การขู่ลูก ดุเด็ก พ่อแม่ชอบขู่ลูก ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก พัฒนาการทารก เลิกหลอกลูกให้กลัวได้แล้ว

พ่อจ๋าแม่จ๋ารู้ไหมการขู่ลูก ดุเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก หันมาสร้างความไว้วางใจกับลูกดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การขู่ลูก ดุเด็ก พ่อแม่ยุคใหม่เลิกได้แล้ว การขู่ลูก ดุเด็ก การขู่ให้ลูกกลัวส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก เลิกขู่ลูกเถอะนะ เลิกขู่ลูก ห้ามดุด่า การขู่ให้ลูกกลัวส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก อย่าทำร้ายลูกเลยนะแม่

 

การขู่ลูกอาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง ถึงการขู่ลูก ดุเด็ก ว่าอาจทำให้เกิดความกลัว จนส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก แนะสร้างความไว้วางใจกับลูกด้วยการสอนในสิ่งที่ถูกต้องและใช้เหตุผล

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงการขู่ลูก ว่า วิธีการขู่ให้กลัวหรือทำให้เด็กเกิดอารมณ์ด้านลบอื่น ๆ เช่น ตกใจ ขยะแขยง เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่หลายคนนิยมใช้ เพราะเข้าใจว่าจะสามารถหยุดเด็กให้เลิกทำกิจกรรมได้ทันที เช่น

  • การขู่ว่าหมอจะฉีดยา
  • ตำรวจจะจับ
  • การใช้บอระเพ็ดทาที่หัวนมเพื่อให้เด็กหย่านม

 

การขู่ลูกหรือดุเด็ก

 

ดุเด็ก หรือ การขู่ลูก ส่งผลอย่างไร

พ่อแม่ผู้ปกครองอาจลืมคิดไปว่าการหยุดเด็กด้วยวิธีดังกล่าวมีโอกาสเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา อาทิ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เด็กอาจเกิดความกังวลและปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นหรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างสุดโต่งไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
  2. อาจเป็นการสกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก หรือแม้กระทั่งถูกลดทอนความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล ทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่นและลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย
  3. วิธีการขู่เด็กให้กลัวอาจส่งผลต่อเนื่อง ทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุดโดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่กลับกลายเป็นการหยุดเพราะกลัวหรือหยุดเพราะตกใจ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการปรับตัวเพื่อเรียนรู้

 

 

คำพูดต้องห้ามของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก

เด็กจะดีได้นั้นหลายคนพูดว่าขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็กๆ การเลี้ยงลูกบางคนก็ว่าไม่มีถูกไม่มีผิด แต่เป็นการลองผิดลองถูกไปด้วยกัน แต่จะดีกว่าไหมถ้าพ่อแม่เลี้ยงลูกแบบไม่ทำร้ายลูก ไม่สร้างความเจ็บปวด ไม่สร้างบาดแผลในใจให้กับเด็ก เพียงเพราะการดุด่าของพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่ควร หยุดดุด่าลูก ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. เลิกกวนแม่ได้ไหม แม่ยุ่งอยู่

เด็กเล็กยังเป็นวัยที่ต้องการความรักความสนใจจากพ่อแม่ หากพ่อแม่กำลังทำงานยุ่งอย่างหัวเสียอยู่ก็ไม่ควรไปลงที่ลูก การต่อว่าเสียงดัง อาจทำให้ลูกกลัวและหยุดไปก็จริง แต่ถ้าลูกโดนว่าบ่อยๆ เขาก็ไม่อยากเข้าใกล้คุณอีกเลย อย่าลืมค่ะว่าลูกจะอยู่กับเราได้แค่ช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น ซึ่งช่วงเวลานี้แหละคือนาทีทองของคุณ เพราะหลังจากนี้คุณจะเรียกร้องให้ลูกมาเป็นเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว ดังนั้นคำพูดที่ควรจะพูดกับลูกคือ “หนูนั่งรอแม่ก่อนนะ แม่ขอทำงานตรงนี้ก่อน เดี๋ยวแม่ไปเล่นด้วย” สิ่งนี้จะทำให้เด็กได้รู้จักการรอคอยด้วยค่ะ

 

2. อย่าร้อง

คำพูดที่พ่อแม่มักจะบอกกับลูกว่า “อย่าร้อง อย่าทำตัวแบบนี้นะ หรือทำไมเป็นคนขี้ขลาด” อาการเหล่านี้ เป็นอาการที่แสดงออกว่าลูกน้อยกำลังกลัวหรือเสียใจ พวกเขาจึงร้องไห้ออกมา เพราะว่าเป็นวิธีการแสดงออกเพียงอย่างเดียวที่เด็กสามารถทำได้ หากพ่อแม่บอกให้เด็กหยุดร้อง ลูกน้อยอาจจะหยุดร้องแต่ความกลัวก็จะไม่หายไป ดังนั้นควรบอกกับลูกว่า “หนูเป็นอะไร ไม่ต้องกลัวนะ ไม่ต้องร้อง พ่อแม่อยู่ข้างๆ หนูนะ” คำพูดเหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายใจขึ้น และเริ่มเข้าใจอารมณ์ของตัวเองค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : 20 คำปลอบลูก ทำอย่างไรให้ลูกหายโกรธ ง่าย ๆ ด้วยคำพูด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ลูกนี่ไม่ได้เรื่อง

