สวนขวด คืออะไร ? หลายครอบครัวอาจจะสนใจ หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ว่าความจริงแล้วสวนดอกไม้เล็ก ๆ ที่อยู่ในขวดแก้ว หรือโหลต่าง ๆ ความจริงแล้วเรียกว่าสวนขวดนั่นเอง วันนี้แอดจึงอยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่และเจ้าตัวน้อยมาทำสวดขวดกัน จะมีวิธีการอะไรบ้างไปดูกันเลย
สวนขวด คืออะไร ?
สวดขวด หรือ Terrarium เป็นสวนธรรมชาติจำลอง ที่อยู่ในภาชนะที่มีลักษณะเป็นโหลแก้ว ขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก ภายในขวดจะมีสภาพแวดล้อมการอาศัยของต้นไม่ต่าง ๆ สวนขวดจะมี 2 ประเภทคือ สวนขวดแบบเปิด และสวนขวดแบบปิด ซึ่งทั้งสองแบบจะแตกต่างกันที่ สวนขวดแบบปิดจะไม่มีฝาปิดทำให้อากาศจากภายนอกเข้ามาสู่ภายในได้ สวนขวดหรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ สวนธรรมชาติจำลองขนาดเล็ก ที่สามารถตั้งตามโต๊ะ หรือห้องนั่งเล่นได้
ในสวนขวดประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
สวนขวดถูกสร้างจากดิน หิน ถ่านชาร์โคล รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำนวยให้ต้นไม้หรือพืชในขวดเติบโตได้ โดยต้นไม้หรือพืชที่นิยมปลูกจะมีลักษณะเล็ก อย่างเช่น พวกมอส และนอกจากนี้เด็ก ๆ ก็สามารถตกแต่งสวนขวดของตัวเองได้อีกด้วย
ทำไมเด็ก ๆ ถึงควรจัดสวนขวด ?
สวนขวดเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาดูต้นไม้ แต่ยังต้องการธรรมชาติแวดล้อม และด้วยความที่สวนขวดนั้นไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก เพียงรดน้ำแค่ 1 – 2 อาทิตย์ ต่อครั้งเท่านั้น เด็ก ๆ จึงเหมาะสำหรับการจัดสวนขวด และยังช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลาย ได้สนุก และฝึกความคิดในการจัดสวนขวดอีกด้วย
ทำสวนขวดง่าย ๆ เด็ก ๆ ทำได้
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังคิดว่าจะให้ลูกทำสวนขวดดีหรือไม่ หรือกังวลว่าใช้อุปกรณ์เยอะหรือเปล่า ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะสวนขวดทำได้ง่ายมาก ๆ และใช้อุปกรณ์ไม่เยอะเลย โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสวนขวดคือ ดินชนิดแบล็คพีท ชาร์โคล สแฟ็กนัมมอส และหินภูเขาไฟ สำหรับบ้านไหนที่ต้องการทำสวนขวดแบบระบบปิด อาจไม่ต้องใช้อุปกรณ์ หรือต้องไม้ที่มีความพิเศษมากมาย เพราะการมีต้องไม้ในขวดอาจจะต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อมมากขึ้น หรือบ้านไหน ที่ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของการรดน้ำ อาจจะเลือกทำเป็นสวนขวดแบบเปิดก็ได้เช่นดัน เพื่อที่จะได้มีเวลาอยู่ดูแลรดน้ำสวนขวดทุกวัน
วิธีการปลูกสวนขวด
- ล้างทำความสะอาดภาชนะ
ถ้าภาชนะเคยใช้งานมาก่อน ควรล้างทำความสะอาดด้วยสบู่ และล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อกำจัดคราบสกปรก ที่จะทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียที่กำลังเติบโต
