ข้อห้ามคนท้อง6เดือน เกินครึ่งทางแล้ว ต้องระวังอะไรบ้าง

ในช่วงเดือนที่6ของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ท้องควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตให้มาก หากคุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับยาบางอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์ได้ มาดูกันว่า ข้อห้ามคนท้อง6เดือน มีอะไรบ้าง

ก่อนที่จะพูดถึง ข้อห้ามคนท้อง6เดือน ว่ามีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันก่อนว่า ในช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์นั้น ร่างกายของคุณแม่ท้อง มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อาหารคนท้อง6เดือน เป็นอย่างไร อาหารคนท้อง6เดือนควรกินอะไร ไม่ควรกินอะไร

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตอนท้อง6เดือน

  • ในช่วงเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์นั้น น้ำหนักของคุณแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และ ด้วยเหตุนี้เอง จึงอาจทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกหิวมากกว่าปกติ โดยในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่ท้องต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลอรีต่อวัน
  • ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น
  • มดลูกอาจมีการหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนอยู่เป็นระยะ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้อง6เดือน
  • คุณแม่ท้องบางคนอาจมีอาการตะคริว แนะนำว่าแก้อาการตะคริว เมื่อแม่ท้องเกิดอาการตะคริวขึ้นบริเวณน่อง ต้นขา และ ปลายเท้า ให้คุณแม่ท้องกระดกปลายเท้าขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อที่จับตัวเป็นก้อนนั้นตึง และ ค่อย ๆ คลายตัวออก ทำให้อาการเป็นตะคริวดีขึ้น
  • ขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น บวกกับการดิ้นของทารกในช่วงเดือนที่6นี้ อาจทำให้คุณแม่ท้องเกิดอาการปวดชายโครงได้

ข้อห้ามคนท้อง6เดือน

ในช่วงเดือนที่6ของการตั้งครรภ์นี้ คุณแม่ท้องควรระมัดระวังในการดำเนินชีวิตให้มาก หากคุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับยาบางอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่ท้อง และลูกน้อยในครรภ์ได้ มาดูกันว่า ข้อห้ามคนท้อง6เดือน มีอะไรบ้าง

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

1. อาหารที่ไม่ควรทาน

อาหารที่ไม่ควรทานในช่วงท้อง6เดือน มีดังนี้

  • เนื้อสัตว์ปรุงไม่สุก รวมถึงไข่ดิบ และ อาหารที่มีไข่ดิบเป็นส่วนประกอบ
  • ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
  • ปลาบางชนิดที่อาจมีสารปรอทในระดับสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดาบ ส่วนปลาทูน่า ที่นิยมรับประทานกัน บางครั้งก็อาจพบสารชนิดนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าจะให้ดีก็ไม่ควรรับประทานบ่อยครั้งจนเกินไป

นอกจากอาหารที่ไม่ควรทานในช่วงท้อง6เดือนแล้ว คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีโปรตีนสูง และ ดื่มน้ำให้มาก

2. ไม่หายามาทานเองโดยไม่จำเป็น

แม้ว่ายาบางชนิดจะเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป หรือยาสามัญประจำบ้านก็ตาม ก็ไม่ควรซื้อหรือทานยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเสียก่อน เพราะยาบางชนิดอาจเป็นอันตราย หรือส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น การจะใช้ยาประเภทใดก็ตาม หรือแม้แต่อาหารเสริม และสมุนไพรใด ๆ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน มีอะไรอีกบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไป —->

3. หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยง

หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ บริเวณที่มีสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอาศัยอยู่ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี รวมถึง งานบ้านที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างเล็บ ยาฉีดยุง ซึ่งมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายเมื่อสูดหายใจ หรือสัมผัส และ ดูดซึมผ่านผิวหนัง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

4. ห้ามบุหรี่ เหล้า สารเสพติด

ห้ามใช้สารเสพติด ห้ามสูบบุหรี่ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ข้อห้ามคนท้อง 6 เดือน

5. ห้ามเครียด

เพราะความเครียดของคุณแม่ท้องนั้น จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยในครภ์ และ เพิ่มโอกาสแท้งบุตร กระตุ้นการผลิตสารเคมี และ ฮอร์โมนในร่างกาย ที่ทำให้หลอดเลือดแคบลง ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงมดลูกไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก โดยเด็กที่คลอดจากแม่ที่มีความเครียดสูง มักจะคลอดก่อนกำหนด และ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