คำพูดแบบนี้ถือว่าเป็นคำพูดรุนแรงที่ทำร้ายจิตใจกับลูกมากค่ะ เนื่องจากเด็กจะคิดว่าทำอะไรก็ไม่ดีในสายตาพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่พูดแบบนี้บ่อยๆ เด็กก็จะขาดความมั่นใจในตัวเอง และเริ่มตอกย้ำว่าตัวเขาเป็นแบบนั้นจริงๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรเลิกพูดคำเหล่านี้ “นิสัยแบบนี้ใครจะเล่นด้วย ทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ทำไมขี้เกียจแบบนี้ สอนเท่าไหร่ก็ไม่จำ” เป็นต้นค่ะ

 

 

4. ทำไมไม่ทำตัวเหมือนคนอื่น

การพูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นแน่นอนว่ายิ่งส่งผลเสียกับตัวเด็กเป็นอย่างมาก ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กแต่ละคนมีบุคลิกและพัฒนาการที่แตกต่างกัน บางทีลูกเราอาจจะเก่งกว่าลูกคนอื่นในด้านอื่น หรือลูกคนเล็กอาจเก่งในเรื่องที่พี่คนโตไม่สามารถทำได้ ตรงนี้เองที่พ่อแม่ไม่ควรนำจุดด้อยของลูกมาพูดเพื่อบั่นทอนกำลังใจ แต่ควรพูดให้ลูกพัฒนาจุดอ่อนของตัวเองมากกว่าค่ะ

 

5. หยุดเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวแม่ตีนะ

การขู่ว่าจะตีอาจทำให้เด็กหวาดกลัว เพราะเด็กหลายคนจะจำได้ว่าโดนพ่อแม่ตีแล้วเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าการตีจะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมลูกในระยะหนึ่ง แต่ถ้าเทียบในระยะยาวแล้วสิ่งที่พ่อแม่ทำอาจทำให้ลูกเกิดเป็นปมในวัยเด็กได้ และการขู่บ่อยๆ ก็ทำให้ลูกไม่รู้สึกเกรงกลัวพ่อแม่แต่อย่างใด สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ ปล่อยให้ลูกสงบลง บอกลูกว่าถ้าลูกร้องไห้หรือเกเรแบบนี้ต่อไปพ่อกับแม่ก็ไม่สามารถพาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ เมื่อเด็กสงบลงจะพ่อแม่จึงค่อยไปอธิบายให้ลูกฟังค่ะ

 

6. ลูกเก่งที่สุดเลย ไม่มีใครสู้ได้เลยจริงๆ นะ

คำพูดกล่าวชมที่ดูแล้วเหมือนจะช่วยให้ลูกรู้สึกดี แต่อันที่จริงแล้วการพูดชมลูกแบบพร่ำเพรื่ออาจส่งผลในทางตรงกันข้ามมากกว่าค่ะ  คำชมที่มากเกินพอดีอาจทำให้เด็กทะนงตัว กลายเป็นการคุยโม้โอ้อวด คิดว่าตัวเองเก่งในทุกเรื่องและเก่งกว่าคนอื่น และกลายเป็นเด็กที่มั่นใจในตัวเองจนเกินไป พอเจอคนที่เก่งกว่าดีกว่าก็จะไม่พอใจ และขาดการพัฒนาตนเองได้ค่ะ ดังนั้น พ่อแม่ควรเลือกชมในสิ่งที่ลูกได้ทำเองจริงๆ เช่น “แม่ชอบรูปที่หนูวาด ทำการบ้านเสร็จแล้วแบบนี้คุณครูต้องชมแน่ๆ”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้คำพูดในทำนองที่ว่า เดี๋ยวผีมาหลอก เดี๋ยวให้ผีมาจับตัวไปนะ หรือการบอกให้ลูกอยู่นิ่งๆ อย่าซน หรือการด่าลูกว่าทำไมทำตัวน่ารำคาญ ทำตัวโง่แบบนี้ พ่อแม่จะไม่รักแล้วนะ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกทางความคิด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่อยากอยู่บ้าน เพราะอยู่บ้านแล้วโดนห้ามนู้นห้ามนี้ตลอด บางครั้งอาจทำให้เด็กแสดงออกเวลาต่อหน้ากับลับหลังพ่อแม่ไม่เหมือนกัน ทำให้คุณไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วลูกของเรามีพฤติกรรมอย่างไรกันแน่ อีกทั้งการลงโทษด้วยการใช้คำพูดด้านลบ เช่น ตำหนิหรือแสดงความไม่ยอมรับอาจทำให้เด็กเกิดความโกรธ ก้าวร้าว หรือเสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองด้วยค่ะ

บทความที่น่าสนใจ : ขู่ลูกมากระวังลูกเป็นเด็กขี้กลัว ระวังให้ดีการขู่ลูกอาจจะทำให้ลูกเก็บตัว

 

 

การเลี้ยงลูกโดยไม่ต้องขู่ลูกหรือดุลูก

ในทางกลับกันพ่อแม่ควรสอนในสิ่งที่ถูกต้องและใช้เหตุผลที่เหมาะสมในการตักเตือนลูกและควรแสดงความชื่นชม เมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่ดีน่าชมเชย ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรเฝ้าติดตามสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ ได้แก่

เพื่อจะได้ทราบถึงพัฒนาการแต่ละวัย พร้อมที่จะหาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กแต่ละด้านอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยต่อไป

 

บทความที่น่าสนใจ

เทคนิคเลี้ยงลูกวัยอนุบาล 3 – 6 ขวบ ลูกวัยนี้ควรเน้นเรื่องอะไรบ้าง

ตีลูกดีไหม ลงโทษลูกอย่างไร ให้ลูกได้บทเรียน แต่แม่ไม่ปวดใจ

วิธีทำโทษลูก พ่อแม่ยุคใหม่ควรทำโทษลูกอย่างไร ไม่ให้เจ็บปวด

บทความโดย

Tulya