รวม 5 ประเพณีภาคอีสาน สุดปัง อลังการ สวยงามอย่างมีเอกลักษณ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราคุ้นเคยและเรียกติดปากกันว่า ภาคอีสาน นั้นเต็มไปด้วยแหล่งรวบรวมอารยธรรมอันหลากหลาย และ ประเพณีภาคอีสาน ที่ชวนตื่นตาตื่นใจอย่างมากมาย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ประเพณีภาคอีสาน ว่าจะสวยงามและอลังการแค่ไหน รับรองว่าเมื่ออ่านจบแล้วต้องอยากออกไปเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งอย่างแน่นอน

 

ทำความรู้จักกับ ภาคอีสาน

ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช กั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาคด้วยแม่น้ำโขง ส่วนในทางใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นตั้งเป็นแนวกั้นจากภาคเหนือ มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ภูกระดึง ที่นับว่าเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสาน เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำตะคอง โดยมีพื้นที่บริเวณรวมประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย ประกอบไปด้วยจังหวัดทั้งหมด 20 จังหวัด ดังนี้

 

  • อำนาจเจริญ
  • อุบลราชธานี
  • อุดรธานี
  • หนองบัวลำภู
  • หนองคาย
  • ศรีสะเกษ
  • สุรินทร์
  • สกลนคร
  • เลย
  • ร้อยเอ็ด
  • ยโสธร
  • นครราชสีมา
  • มุกดาหาร
  • กาฬสินธุ์
  • มหาสารคาม
  • ขอนแก่น
  • บึงกาฬ
  • ชัยภูมิ
  • บุรีรัมย์
  • นครพนม

 

ทั้งนี้ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เช่น บริเวณอีสานใต้นิยมใช้ภาษาเขมร และภาษาอีสาน เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งที่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ นิยมใช้พูดเป็นภาษากลาง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : รวบรวม 10 ร้านอาหารอีสาน สุดแซ่บซี้ด อร่อยจัดจ้านถึงใจ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 ประเพณีภาคอีสาน ที่ต้องไปเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่ง

ประเพณีภาคอีสาน นับว่าเป็นแหล่งรวบรวมอารยธรรมที่มีความหลากหลายอยู่เป็นจำนวนมาก โดยแต่ละประเพณีเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศที่น่าตื่นตาตื่นใจ ยิ่งใหญ่ สวยงาม และอลังการ จนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาเยือนกันอย่างล้นหลาม 

 

1. ผีตาโขน

เทศกาลผีตาโขน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เดิมทีมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ในตอนที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีจะทำการออกเดินทางจากป่าเข้าสู่เมืองหลวง โดยในระหว่างการเดินทางก็ได้มีสัตว์ป่า ภูตผี ปีศาจ ที่อาศัยอยู่ในป่าออกมาส่งเสด็จ โดยเอกลักษณ์และความโดดเด่นของเทศกาลผีตาโขน คือการนำชุดและหน้ากากของผีตาโขนมาสวมใส่ เพื่อเต้นรำไปตามจังหวะเสียงดนตรี พร้อมเดินขบวนพาเหรดที่สร้างความดึงดูดให้กับชาวไทย และชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. บั้งไฟพญานาค

ปรากฏการณ์ที่ยังคงหาคำตอบพิสูจน์ไม่ได้กับเทศกาลบั้งไฟพญานาค โดยเกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขงที่สามารถเห็นได้จากฝั่งประเทศไทย และฝั่งประเทศลาว โดยไฮไลต์สำคัญคือการเฝ้ารอดวงไฟเรืองแสงที่จะลอยขึ้นมาจากผิวน้ำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ที่ต่างสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักเที่ยวได้ไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่คอยสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ที่มาร่วมงาน นั่นก็คือ ประเพณีแข่งเรือยาว ที่มีลีลาและน้ำเสียงการพากย์อันโดดเด่น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสีสันที่นักท่องเที่ยวทุกคนไม่ควรพลาด

 

3. แห่เทียนเข้าพรรษา

นับว่าเป็นเทศกาลประจำปีที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยจัดขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่ถูกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงปัจจุบันนี้มีอายุรวมกว่า 116 ปี จากเดิมทีเป็นการจุดบั้งไฟเพื่อเฉลิมฉลองในบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเป็นอย่างมาก จึงได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการจัดขบวนเทียนขนาดใหญ่ พร้อมแกะสลักขี้ผึ้งเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่บอกเล่าประวัติความเป็นมาของประวัติศาสตร์ทั้งหมด รวมทั้งยังมีการจัดประกวดแข่งขันความสวยงามการแกะสลักอีกด้วย และมีขบวนนางรำที่ฟ้อนรำประกอบไปด้วย จัดได้ว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ สวยงาม อลังการ สมคำร่ำลือ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. เทศกาลขึ้นเขาพนมรุ้ง

เทศกาลขึ้นเขาพนมรุ้ง ถูกจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ ประมาณเดือนเมษายน เพื่อชมปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงเป็นเส้นตรงทะลุช่องประตูทั้ง 15 บาน และพิธีบวงสรวงองค์พระศิวะ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง อีกทั้งยังเป็นการเชิญชวนให้เหล่านักท่องเที่ยวได้เข้ามาเยี่ยมชมปราสาทหินพนมรุ้ง สถานที่มรดกโลกที่สร้างด้วยศิลาแดง และหินทรายสีชมพู ถูกออกแบบแผนผังของปราสาทตามความเชื่อที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ ประดับไปด้วยการแกะสลักที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศาสนา พร้อมมีการแสดงโชว์แสง สี เสียง สุดตระการตา ที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน

 

5. ไหลเรือไฟ

เทศกาลไหลเรือไฟ ถูกจัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม ในช่วงเวลาหลังวันออกพรรษาของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พญานาค พระแม่คงคา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยเอกลักษณ์ที่โดดเด่นภายในงานคือ ขบวนเรือไฟที่ถูกประดับไฟไว้อย่างสวยงาม ส่องแสงสว่างอย่างสง่างามท่ามกลางแม่น้ำ การร่ายรำบูชาองค์พระธาตุพนม รวมทั้งการจัดงานกาชาด เพื่อจำหน่ายสินค้าประจำท้องถิ่นและประจำจังหวัด การแสดงพื้นเมืองจากเจ็ดชนเผ่าของจังหวัดนครพนมที่หาชมได้ยาก 

 

 

ทั้งนี้ ประเพณีภาคอีสาน นั้นยังมีอีกมากมายหลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละประเพณีก็มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม และโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับ ประเพณีของไทย ที่แต่ละท้องถิ่นนั้นก็จะมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นไม่เหมือนกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิต วัฒนธรรมที่แสดงออกถึงจุดเด่นของภูมิภาคนั้น ๆ ต่างหล่อหลอม และยังคงรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ เพื่อสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นเสน่ห์อีกหนึ่งอย่างประเทศไทย ที่ชวนดึงดูดให้ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ได้เข้ามาท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสบรรยากาศด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่งในชีวิต 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รวม 7 ประเพณีของไทย ดังไกลทั่วโลกจนฝรั่งต้องบินมาดูด้วยตัวเอง !

4 ประเพณีของภาคเหนือ ยึดมั่นแต่โบราณ แหล่งเรียนรู้มรดกแห่งชาติพันธุ์

เปิดประวัติ 4 ประเพณีของภาคกลาง ที่หลายคนต้องเอ๊ะมีด้วยเหรอนี่

ที่มา : thaiticketmajor, travel.kapook

บทความโดย

Thanawat Choojit