หามนักเรียน ร.ด. ส่งโรงพยาบาล 17 คน พบปัสสาวะสีเข้ม ต้องฟอกไต หลังฝึกโหด !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โพสต์ข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ซารีมัน มะยูโซะ โพสต์ว่า “เรียน รด.ปี1 นราธิวาส ฝึกจนเด็กเข้า รพ.หลายคน คุ้มมั้ย ตัวชี้วัดคุณไม่ผ่านนะ แบบนี้ สาเหตุเกิดขึ้นได้จากการขาดน้ำอย่างรุนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย ….ปัสสาวะสีน้ำน้ำตาล เข้มร้ายแรงขณะไหน ..พี่เลี้ยง ประจำ โรงเรียน ปิดสายรับโทรศัพท์” จากโพสต์ดังกล่าวมีคนให้ความสนใจมากมาย เนื่องจากต้อง หามนักเรียน ร.ด. ส่งโรงพยาบาล มากถึง 17 คน และ 6 คนในนี้ต้องได้รับการฟอกไต

 

 

คลิกดูโพสต์ต้นฉบับ

 

นักเรียน ร.ด. ฝึกหนักจนร่างกายขาดน้ำ

นักเรียนที่เข้ารับการฝึก ร.ด. ชั้นปีที่ 1 ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำนวน 17 คน และในจำนวนนี้ มี 6 คน ที่ต้องเข้ารับการฟอกไต โดยคุณหมอระบุสาเหตุว่า เกิดจากการฝึกหนักโดยที่ร่างกายไม่พร้อม บวกกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมไปถึงร่างกายขาดน้ำ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย ปัสสาวะสีเข้ม ไตวายเฉียบพลันนั่นเองค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลาประมาณ 14.00 น. พล.ต.ทวีพูล ริมสาคาร รอง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน รับมอบหมายจาก พล.ท.วสุ เจียมสุข ผบช.นรด. เดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามเยี่ยมอาการและมอบกระเช้า ปลอบขวัญและให้กำลังใจแก่นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ที่มีอาการไตวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อลายสลาย จากการฝึกวิชาทหาร ณ ศูนย์ฝึกย่อยวิชาทหารที่โรงเรียนนราธิวาส โดยทยอยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมารวม 18 ราย นอกจากมีอาการไตวายเฉียบพลันแล้ว ยังติดเชื้อโควิด 19 ทางโรงพยาบาลต้องแยกตัวไปรักษายังห้องปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจเยี่ยมพบว่าวันนี้การติดเชื้อโควิด 19 หายสู่สภาวะปกติ ทางโรงพยาบาลได้แยกตัวออกมารักษายังอาคารผู้ป่วยปกติแล้ว แต่ยังอยู่ในจำนวนเกณฑ์ที่ค่าไตยังสูง ยังคงต้องทำการฟอกไต หรือล้างไต ทุก ๆ 4 ชั่วโมง เหมือนเพื่อนนักศึกษาอีก 6 คน ที่อาการอยู่ในขั้นตอนล้างไต ส่วนรายอื่น ๆ ที่เหลือปัสสาวะมีสีจางลง และมีอาการดีขึ้นตามลำดับ

 

พล.ต.ทวีพูล ริมสาคาร ยังกล่าวอีกว่า ทางด้านผู้บัญชาการทหารบกและท่านผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน จะรับผิดชอบส่วนต่างทั้งหมดจากรักษาครั้งนี้ ในส่วนของครูฝึกได้ถูกสั่งย้ายไม่ให้ทำหน้าที่ตรงนี้แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฮีทสโตรก (Heatstroke) วิธีการรับมือ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงอย่างเฉียบพลัน

 

