คุณพ่อคุณแม่กลุ้มใจ ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป ทำอย่างไรดีนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจจะเกิดความกังวลไม่น้อย เมื่อเห็นเจ้าตัวเล็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ผอมแห้ง ดูแล้วไม่สบายใจ รู้สึกเป็นห่วงสุขภาพเจ้าตัวเล็กมาก ๆ เรามาดูกันดีกว่าว่าถ้า ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป คุณพ่อคุณแม่อย่างเราควรทำอย่างไรดี เพื่อให้เด็ก ๆ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นค่ะ

ลูกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กเกินไป ทำอย่างไรดี

 

 

1. ปล่อยให้ลูกดูดนมนานจนกว่าจะพอใจ

ถ้าลูกของคุณยังเป็นทารก นมแม่ คือสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าหากลูกตัวเล็กหรืออยากให้ลูกเพิ่มน้ำหนัก เมื่อให้นมลูกก็ควรให้แน่ใจว่าลูกจะได้ทานหรือดูดนมนานเพียงพอต่อความต้องการของทารก โดยคุณแม่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณต่าง ๆ ว่าลูกได้ทานหรือดูดนมเพียงพอหรือไม่ เช่น ถ้าลูกกลับตัวไปมา ไม่งอแง และเริ่มง่วง ก็ให้เลิกดูดได้ พยายามอย่าดึงลูกออกมาจนกว่าลูกจะอิ่ม และลองนับจำนวนครั้งที่ลูกปัสสาวะดู ถ้าลูกปัสสาวะประมาณ 6 ครั้งต่อวัน นั่นแสดงว่าเขาได้ดื่มนมในปริมาณที่เพียงพอแล้ว

2. ให้ทานอาหารบ่อยขึ้น

หากลูกน้อยมีอายุเกินกว่า 6 เดือน หรือมีอายุครบปีแล้ว แต่ยังผอมมาก การให้ลูกทานอาหารบ่อยขึ้น จะยิ่งทำให้ลูกได้แคลอรี่เพิ่ม และน้ำหนักจะค่อย ๆ ขึ้นด้วย ท้องเล็ก ๆ ของลูกน้อยไม่สามารถจุอาหารปริมาณมาก ๆ ได้ในครั้งเดียว ถ้าลูกทานอาหารได้น้อยกว่าปกติใน 1 มื้อ คุณแม่ก็อาจจะลองจัดตารางให้ลูกทานหลายมื้อในแต่ละวัน แต่ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง

3. ให้ลูกทานอาหารที่เหมาะสม

สำหรับเด็กโต คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีไขมันแบบสุขภาพดี เช่น น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน โยเกิร์ตนม ชีส หรือซีเรียล ที่ทำมาจากข้าวและข้าวโอ๊ต โดยอาจจะผสมซีเรียลบดกับนม เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักของเด็กได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. นวดให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถนวดกระตุ้นพัฒนาการให้เด็ก ๆ ได้นะคะ เพราะการนวดจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้อีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลักษณะของ ทารกระยะแรกเกิด การดูแล ทารกแรกเกิด มีอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องรู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ให้ออกไปวิ่งเล่น

ถ้าลูกของคุณโตขึ้นมาหน่อย เช่น อายุ 1 ขวบครึ่ง ถึง 2 ขวบขึ้นไป อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ทำให้ลูกทานได้มากขึ้น นั่นก็คือ การปล่อยให้พวกเขาได้วิ่งเล่นเยอะ ๆ จนเหนื่อย เมื่อเด็ก ๆ ได้ใช้พลังงานมาก ๆ พวกเขาก็จะทานอาหารได้มากขึ้น พาเด็ก ๆ ออกไปปล่อยพลังกันค่ะ 

6. นอนเป็นเวลา

การนอนหลับให้เป็นเวลาและเพียงพอในแต่ละวัน จะช่วยให้ฮอร์โมนการเจริญเติบโตทำงานได้เต็มที่ ทำให้ลูกน้อยค่อย ๆ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

7. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร

ลองเปลี่ยนเมนูอาหารให้เด็ก ๆ ดูไหมคะ เผื่อเด็ก ๆ อาจจะเบื่ออาหารก็ได้ค่ะ ทำเมนูอาหารให้ดูน่าสนใจ และที่สำคัญอาหารต้องครบ 5 หมู่ หรือลองพาลูกไปทานอาหารนอกบ้านบ้าง เปลี่ยนบรรยากาศการทานอาหารให้น่าสนุกมากขึ้น อาจจะไม่ต้องไปร้านอาหาร แค่ออกไปทานข้าวหน้าบ้านลูกอาจจะตื่นเต้นแล้วก็ได้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ขนมเพื่อสุขภาพ 5 เมนูสำหรับเด็ก ที่สามารถทำได้เองที่บ้านง่าย ๆ ใน 1 ชั่วโมง

 

8. ลูกน้ำหนักน้อย ให้พาลูกไปตรวจสุขภาพ

คุณพ่อคุณแม่ ควรพาลูกไปพบคุณหมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อดูว่าลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพ หรือเป็นโรคที่ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์หรือไม่ เช่น การติดเชื้อที่หู ปากอักเสบเชื้อรา โรคกรดไหลย้อน โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาวะโลหิตจาง สภาพลิ้นยึด อาการแพ้ต่าง ๆ หรือแม้แต่อาการหวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เด็กน้ำหนักลดลงได้ ซึ่งหากตรวจพบได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ที่สำคัญควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของลูกน้อยในแต่ละวันอยู่เสมอนะคะ

 

การเพิ่มน้ำหนักควรทำอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปนะคะ น้ำหนักของลูก เป็นหัวใจสำคัญในการเลี้ยงดู หากลูกน้อยดูไม่เจ้าเนื้อ แต่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ ลูกเราอาจจะไม่จ้ำม่ำเท่าเด็กคนอื่น ๆ แต่ว่าสุขภาพโดยรวมแล้วแข็งแรง ลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว จริงไหมคะ นอกจากนี้การบังคับ ดุ ตีลูก เพื่อให้ลูกกินข้าว เป็นวิธีที่ผิด และจะยิ่งทำให้ได้เด็ก ๆ ไม่อยากทานอาหารอีกด้วย และการให้รางวัลเกินความจำเป็นก็จะทำให้เด็ก ๆ กินเพื่อหวังสิ่งตอบแทน เพราะฉะนั้นควรใช้ความเข้าใจ ค่อย ๆ สอน ค่อย ๆ ปรับไปจะดีที่สุดนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดไม่ลับ พัฒนาการเรียนรู้ทารก วัย 6 เดือนขึ้นไป มีอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ ต้องรู้

แม่ขอแชร์! ผ่าคลอดลูกแฝด เหตุห่วงรัดปากมดลูกหลุด ส่งทารกเข้า N I C U ด่วน

การถดถอยของการนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่ แทบอยากร้องกรี๊ด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : Bumrungrad

บทความโดย

P.Veerasedtakul