- ใส่หินเพื่อช่วยในการระบายน้ำ
ผสมหินกรวดเข้ากับถ่าน ปริมาณประมาณหนึ่งกำมือ นำมาเทลงขวดหรือโหลที่เตรียมไว้ให้ขึ้นมาจากฐานประมาณ 1 นิ้ว
- ใส่มอสและดิน
ต้นมอสจะช่วยป้องกันไม่ให้ดินร่วงผ่านไปถึงชั้นหิน จากนั้นใส่ดินลงไปให้สูงประมาณ 2 นิ้ว แต่ควรคำนึงถึงขนาดของสวนขวดด้วยและความยาวของรากไม้ จะค่อย ๆ กดดินให้แน่นเพื่อไล่ลมและปรับหน้าดินให้เท่ากัน จากนั้นขุดหลุมเล็ก ๆ เพื่อวางต้นไม้
- ใส่ต้นไม้
ค่อย ๆ ขยับต้นไม้ออกจากภาชนะเก่าอย่างเบามือ เพื่อเอาดินส่วนเกินออก จากนั้นค่อย ๆ ใส่ลงไปในหลุมดินที่เตรียมเอาไว้ แล้วโปะดินรอบ ๆ ตบดินเบา ๆ
- ใส่ของตกแต่ง
ในขั้นตอนนี้สามารถใส่หินกรวดเพิ่ม เพื่อทำให้ผิวด้านบนของสวนขวดดูเรียบร้อย จากนั้นให้รดน้ำลงไปเล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็จะได้สวนขวดที่สมบูรณ์แบบของตัวเองแล้ว
การดูแลรักษาสวนขวด
- รดน้ำต้นไม้
ถ้าจัดสวนขวดแบบเปิด สามารถรดน้ำได้บ่อยครั้ง แต่ไม่ควรลดมากจนเกินไป แต่หากทำสวนขวดแบบปิดควรรดน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นไม้ที่เลือกใช้ด้วย เช่น ต้นกระบองเพชรหรือไม้อวบน้ำ ก็ให้น้ำเดือนละ 1 ครั้งพอ
- ทำให้ต้นไม้แข็งแรงตลอดเวลา
ถ้าสังเกตว่าต้นไม้เริ่มเฉา หรือเหี่ยวตาย ควรกำจัดส่วนนั้นออกทันที ไม่งั้นอาจจะทำให้ส่วนอื่น ๆ เน่าตายตามได้
- เปิดให้อากาศถ่ายเทเข้ามาบ้าง
ถ้าสวนขวดเป็นแบบปิด ควรเปิดให้อากาศได้ถ่ายเทเข้าไปบ้าง เพื่อระบายให้ต้นไม้ที่เริ่มเหี่ยว หรือเริ่มมีไอน้ำควบแน่นเกาะข้างขวดได้หายลง
ทำสวนขวดควรคำนึงถึงอะไรบ้าง ?
- เลือกองค์ประกอบของสวนขวด
เลือกดูว่าจะปลูกต้นไม้อะไรบ้าง ให้เลือกต้นไม้ที่ปลูกแล้วสามารถเติบโตได้ง่าย เช่น ต้นเฟิร์น ต้นมอส ไม่อวบน้ำ หรือกระบองเพชร และควรเลือกต้นไม้ที่เล็ก ไม่โตออกมานอกขวด และควรเลือกต้นไม้ที่ทนต่อความชื้นได้สูง
- เลือกภาชนะ
จะต้องเลือกภาชนะที่ทำมาจากแก้วลึกที่รากของต้นไม้สามารถหย่อนลงไปได้ หรือบ้านไหนไม่มีขวดแก้ว ก็สามารถใช้โหลปลาเก่า ๆ มาทำสวนขวดแบบเปิดก็ได้เช่นกันค่ะ
- จัดที่สำหรับวางสวนขวด
ควรมีแสงสว่างส่องผ่าน เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโต และควรเก็บไว้ในห้องที่พอเหมาะ ควรวางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำจนเกินไป และไม่ควรเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบกะทันหัน และเลือกตั้งไว้ในที่ที่ปลอดภัยจากการตกหล่น
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
สอนลูกปลูก ต้นไม้ เสริมสร้างทักษะและพัฒนาการ ผ่านทางการปลูกต้นไม้
ธรรมชาติบำบัด ต้นไม้ในร่มส่งผลกับสุขภาพมนุษย์ 7 ประการ อ้างอิงวิทยาศาสตร์สุขภาพ
9 ต้นไม้ไม่ควรปลูก ในบ้าน อาจส่งผลอันตรายต่อลูกได้ สิ่งที่พ่อแม่ควรระวัง