วัคซีนเด็ก 2568 วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก แม่พาลูกไปฉีดครบหรือยัง?
อัพเดทวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเด็ก 2568 ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในเด็ก มีวัคซีนอะไรบ้าง ที่ต้องฉีดให้ครบ
โรคติดเชื้อในเด็กที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีหลากหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคก็มีความรุนแรงและผลกระทบที่แตกต่างกันไป การให้วัคซีนแก่ลูกน้อยจึงเป็นการป้องกันที่สำคัญมากค่ะ เราจึงอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาอัพเดทวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเด็ก 2568 ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีวัคซีนอะไรบ้าง
โรคติดเชื้อในเด็กที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ปัจจุบันเด็กไทยทุกคนสามารถเข้าถึงวัคซีนพื้นฐานฟรี เพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายแรงกว่าสิบชนิด ได้แก่
- โรควัณโรค โดยทั่วไปจะติดเชื้อที่ปอด แต่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น กระดูก ข้อต่อ และสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรควัณโรคอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- โรคหัด, หัดเยอรมัน, คางทูม มักจะแพร่ระบาดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม สมองอักเสบ หรือหูหนวก
- โรคโปลิโอ: โรคโปลิโอทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอาจทำให้เป็นอัมพาตได้
- โรคคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก มักจะพบในเด็กเล็ก และอาจทำให้หายใจลำบาก เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หรือเสียชีวิตได้
- โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถทำลายตับ และอาจนำไปสู่โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้
- โรคไข้สมองอักเสบ มักจะพบในเด็กเล็ก และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
- โรคฮิบ Haemophilus influenzae type b (Hib) โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลากหลายอวัยวะ เช่น ปอด สมอง หรือข้อต่อ
วัคซีนเด็ก 2568 วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก ตามช่วงอายุ
เปิดสมุดวัคซีนเช็กเลย! กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี แม่พาลูกน้อยไปฉีดครบหรือยัง?
ช่วงอายุที่ควรรับวัคซีน | ชนิดวัคซีน |
วัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด | HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังค |
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล) | |
วัคซีนเด็ก อายุ 1 เดือน | HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี) |
วัคซีนเด็ก อายุ 2 เดือน | DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์) | |
วัคซีนเด็ก อายุ 4 เดือน | DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
|
|
Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์) | |
วัคซีนเด็ก อายุ 6 เดือน | DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ |
OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
Rota3 วัคซีนโรต้า | |
วัคซีนเด็ก อายุ 9 เดือน |
MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)
|
วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 1 ปี | LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ |
วัคซีนเด็ก อายุ 1 ปี 6 เดือน | DTP4 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน |
OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน | |
วัคซีนเด็ก อายุ 2 ปี 6 เดือน | LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ |
วัคซีนเด็ก อายุ 4 ปี | DTP5 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน |
OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 1
(ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน) |
MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน |
HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี | |
LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ | |
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด | |
dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก | |
OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน | |
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค | |
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 5
(เฉพาะผู้หญิง) |
HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี (ระยะห่างระหว่างเข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน)
|
วัคซีนเด็ก ประถมศึกษาปีที่ 6 | dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก |
6 วัคซีนเสริมสำหรับเด็กเล็ก วัคซีนเด็ก 2568
1. วัคซีนไอพีดี
โรคติดเชื้อไอพีดีสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบรุนแรง ไปจนถึงทำให้พิการและเสียชีวิตได้ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อชนิดนี้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
- วัคซีนไอพีดีมี 3 ชนิดได้แก่ ชนิด 10, 13 และ 15 สายพันธุ์
- หากเริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 2 เดือน ไม่ว่าจะเป็น ชนิด 10, 13 หรือ15 สายพันธุ์ ให้ 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้งที่อายุ 12 – 15 เดือน หรือห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน (รวมฉีดทั้งหมด 4 ครั้ง)
2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะแพร่กระจายผ่านละอองน้ำลายเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย ทำให้คนรอบข้างได้รับเชื้อไปได้ง่าย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นโรคนี้ได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- เด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก ควรได้รับ 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน
- เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทุกปี จึงควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ในช่วงก่อนที่มีการระบาด เช่น ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม
3. วัคซีนอีวี71 (มือเท้าปาก)
โรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้ออีวี 71 อาจทำให้เด็กป่วยหนัก มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปากเปื่อย ผื่นขึ้นที่มือ เท้า และก้น รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ส่งผลต่อระบบประสาทและหัวใจได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างในการฉีดแต่ละเข็มประมาณ 1 เดือน
- ช่วยลดโอกาสที่เด็กจะติดเชื้ออีวี 71 ได้ถึง 89.7%
- ลดโอกาสที่เด็กจะป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 88%
4. วัคซีนอีสุกอีใส
โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน อาการเด่นชัดคือ มีไข้ ปวดเมื่อย มีตุ่มใสๆ ขึ้นทั่วตัว มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหลุดหมดภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์
แม้ว่าโดยทั่วไปโรคอีสุกอีใสจะไม่รุนแรงมาก แต่ในบางกลุ่มบุคคล เช่น ทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ปอดอักเสบ หรือสมองอักเสบ
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ฉีดวัคซีน 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 2 ขณะอายุ 4-6 ปี หรือห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
5. วัคซีนตับอักเสบเอ
เด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ผื่นคัน ตาเหลือง ตัวเหลือง อุจจาระสีจาง ปัสสาวะสีเข้ม หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ตับอักเสบเอในเด็กอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นตับวาย และเสียชีวิต
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป
- ฉีด 2 ครั้ง ห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน
6. วัคซีนไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกในเด็ก บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน สิ่งที่ต้องระวังคือ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะวิกฤติของโรค ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากไข้สูงต่อเนื่องนาน 3-7 วัน หากไม่รีบนำส่งโรงพยาบาล อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป
- ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือนโดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด
- ฉีดได้ทั้งคนที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน
- ป้องกันไข้เลือดออกจากทุกสายพันธุ์ ได้สูงถึง 80.2%
- ป้องกันไข้เลือดออกแบบรุนแรง 85.9%
- ป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้สูงถึง 90.4%
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปรับ วัคซีนเด็ก 2568 ตามวัยที่กำหนด ทั้งวัคซีนพื้นฐานและวัคซีนเสริม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับวัคซีนครบถ้วนและเสริมสร้างภูมิต้านทานในการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดค่ะ
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , โรงพยาบาลนครธน , โรงพยาบาลเปาโล , โรงพยาบาลแพทย์รังสิต , โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ประกันสุขภาพเด็กแรกเกิด สำคัญยังไง? เลือกแบบไหนให้เหมาะกับลูกน้อย
สรุป 10 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ “ไอกรน” สัญญาณเตือน ไอกรนในเด็ก และ วัคซีน
13 วิตามินเด็ก กินง่ายเด็กชอบ อร่อย สุขภาพดี