6. ห้ามใส่รองเท้าที่มีส้นสูงเกินไป

คุณแม่ท้องควรใส่รองเท้าที่มีส้นไม่สูงจนเกินไป เพราะขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นนั้น ส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงของคุณแม่ท้องเปลี่ยนไป เสี่ยงต่อการหกล้มได้

7. ห้ามละเลยสัญญาณอันตราย

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ท้องควรสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ให้ใส่ใจ และ ระมัดระวังไว้ก่อน โดยควรไปพบแพทย์โดยเร็วหากมีสัญญาณผิดปกติเกิดขึ้น

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำให้ออกกาลังกายสม่ำเสมอที่ระดับปานกลาง โดยคนท้องออกกำลังกาย ช่วงแรกเริ่มจาก 15 นาที/วัน น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มทีละน้อย จนได้ประมาน 20-30 นาที/วัน 3-5 วัน/สัปดาห์ (โดยรวมประมาน 150 นาที/สัปดาห์) เทียบเท่ากับการออกกาลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพในผู้ใหญ่ทั่วไป ผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อนควรเริ่มที่ความหนักระดับเบาก่อน

รูปแบบการออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ การออกกำลังกายรูปแบบแอโรบิคแรงกระแทกต่ำ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ (Hydrotherapy) ปั่นจักรยานแบบขี่อยู่กับที่ เต้นแอโรบิค เดินหรือแอโรบิคในน้ำ (Aquatic Treadmill Exercise) โยคะยืดกล้ามเนื้อท่าง่าย ๆ สำหรับคนท้อง หากต้องการออกกาลังกายแบบมีแรงต้าน เช่น ยกเวท ดัมเบล วิ่ง หรือวิ่ง เหยาะ ๆ ควรเป็นผู้ที่เคยออกกาลังกายชนิดนี้มาก่อนเป็นประจำและควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือผู้ดูแล นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ร่วมด้วยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับไตรมาสที่สอง (4-6 เดือน)

คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 4-6 สัปดาห์นี้ อาการแพ้ท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มดีขึ้น อาการเหนื่อยล้าต่าง ๆ จะลดลง กลับมามีพลังมากขึ้น สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ออกกำลังกายเป็นประจำตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่หนึ่ง ก็ยังสามารถออกกำลังกายแบบเดิม ไม่ว่าจะการเดิน การว่ายน้ำ และ โยคะสำหรับคนท้อง โดยอาจเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้นกว่าเดิม

การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ควรหลีกเลี่ยงการออกกาลังกายที่ระดับหนักหรือมีแรงปะทะสูง เช่น ชกมวย บาสเก็ตบอล ฟุตบอล เป็นต้น กีฬาเฉพาะบางจำพวกหรือผาดโผน เช่น ดำน้าลึก กระโดดหน้าผา รวมทั้งการออกกำลังกายในที่ร้อนจัด เช่น โยคะร้อน บ่อหรืออ่างน้าร้อน เป็นต้น เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิของมารดาสูงเกินไปจนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้

ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกาลังกายได้เรื่อย ๆ ตลอดช่วงการตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาส แรกจนถึงไตรมาสสามระยะใกล้คลอด ถ้าไม่มีข้อห้ามในการออกกำลัง หรือข้อห้ามภายใต้ คำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ ควรได้รับคำแนะนำหรือปรึกษาสูตินรีแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูก่อน

ข้อห้ามในการออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์

  • มีโรคหัวใจหรือปอดอย่างรุนแรง
  • มีภาวะปากมดลูกหลวม
  • มีตั้งครรภ์แฝดหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • มีเลือดออกปากช่องคลอดในไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์ หรือมีเลือดออกจากปากช่องคลอดใด ๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะรกเกาะต่ำหลังอายุครรภ์ 26 สัปดาห์
  • มีถุงน้ำคร่ำแตก
  • มีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • มีภาวะซีดรุนแรง
  • มีภาวะทารกโตช้าในครรภ์
  • มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไทยรอยด์ที่รุนแรงและควบคุมไม่ได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!

อายุครรภ์ จริง ๆ แล้ว เค้านับกันอย่างไรถึงจะถูก

ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน

บทความโดย

P.Veerasedtakul