอื่น ๆ จะมีประโยชน์มากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก ลูกอุจจาระแข็ง อุจจาระไม่ออก ทําไงดี วิธีแก้ เด็กท้องผูก

 

สาเหตุที่ห้ามดื่มน้ำส้มก่อน 1 ปี

  • น้ำนมแม่มีสารอาหารเพียงพออยู่แล้ว สำหรับเด็ก 6 เดือนแรกจึงไม่ควรกินอาหารใด ๆ
  • ร่างกายเด็กยังไม่พร้อม ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในช่วง 6 เดือนแรกยังไม่พร้อมย่อยอะไรนอกจากนมแม่
  • น้ำส้มไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่มีประโยชน์ต่อเด็กทารก

 

 

ปริมาณน้ำส้มที่เด็กแต่ละวัยควรดื่ม

อย่างที่บอกว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบไม่ควรดื่ม แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่อายุเกิน จะดื่มเท่าไหร่ก็ได้นะคะ โดยมีคำแนะนำในการดื่มน้ำส้ม รวมไปถึงน้ำผลไม้อื่น ๆ ในเด็กดังนี้

  • 0-1 ขวบ ไม่ควรดื่ม
  • 1-3 ขวบ ไม่ควรเกิน 120 ml./ วัน
  • 4-6 ขวบ ไม่ควรดื่มเกิน 180 ml./ วัน
  • 7 ขึ้นไป ไม่ควรเกิน 240 ml./ วัน

 

ทารกท้องผูก คุณแม่ควรทำอย่างไร

ทารกท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพของทารกที่คุณแม่ควรใส่ใจและสังเกตเป็นพิเศษ เพราะไม่เหมือนกับอาการทั่วไปที่ทารกจะแสดงพฤติกรรมเพื่อส่งสัญญาณให้รู้อย่างชัดเจน ที่สำคัญพ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายท้องผูกและกลับมาถ่ายได้ตามปกติ หากสงสัยว่าลูกท้องผูก ควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมกับลักษณะอุจจาระว่าแข็งหรือมีเลือดปนออกมาด้วยหรือไม่

 

ทารกท้องผูกมีอาการอย่างไร ?

ทารกแต่ละคนมีความถี่ในการขับถ่ายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาหารที่ทานเข้าไป พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย อาการที่อาจแสดงว่าทารกท้องผูก มีดังนี้

  1. ไม่ค่อยถ่าย : ความถี่ในการขับถ่ายแต่ละวันไม่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงที่เพิ่งหัดกินอาหารใหม่ ๆ หากสังเกตว่าไม่ได้ขับถ่ายติดต่อกัน นานกว่า 2-3 วัน อาจเป็นสัญญาณของอาการท้องผูกได้
  2. ต้องออกแรงเบ่ง : พ่อแม่ควรสังเกตว่าเด็กต้องออกแรงเบ่งมากกว่าปกติหรือรู้สึกหงุดหงิดและร้องไห้เวลาขับถ่ายหรือไม่
  3. มีเลือดปน : ทารกที่ท้องผูก อาจมีเลือดปนได้ เนื่องจากผนังทวารหนักฉีกขาด จากการออกแรงเบ่ง
  4. ไม่กินอาหาร : ลูกจะไม่กินอาหารและอิ่มเร็ว เนื่องจากอึดอัดและไม่สบายท้อง จากการไม่ได้ขับถ่าย
  5. ท้องแข็ง : ลักษณะท้องทารกจะตึง แน่น หรือแข็ง ซึ่งเป็นอาการท้องอืด ที่เกิดขึ้นร่วมกับการท้องผูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เรื่องน่าเศร้าสำหรับคนเป็นแม่ นั่นก็คือการที่คนอื่น ป้อนอาหารที่ไม่ใช่นมให้กับทารก ในช่วงที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน หรือ 1 ปีนั้น เป็นเรื่องที่ชวนปวดใจจริง ๆ ค่ะ เพราะความไม่เชื่อและความไม่เข้าใจในข้อมูลสมัยใหม่ ที่อาจจะเป็นปัญหาในการขัดแย้งของครอบครัวได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องรับมือหนักหน่อย กับการที่ต้องคอยจับตาดูเรื่องอาหาร ที่อาจจะมีคนป้อนด้วยความหวังดี แต่อาจจะเป็นอันตรายของลูกน้อยเราได้ค่ะ อย่าให้มีเด็กน้อยต้องจากไปเพราะความไม่รู้ในการเลี้ยงดูอีกเลย

 

แต่ทั้งนี้ น้ำส้มหรือน้ำผลไม้อื่น ก็ไม่ใช่ข้อเสียไปทั้งหมดค่ะ เพราะการดื่มเข้าไปก็มีประโยชน์ในตัวมัน เพียงแต่ต้องดูช่วงอายุ และความสะอาดเป็นหลัก แต่ถ้าจะให้ดีควรเป็นผักหรือผลไม้จริง ๆ มากกว่า เพื่อสุขภาพของตัวเด็กเองค่ะ แต่ถ้าหากไปหาคุณหมอ แล้วได้รับคำแนะนำให้ดื่ม นั่นเป็นอีกเรื่องนึงนะคะ เพราะอย่างไรก็ตาม คำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วค่ะ

 

ที่สำคัญเมื่อเด็กโตขึ้น หากต้องการให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารอื่น ที่นอกเหนือไปจากนมแม่หรือนมชง ด้วยการดื่มน้ำผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่คั้นเองจะดีที่สุดค่ะ เพียงแต่ว่าอาจจะต้องไม่ปรุงน้ำตาลมากเกินไป และไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง เพราะกรดผลไม้อาจระคายเคืองทางเดินอาหาร นอกจากนั้นเมื่อก่อนมื้ออาหาร ไม่ควรให้เด็กดื่มมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกอิ่มและไม่ยอมทานข้าว

 

การรักลูกที่ดีที่เหมาะสม อาจจะต้องเริ่มจากการดูแลสุขภาพ และโภชนาการตั้งแต่เล็ก เพื่อประโยชน์ที่ควรได้ต่อร่างกาย เป็นผลพวงที่ทำให้ลูกเติบโตได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

น้ำส้มคั้นสด คุณแม่ท้องครรภ์รับประทานได้ไหม ดีต่อสุขภาพหรือไม่

ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก ลูกอุจจาระแข็ง อุจจาระไม่ออก ทําไงดี วิธีแก้ เด็กท้องผูก

ที่มา : pobpad.com , parentsone.com , เพจ สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn