โรคติดต่อ RSV ไม่ใช่แค่หวัด! เชื้ออยู่ในอากาศนาน เด็กเล็กเสี่ยงป่วยหนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียกได้ว่า โรคติดต่อ RSV เป็นอีกหนึ่งโรคในเด็กเล็กที่น่าห่วงเลยค่ะ เพราะเป็นอีกหนึ่งอาการที่ยังคงมีการติดเชื้อทุกปี และเด็กที่เคยป่วยไปแล้วก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกในทุก ๆ ปี แถมในปัจจุบันการใช้วัคซีนกับโรคนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่ายอีกด้วย ซึ่งล่าสุดทางกรมควบคุมโรค ก็ได้ออกมาประกาศเตือนถึงประเด็นที่ว่า เชื้อไวรัส RSV สามารถอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยจะสูงขึ้น หากสังเกตว่าเด็กมีอาการผิดปกติ ควรให้หยุดเรียนทันที

 

โรคติดต่อ RSV ระบาดหนัก! พบผู้ป่วยสะสม 1,226 ราย เสียชีวิต 3 ราย

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยถึงข้อมูลจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ เชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 จนถึง วันที่ 8 มิถุนายน 2567 พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส RSV ผอายุระหว่าง 9 วัน ถึง 87 ปี จำนวน 1,226 ราย จากผู้ป่วยทางเดินหายใจทั้งหมด 19,179 ราย

ซึ่งพบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็ก ที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ถึง 573 ราย รองลงมาคือ อายุ 2-5 ปี 472 ราย และ อายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 181 ราย ในขณะเดียวกันพบผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อ RSV 28 ราย  เป็นผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอย่างไรก็ตามน่าเศร้าที่พบผู้เสียชีวิต 3 ราย โดย ผู้เสียชีวิตอายุน้อยสุด 1 ปี 8 เดือน และสูงสุด 86 ปี

ข้อมูลนี้ แสดงให้เห็นว่า RSV เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังก็มีความเสี่ยงต่อโรคนี้เช่นกัน

โดย นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้อธิบาย ดังนี้

“ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคฯ ของกองระบาดวิทยา พบว่าเชื้อ RSV มักจะเป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในเด็กและผู้สูงอายุ หากดูลักษณะทางระบาดวิทยาในช่วงปีที่ผ่าน ๆ มา จะพบโรคติดเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับฤดูกาลระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้อาการ และการติดต่อมีความคล้ายกัน จึงคาดว่าจะเริ่มมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มสูงมากขึ้น ในช่วงระยะนี้เป็นต้นไป ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากไวรัสจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกาย ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ และเชื้อยังแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม เช่นเดียวกับโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ซึ่งเรื่องนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้ออกมาชี้แจงถึง โรคติดต่อ RSV ในเด็ก ในปี 2565 แล้ว ด้วยการโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวYong Poovorawanพูดถึงประเด็น RSV ในเด็กเล็กที่มีการติดเชื้อสูงขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการภูมิต้านทานที่ได้รับจากมารดาจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วใน 6 เดือน โดยได้ระบุข้อความว่า

 

“RSV ในเด็กไทยมีอุบัติการณ์การติดเชื้อที่สูงเป็นแล้วเป็นซ้ำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

งานวิจัย RSV ของศูนย์ ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร International Journal of Infectious Disease จะเห็นได้ว่า ภูมิต้านทานส่งต่อจากมารดาและจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 6 เดือน หลังจากนั้นก็จะมีการติดเชื้อขึ้นเป็นจำนวนมากในปีแรก และปีต่อ ๆ มา หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อโตถึงอายุ 4 ขวบ เกือบทุกคนเคยติดเชื้อ RSV และมีบางคนมีการติดเชื้อซ้ำ หรือซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กอาการไวรัส RSV โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

 

การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาว ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ขวบ มีการตรวจหาภูมิต่อเชื้อ RSV โดยเห็นว่าภูมิจากมารดาจะส่งมาปกป้องลูกน้อยได้ในระยะเวลาค่อนข้างสั้น และเมื่อภูมิลดลง หรือหมดไป เด็กก็จะเริ่มมีการติดเชื้อจึงไม่แปลก การติดเชื้อเห็นได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก และจะสูงขึ้นหลัง 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อปีนี้แล้ว ปีหน้าก็อาจจะมีการติดเชื้อได้อีก และโดยทั่วไปการติดเชื้อในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากกว่าเด็กโต 

และเมื่ออายุเกิน 3 ขวบไปแล้ว การติดเชื้อ RSV ส่วนใหญ่อาการจะไม่มากแล้ว และเมื่อเกิน 5 ขวบ ก็ยังมีการติดเชื้อได้ แม้กระทั่งในผู้ใหญ่ จะไปสร้างปัญหาอีกครั้งหนึ่งในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ และก็เช่นเดียวกับโควิด-19

ขณะเดียวกัน การศึกษาระยะยาวในกลุ่มประชากรเด็ก ใช้เวลาทำการศึกษามากกว่า 5 ปี ได้เห็นข้อมูลของเด็กไทยชัดเจน โดยเฉพาะระดับการตรวจพบภูมิต้านทาน และการตรวจ พบว่ามีการเป็นซ้ำ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตในกรณีที่มีวัคซีนในการป้องกัน ก็ควรจะให้ก่อน 6 เดือนแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การศึกษาที่กำลังทำอยู่ ดูสายพันธุ์ของไวรัสที่มีการติดเชื้อซ้ำ พบว่าถึงแม้จะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกัน RSV-A หรือ RSV-B ก็ยังสามารถเป็นซ้ำได้ แม้กระทั่งสายพันธุ์ย่อยเดียวกันเช่น ON1 ติดแล้วก็ยังเป็นซ้ำได้อีก รายละเอียดการศึกษาโครงจะมีการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ทำมีความสำคัญมากเป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของการที่จะนำวัคซีนมาใช้ จึงไม่เป็นเรื่องง่ายในการป้องกันการติดเชื้อ RSV”

 

กลุ่มเสี่ยงต่อ RSV มากที่สุด

  • อายุน้อย มีอายุ ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ลงไป
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่อายุตอนคลอดต่ำกว่าเกณฑ์
  • มีอาการผิดปกติในปอดตั้งแต่เกิด
  • เด็กที่เกิดมาพร้อมโรคหัวใจ บางประเภท
  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เด็กที่มีอาการแพ้อาหารชนิดต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นคัน ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่มองข้าม แต่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้พัฒนาการลูกสะดุด!

 

เช็กอาการไวรัส RSV

  • ในช่วง 2-4 วันแรก มักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล
  • เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้น ส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบตามมา ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ และโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ
  • ในบางรายเกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอมาก ๆ

 

 

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

จำเป็นต้องโทรหาแพทย์ทันทีหรือขอรับการรักษาฉุกเฉินหากทารกมีอาการหายใจลำบาก เช่น

  • ความเหนื่อยล้า
  • หายใจเร็ว
  • ผนังหน้าอกดึงเข้าเมื่อหายใจออก
  • สีฟ้ารอบริมฝีปากหรือเล็บ

เหตุผลอื่น ๆ ที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่ หากทารก

  • กินหรือดื่มไม่เพียงพอ
  • กำลังอ่อนแรงหรือไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเดิม
  • มีอาการหวัดรุนแรงหรือแย่ลงแทนที่จะดีขึ้น
  • มีอาการไอไม่หาย
  • การป้องกัน
  • RSV เป็นโรคติดต่อได้สูง หมายความว่ามันแพร่กระจายระหว่างผู้คนได้ง่ายมาก

มาตรการที่ตรงไปตรงมาบางอย่างสามารถช่วยให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการติดโรคหรือแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้ บางส่วนของมาตรการเหล่านี้รวมถึง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่อาจจะป่วย การติดต่อรวมถึงการจูบ การกอด และการจับมือ
  • หลีกเลี่ยงการแบ่งปันสิ่งของที่ปนเปื้อนกับผู้อื่น ถ้วย ขวด และของเล่นล้วนเป็นพาหะของไวรัส ซึ่งสามารถอยู่รอดได้หลายชั่วโมง
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก หรือจมูก

 

 

การป้องกัน โรคติดต่อ RSV

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค RSV หรือยาที่สามารถป้องกัน RSV ได้อย่าง 100% เราจึงควรป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

  • ทุกคนในบ้านควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทั้งมือตนเองและลูกน้อย เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV แล้ว ยังสามารถลดเชื้ออื่น ๆ ที่ติดมากับมือ ของลูกและทุกคนในบ้านได้ทุกชนิด ทั้งเชื้อไวรัส และ แบคทีเรียได้ถึงร้อยละ 70
  • ควรใช้แอลกอฮอล์เจลในการล้างมือจะช่วยป้องกันโรคได้
  • หลีกเลี่ยงให้เด็กไม่ว่าจะสบายดี หรือ ป่วย ไปในชุมชนที่อึดอัด
  • ควรรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา
  • สำหรับคุณพ่อ และ คุณแม่ หากมีลูกที่ป่วยควรจะคัดแยกเด็กป่วยกับเด็กปกติออกจากกัน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ

 

เพราะโรค RSV ยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันได้อย่าง 100% โดยวิธีที่จะช่วยป้องกันได้ดีที่สุดคือการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกัน และนอกจากการป้องกันเด็กแล้วนั้น ก็อยากให้ระวังในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน เพราะโรค RSV ก็สามารถติดต่อได้ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเช่นกัน

 

ที่มา : khaosod, tnnthailand

Facebook: Yong Poovorawan

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรค RSV และ โรคมือเท้าปากในเด็ก โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

RSV ในเด็กเล็ก พร้อมการเยียวยาด้วยวิธีธรรมชาติขั้นพื้นฐาน ทำได้ที่บ้าน

เช็คRSV อาการ เป็นอย่างไร ต่างกับหวัดอย่างไร? มาดูไปพร้อมกันนะคะ

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn