การได้มีชีวิตตัวน้อยเพิ่มเข้ามาในร่างกายของคุณแม่ ถือเป็นข่าวดีที่ทุกครอบครัวปรารถนา กว่าเด็กทารกแต่ละคนจะถือกำเนิดมาได้ ก็ต้องได้รับการทะนุถนอมอย่างดี ตลอดเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ การเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญและมีความท้าทายไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าครับว่า เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ละช่วงเวลามีสิ่งที่ควรทำอย่างไรบ้างครับ
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ในช่วงก่อนเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ก็ควรเลิกดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม สุรา เพื่อไม่ให้มีสารแปลกปลอมตกค้างในร่างกาย อย่างเช่น คาเฟอีน และ แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่และฝุ่นควันมลพิษ ซึ่งสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสี เช่น เอกซเรย์ ในช่วงที่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะรังสีก็ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับตัวอ่อนในครรภ์ได้
การตั้งครรภ์ไตรมาส 1
เมื่อได้รับการยืนยันว่าตั้งครรภ์ ด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้ว ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) ในช่วงนี้ ตัวอ่อนจะพัฒนาจากกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ ไปเป็นอวัยวะสำคัญต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน จึงควรไปรับการฝากครรภ์กับคุณหมอสูตินารีทันทีที่รู้ เพื่อจะได้รับยาบำรุงครรภ์ ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินรวม โฟเลต ที่จะช่วยให้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อย สำหรับตัวคุณแม่เอง ก็อาจจะรู้สึกคลื่นไส้แพ้ท้อง เพราะฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์จะทำให้ลำไส้ภายในเกิดการจัดเรียงตัว เพื่อเตรียมพร้อมกับการตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นในเดือนแรก
แต่หากยังมีอาการแพ้ท้องมาก ก็สามารถปรึกษาคุณหมอสูตินารี เพื่อพิจารณาใช้ยาลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังอาจรู้สึกอยากกินของเปรี้ยว ๆ เพราะต่อมรับรสบนลิ้นเกิดการขยายตัว ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติเพื่อให้หาผลไม้ที่มีวิตามินเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ก็ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งผลไม้ เพื่อเป็นการบำรุง แต่ควรหลีกเลี่ยงของหมักดอง เพราะไม่มีสารอาหารเพียงพอ และอาจทำให้ปวดท้อง ท้องเสียได้ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าฮอร์โมนต่ำ มีผลกับลูกในท้องอย่างไร
การตั้งครรภ์ไตรมาส 2
ในไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) ร่างกายของทารกในครรภ์ก็เริ่มมีอวัยวะเกือบสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้ คุณแม่หลายคนอาจเริ่มรู้สึกว่า ลูกดิ้น และเมื่อตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวของทารกที่ชัดเจน และจะสามารถระบุเพศของทารกได้แล้ว ถึงตอนนี้ คุณหมอสูตินารีก็จะแนะนำให้คุณแม่นับการดิ้นของลูก โดยอาจมีการจดบันทึกในสมุด เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของลูกน้อย และในช่วงนี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมผาดโผน เช่น การกระโดดหรือบิดหมุนตัวแรง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ แต่ยังสามารถเล่นโยคะเพื่อยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ ได้
การตั้งครรภ์ไตรมาส 3
ในไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) ทารกในครรภ์จะมีอวัยวะสมบูรณ์และจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะคลอด ณ ช่วงนี้ คุณแม่ไม่ควรออกไปข้างนอกที่มีผู้คนแออัด เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วย และยิ่งไม่ควรออกเดินทางไปไหนไกล ๆ เพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว จนคลอดก่อนกำหนดได้ ในระยะนี้ คุณหมอสูตินารีจะนัดตรวจถี่ขึ้นเป็นทุก 2 สัปดาห์ในช่วงแรก และทุกสัปดาห์ในช่วงใกล้กำหนดคลอด ดังนั้น ควรหมั่นตรวจดูว่ามีอาการปวดครรภ์ถี่ มีน้ำเดิน หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ หากเกิดอาการเหล่านั้น ต้องรีบไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลในทันที
เมื่อทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว ก็ถือว่าคุณแม่ประสบความสำเร็จก้าวใหญ่ไปแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปก็คือ ให้ทารกน้อยดูดนมแม่จากเต้านมโดยตรง เพราะว่า การสัมผัสแนบเนื้อจากปากทารกจะเป็นการกระตุ้นเต้านม และทำให้ร่างกายของคุณแม่หลั่งฮอร์โมน ออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งถือเป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ที่จะทำให้หลั่งน้ำนมมากขึ้นตามธรรมชาติ อีกทั้งยังทำให้คุณแม่มีความรู้สึกรักและอาทรลูกน้อยมากยิ่งขึ้น จึงควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่บ่อย ๆ ทุกครั้งที่ลูกหิว เพราะการให้เด็กฝึกดูดนมเองจะยิ่งเพิ่มน้ำนมไปเรื่อย ๆ จะดีที่สุดครับ โดยนมแม่นั้นมีทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยให้ร่างกายของเด็กแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยง่าย กระนั้น หากไม่สะดวกจริง ๆ ก็อาจจะใช้เครื่องปั๊มนมเก็บไว้ก่อนก็ได้ครับ
แม่ ๆ คนไหนยังมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพบ #ทีมหมอGDTT ได้ฟรี ที่ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน เพียงกดรับสิทธิ์ผ่าน Reward ในแอปพลิเคชัน theAsianparent หรือสามารถกดลิงก์นี้ได้เลยครับ https://community.theasianparent.com/reward/3859/?lng=th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง