ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งเลยดีไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ฟันน้ำนมของลูกขึ้นเพียงไม่นาน ฟันน้ำนมก็จะหลุดไปเป็นเรื่องธรรมดา แม้ว่าฟันน้ำนมจะอยู่ไม่นาน ก็ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะละเลยไม่ดูแลช่องปากของลูกน้อยนะคะ เพราะ ถ้าลูกฟันน้ำนมผุ ขึ้นมาก็เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน ส่วนจะส่งผลในเรื่องไหนบ้าง วันนี้คุณหมอจะมาบอกถึงข้อดีข้อเสียของการถอนฟันน้ำนมกันค่ะ

 

ฟันน้ำนมผุ ถอนทิ้งดีไหม?

 

 

ถ้าเด็กคนหนึ่งมีฟันน้ำนมที่ผุมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน (อาการชี้นำของเด็กอาจมีหลายอย่าง เช่น บ่นปวดฟัน เคยมีหนอง เหงือกบวม ฯลฯ) การรักษาจะมี 2 วิธีคือ

  1. รักษารากฟันร่วมกับการทำครอบฟัน 
  2. ถอนฟัน (และควรใส่เครื่องมือกันที่ฟันหลังถอนฟันถ้าเป็นไปได้)

หากตรวจฟันร่วมกับถ่าย x-ray พบว่าสภาพฟันยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้ และประเมินว่าฟันน้ำนมซี่นี้ยังต้องอยู่ในช่องปากอีกนานกว่าฟันแท้จะขึ้น หมอมั่นใจว่าคุณหมอฟันทุกคนจะแนะนำให้เก็บฟันไว้ค่ะ

 

ข้อดีและข้อเสียของการถอนทิ้งฟันน้ำนม

คุณหมอจะแจกแจงข้อดีข้อเสียของการรักษารากฟันร่วมกับครอบฟันและการถอนฟัน ไว้ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รักษารากฟันร่วมกับการครอบฟันน้ำนม

  • ข้อดี : เก็บฟันน้ำนมให้ลูกเคี้ยวข้าวได้ และช่วยกันที่ให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ข้อเสีย : ราคาสูง ใช้เวลารักษานาน

ถอนฟัน

  • ข้อดี : ราคาไม่สูง ใช้เวลารักษาไม่นาน
  • ข้อเสีย : ลูกไม่มีฟันเคี้ยวข้าว และไม่มีฟันน้ำนมกันที่ให้ฟันแท้ เมื่อถอนฟันแล้วควรใส่เครื่องมือกันที่ฟันไว้ด้วย (ซึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นค่ะ)

 

สาเหตุลูกฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไรบ้าง?

สำหรับสาเหตุลูกฟันน้ำนมผุ ก็จะมีสาเหตุหลัก ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง ยกตัวอย่างเช่น

  1. ลูกหลับไปพร้อมกับขวดนม ทำให้น้ำตาลที่อยู่ในนมทำลายเคลือบฟันน้ำนมได้
  2. การรับประทานขนมกรุบกรอบและขนมหวาน แล้วไม่ยอมแปรงฟัน หรือบ้วนปาก
  3. พ่อแม่คิดว่า เดี๋ยวฟันน้ำนมก็หลุด จึงไม่ใส่ใจในการแปรงฟันลูกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร

 

การดูแลช่องปากและฟันในช่วงที่เป็นฟันน้ำนม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่างแรกที่คุณแม่ต้องรู้คือ ฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มขึ้นมาจากเหงือก ตอนที่ลูกอายุราว ๆ 6 เดือน และฟันน้ำนมจะขึ้นจนครบในช่วง 3 ขวบ ซึ่งวิธีทำความสะอาดฟันที่คุณแม่ควรจะทำให้ลูกตอนลูกเล็ก คือ ใช้ผ้าก๊อซพันนิ้ว แล้วจุ่มกับน้ำสะอาดที่ต้มสุกแล้ว เช็ดบริเวณเหงือก และเมื่อลูกมีฟันขึ้นแล้วก็ควรแปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยทำความสะอาดวันละ 2 ครั้ง (เช้าและก่อนนอน) เพื่อทำความสะอาดคราบนม และคราบอาหารในช่องปาก

เมื่อลูกอายุ 3 – 4 ขวบ สามารถเริ่มฝึกให้ลูกแปรงฟันเอง แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องแปรงซ้ำให้ลูกอีกครั้งนะคะ โดยที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยลูกแปรงฟันจนลูกอายุ 7 ขวบ เนื่องจากช่วงอายุ 7 – 8 ขวบเป็นต้นไปเด็กจะสามารถเริ่มแปรงฟันได้เองอย่างมีคุณภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ต้องไม่ปล่อยให้ลูกนอนดูดขวดนมจนหลับ และให้ลูกเลิกขวดนมก่อนอายุ 1 ขวบครึ่ง ฝึกนิสัยไม่ให้ลูกรับประทานขนมจุบจิบ รวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และต้องทำความสะอาดฟันและช่องปากให้ลูกหลังดื่มนม หรือหลังรับประทานอาหารกันนะคะ

 

แนะนำยาสีฟัน และการแปรงฟันสำหรับเด็ก

การแปรงฟันจะช่วยทำหน้าที่ขจัดคราบจุลินทรีย์ (คราบพลัค) ที่เกาะติดอยู่ตามฟัน และช่องปาก ทำให้ฟันและช่องปากสะอาด ซึ่งเมื่อเด็กมีฟันซี่แรกขึ้นสามารถใช้แปรงสีฟันร่วมกับยาสีฟันทำความสะอาดฟันลูกได้เลยค่ะ โดยแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลเพื่อป้องกันฟันผุ และควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่ด้วย เพราะสารฟลูออไรด์นั้นมีความสำคัญต่อช่องปาก และช่วยเสริมสร้างสุขภาพฟันให้แข็งแรง นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคฟันผุได้อีกด้วย แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1000 ppm โดยใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ค่ะ

  • อายุน้อยกว่า 3 ปี

ใช้ปริมาณยาสีฟันเป็นฟิล์มบาง ๆ ผู้ปกครองช่วยแปรงให้ โดยให้เด็กนอนราบ และใช้ผ้าแห้งเช็ดฟองยาสีฟันออกทันทีในการแปรงฟันแต่ละตำแหน่ง

  • อายุ 3-6 ปี

ใช้ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวโพดหรือเท่าความกว้างหน้าตัดแปรงสีฟัน ผู้ปกครองช่วยแปรงให้โดยให้เด็กนอนราบ และใช้ผ้าแห้งเช็ดฟองยาสีฟันออกเช่นเดียวกับเด็กเล็ก

  • อายุ 6 ปีขึ้นไป

ใช้ปริมาณยาสีฟันเท่าความยาวของแปรง  ให้เด็กฝึกแปรงด้วยตนเองโดยมีผู้ปกครองตรวจและแปรงซ้ำให้

 

นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันแล้ว ผู้ปกครองควรเลือก และสอนให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้ฟันผุโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น นมเปรี้ยว นมช็อกโกแลต นมรสหวานชนิดต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม และขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ และให้รับประทานอาหารเป็นมื้อ โดยมื้อหลักและอาหารว่างควรห่างกันไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กมีโอกาสที่จะกลืนยาสีฟันเข้าไประหว่างการแปรงฟัน จึงแนะนำให้ใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสมตามวัย เพราะถึงแม้เด็กจะกลืนยาสีฟันเข้าไปทั้งหมดก็ไม่เป็นอันตราย และผู้ปกครองควรเป็นผู้บีบยาสีฟันให้ จะเห็นได้ว่าช่องปากเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น นอกจากจะเลือกใช้ยาสีฟันให้เหมาะสมแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งด้วยนะคะ สุดท้ายนี้ เมื่อลูกมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน พ่อแม่ต้องรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกค่ะ

 

ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กต้องแปรงฟันตั้งแต่อายุเท่าไหร่ วิธีแปรงฟันให้ลูก เสริมรอยยิ้มสดใสให้ลูกน้อย

เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

ปัญหาเรื่อง ฟันผุ ปวดฟัน ส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของลูกหรือไม่