ในหมู่วัยรุ่น สิว ยังถือว่าเป็นปัญหาหลัก และสามารถเกิดสำหรับทุกคน ในขั้นแรกนั้น ทุกคน ควรจะเริ่มจาก การรักษาสิว ด้วยตนเอง เพราะหลายคนจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เดี๋ยวมันจะหาย และหมดไปเอง แต่สำหรับบางคนแล้ว อาจจะมีอาการหนัก และรุนแรงกว่าคนทั่วไป อาจถึงขั้นต้องพบแพทย์ก็มี ในปัจจุบันคลินิกหรือสถาบันความงามได้มีจำนวนมากขึ้น ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของการรักษาสิวได้
การรักษา อาจจะเริ่มต้นด้วยการซื้อยามาทาเอง บางคนก็อาจจะหายได้เลย แต่บางคนก็อาจพบผลข้างเคียง อย่างเช่น อาการหายใจไม่ออก หน้าบวม ตาบวม มีอาการแพ้รุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ ให้หยุดใช้ยาแล้วรีบพบไปพบแพทย์ในทันที เช่นเดียวกัน หากรักษาด้วยตนเอง แล้วอาการสิวยังไม่หาย หรือสิวมีอาการอักเสบรุนแรงขึ้น ต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อสอบถามระดับความรุนแรง และประเภทของสิว ว่าต้องรักษายังไง อาจจะรวมไปถึงแผลเป็น ริ้วรอยจากการเกิดสิว จะช่วยให้เรารักษาได้ทันท่วงทีก่อนจะบานปลายจนเสียโฉม
บทความที่เกี่ยวข้อง : สิวเกิดจากอะไร ปัญหากวนใจระดับชาติ สิวมีกี่ชนิด ?
วิดีโอจาก : DrKengw หมอเก่ง หมอผิวหนัง
รักษาด้วยยาตามท้องตลาดที่หาได้ด้วยตนเอง
การรักษาเบื้องต้นนั้น ในปัจจุบันทุกคนสามารถหาซื้อยา ได้ตามคลินิกหรือร้านยา มีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ครีม เจล ใช้ทาบริเวณที่เกิดสิวหลังจากทำความสะอาดหน้าเรียบร้อยแล้ว ในช่วงแรกนั้นจะยังไม่เห็นผล ต้องทำต่อเนื่องเป็นกิจวัตรจนกว่าอาการจะดีขึ้น อาจจะมีอาการระคายเคืองบ้าง เช่น ผิวแห้ง หลังจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้น ให้หมั่นสังเกตอาการอยู่เรื่อย ๆ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแพ้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ยาที่ใช้รักษาสิวที่หาได้ตามท้องตลาดตามใบสั่งแพทย์และคำแนะนำ มีดังนี้
- เรตินอยด์ (Retinoid) : ซึ่งเป็นสารสกัดจากวิตามินเอ ยาตัวนี้จะช่วยลดและป้องกันการอุดตันของรูขุมขน
- ยาปฏิชีวนะ (Antitobic) : ยาตัวนี้จะช่วยลดรอยแดงจากสิว รวมถึงฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง อาจใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา เช่นใช้ควบคู่กับเรตินอยด์ โดยทายาปฏิชีวนะตอนเช้า แล้วทาเรตินอยด์ในตอนเย็น
- แดพโซน(Dapsone) : เป็นยารักษาอาการติดเชื้อและอาการอักเสบของผิวหนัง ถ้าใช้ร่วมกับเรตินอยด์จะส่งผลได้ดีกว่า แต่อาจจะมีผลข้างเคียงเช่น ผิวแห้ง และรอยแดง
การรักษาไม่ได้มีแค่ยาทา
- ยาปฏิชีวนะ (Antitobic) : ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ช่วยลดการอักเสบ และลดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง สามารถใช้ร่วมกับยาประเภททาได้ โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลข้างเคียงและอาการดื้อยา เช่น เวียนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ผิวบาง ไวต่อแดด เป็นต้น
- ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptive) : ตัวยามีฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เป็นส่งผลต่อกระบวนการผลิตขนและน้ำมัน ลดความเสี่ยงรูขุมขนอุดตันจนทำให้เกิดสิว แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ปวดอก ปวดหัว คลื่นไส้หรืออาจจะมีเลือดไหลก่อนประจำเดือนในเพศหญิง
- ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen) : จะลดผลกระทบ ที่เกิดจากการมีฮอร์โมนเพศชายสะสม ที่ต่อมไขมันใต้ผิวจนทำให้เกิดขนและน้ำมันในร่างกายมากจนก่อให้เกิดสิว อาจ
- ไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) : ยาอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการสิวดื้อยาและอักเสบขั้นรุนแรง โดยผู้ที่ใช้ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะด้วยฤทธิ์ของยาส่งผลต่อสุขภาพด้วยตรง เช่น ภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อโรคลำไส้อักเสบ ส่วนผู้หญิงส่งผลต่อทารกในครรภ์
แผลเป็นที่เกิดจากสิว สามารถรักษาได้
- การทำเลเซอร์ : เป็นการใช้ลำแสงจำกัดเซลล์ผิวเก่าบริเวณที่เกิดรอยแผลเป็น และกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวใหม่
- การศัลยกรรม : ผิวหนัง เป็นการนำเนื้อเยื่อมาปลูกถ่ายแทนที่บริเวณหลุมสิวหรือแผลที่เกิดจากสิว
- การผลัดเซลล์ผิว : การใช้กรดที่มีความเข้มข้นสูงขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ลึกลงไปที่รอยแผลเป็น
- การฉีดฟีลเลอร์ : ฉีดสารเข้าไปใต้ผิวหนังช่วยให้ผิวตึงและรอยแผลเป็นจางลง ต้องฉีดเรื่อยๆ เว้นระยะการฉีดรอบต่อไป 3-4 สัปดาห์
- การกรอผิว : เป็นการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ขัดไปที่รอยแผลเป็น เซลล์ผิวเก่าโดยตรง หลังจาก กรอผิว ที่เป็นรอยแผลเป็นออกไป รอยแผลเป็น จะจางลง และกลมกลืนไปกับผิวบริเวณโดยรอบ
เทคนิคการป้องกันการเกิดสิว
- ไม่แตะต้อง สัมผัสกับบริเวณที่มีสิวอักเสบ เพราะเชื้อโรค และสิ่งสกปรก จะไปเพิ่มการอุดตัน หรือทำให้สิวอักเสบมากยิ่งขึ้น
- ล้างหน้าบริเวณที่เป็นสิว เพื่อให้น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไม่อุดตัน แต่ไม่ควรล้างหน้าบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวระคายเคือง เสี่ยงต่อการแพ้
- ควรเลือกใช้โฟมล้างหน้า ที่เป็นสูตรธรรมชาติ และปราศจากน้ำมัน
- ล้างเครื่องสำอางค์ และล้างหน้าให้สะอาดก่อนเข้านอน เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการสะสมของน้ำมัน
- อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เพื่อล้างเหงื่อ และน้ำมันที่ถูกขับออกมา
- ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดรูป หรือแนบเนื้อ เพื่อลดการอักเสบ ระคายเคือง ของผิวหนัง
ที่จริงแล้ว การรักษาสิว สามารถทำได้ ทั้งการเริ่มดูแลผิว รักษาด้วยตนเองก่อน ถ้ายังไม่หาย สามารถไปพบแพทย์ เพื่อขอรับคำแนะนำได้ แต่ทางที่ดี ควรเริ่มต้นด้วยการรักษาด้วยตนเองก่อน เพราะเป็นวิธีที่ง่าย และประหยัดที่สุด ไม่จำเป็นจะต้องเสียเงิน เสียค่ารักษาแพง ๆ แต่หากลองรักษาดูเองแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ยังคงมีสิวเห่อ ขึ้นใหม่ตลอด ก็ควรไปพบแพทย์ เพราะแพทย์จะจ่ายยา ที่ถูกต้องแหละเหมาะสม กับสภาพผิว และสิวของเราได้
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 ยาแต้มสิวใช้ดี แนะนำยาแต้มสิวขั้นเทพ ฆ่าเชื้อสิวได้หมดจด
8 เคล็ดลับป้องกันสิว ที่เกิดจากการใส่มาก์ส ทำให้หน้ากลับมาใสอีกครั้ง
ใช้น้ำผึ้งช่วยรักษาสิวได้จริงหรือ ? ประโยชน์ของน้ำผึ้งกับสิวที่ควรรู้