ทำความรู้จัก ภาวะกล้ามเนื้อสลาย

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง อาจถึงแก่ชีวิตหรือส่งผลให้เกิดความพิการถาวร โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อที่เสียหายปล่อยโปรตีนและอิเล็กโทรไลต์เข้าสู่กระแสเลือด สารเหล่านี้สามารถทำลายหัวใจและไต และทำให้พิการอย่างถาวรหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อสลาย

ภาวะกล้ามเนื้อสลาย เกิดจากการออกแรงทางกายภาพหรือการใช้งานร่างกายหนักเกินไป และจากการบาดเจ็บโดยตรง (เช่น การบาดเจ็บจากการล้ม) เพราะฉะนั้นการรักษาแต่เนิ่น ๆ สามารถป้องกันปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง และเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและกลับไปทำงานได้โดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของภาวะกล้ามเนื้อสลาย

สำหรับบางคน อาการอาจยังไม่แสดง จนกว่าจะผ่านไปหลายวันหลังจากวันที่ได้รับบาดเจ็บ หากคุณมีอาการเหล่านี้ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม อย่าเพิกเฉย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 

 

การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อสลาย

หากจำเป็นจะต้องทำงาน หรือออกกำลังกายกลางแดดจัดควรป้องกันตัวเองดังนี้ค่ะ

  • ให้พักในที่ร่มเป็นระยะ ๆ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรจิบน้ำเรื่อย ๆ
  • ปรับตัวให้ชินกับระดับความร้อนก่อนทำงานเป็นเวลานาน
  • วอร์มร่างกายก่อนเสมอ
  • ดื่มผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่น้ำตาลต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เมื่อทำงานหรือออกกำลังกายที่อากาศร้อนจัด

 

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อสลาย

เข้ารับการรักษาทันทีที่คุณสงสัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อสลาย หากได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อสลาย ส่วนใหญ่จะกลับไปทำงานได้ภายในเวลาไม่กี่วันโดยไม่มีผลกระทบใด ๆ ตัวเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยสามารถระบุได้ว่าอาการรุนแรงเพียงใดโดยการตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (หรือที่เรียกว่า EKG) เป็นต้น

 

กรณีที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ดื่มน้ำเปล่า
  • ออกจากที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  • พักผ่อน

 

กรณีปานกลางถึงรุนแรง

  • อาจต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (IV) และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (IV) จะช่วยชะล้างโปรตีนของกล้ามเนื้อและอิเล็กโทรไลต์ สามารถป้องกันจังหวะการเต้นของหัวใจที่เป็นอันตรายและการสูญเสียการทำงานของไต
  • ลดการทำงานของไต
  • ลดอาการชัก
  • เช็กความดันช่องที่เพิ่มขึ้น
  • เช็กระดับโพแทสเซียม

 

หากใครที่จะต้องไปทำงานกลางแจ้งนาน ๆ หรือชอบออกกำลังกายหนัก ๆ ก็อย่าลืมป้องกันตัวเองกันด้วยนะคะ พักในที่ร่มเป็นระยะ จิบน้ำบ่อย ๆ ก็ช่วยได้ และอย่าลืมวอร์มร่างกายก่อนทุกครั้ง หากพบว่ามีอาการตามข้อมูลด้านบน ให้รีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที หรือหากมีคนใกล้ชิด คนในครอบครัวต้องไปฝึกหนักแบบนี้ก็อย่าลืมบอกต่อข้อมูลการดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ครูโหดทำโทษหนัก ใช้ดาบกระบี่กระบองตีเด็กจนไม้หัก ทำเด็กนั่งเรียนไม่ได้

เตือนภัย!! เด็กนักเรียนกำลังข้ามทางม้าลาย แต่มอเตอร์ไซค์ชนกระเด็น ทั้งที่ครูยกธงหยุดรถ

โรงเรียนสารสาสน์ฯ ยุติการไกล่เกลี่ย ศาลสั่งชดใช้ 1.1 แสนบาท

ที่มา : www.dailynews.co.th, www.cdc.gov

บทความโดย

Kanjana Thammachai