คนท้องฟันผุ เพราะลูกในท้องแย่งแคลเซียมใช่ไหม ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การดูแลสุขภาพในช่องปากของคุณแม่ท้อง เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกในท้อง เนื่องจากเด็กที่เกิดจากคุณแม่ที่มีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี มักมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีได้เช่นกัน คนท้องฟันผุ จึงเป็นปัญหาช่วงตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย ๆ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะหิวบ่อย เมื่อรับประทานบ่อยขึ้น ทำให้น้ำตาลและเศษอาหารไปติดอยู่ตามซอกฟัน อีกทั้งยังมีข้อสงสัยว่าขาดแคลเซียมเพราะทารกในครรภ์แบ่งแคลเซียมกับแม่เข้าร่างกายนำไปใช้หรือเปล่า

 

คนท้องฟันผุ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

ฟันผุ ฟันกร่อนลง ปวดฟัน นั้นเป็นปัญหาที่พบได้โดยทั่วไปสำหรับคนท้อง โดยเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งฮอร์โมน การรับประทานอาหาร สารอาหาร ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

 

 

  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง

คุณแม่ท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้เหงือก และเนื้อเยื่อภายในช่องปากอ่อนแอ เปราะบาง ไม่แข็งแรงเหมือนก่อน ทำให้เกิดอาการปวด เหงือกอักเสบ หรือเลือดออกตามไรฟันง่าย

  •  ช่องปากอ่อนแอลง

สืบเนื่องมาจากข้อแรก เมื่อภายในช่องปากมีความอ่อนแอ ทำให้การดูแลรักษาฟันทำได้ยากมากขึ้น เพราะการแปรงฟันแบบเดิมก็อาจทำให้มีเลือดออกในช่องปากได้ง่าย คุณแม่ท้องจึงดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปากได้ไม่ทั่วถึงและไม่สะอาดพอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความอยากอาหารตลอดเวลา

อีกหนึ่งสาเหตุอาจมาจากความอยากอาหารที่มีมากขึ้นในช่วงแพ้ท้อง ทำให้กินจุบจิบ หิวบ่อย บางครั้งอาจไม่ได้ทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร ทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัคในช่องปาก เกิดปัญหาฟันผุและปวดฟันตามมา ยิ่งรับประทานขนมหวาน อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ก็ยิ่งทำให้ฟันผุง่าย

  • การอาเจียนก็ทำให้ฟันกร่อน

อาการแพ้ท้องและอาเจียน ทำให้มีกรดออกมาจากกระเพาะอาหารทำให้เกิดการสึกกร่อนของฟันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันตามมา และไม่แนะนำให้แปรงฟันทันทีหลังจากอาเจียนเนื่องจากจะทำให้ฟันสึกมากขึ้นจากการเสียดสี แต่ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์แทน

  • ช่องปากมีหินปูน

หากทำความสะอาดช่องปากไม่สะอาด ก็จะเกิดการสะสมของแบคทีเรียและหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ คุณแม่ท้องจึงควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาในช่วงเวลาตั้งครรภ์ที่เหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง :  แม่ท้องมี เลือดออกตามไรฟัน จะเป็นอันตรายหรือไม่

 

ทารกในครรภ์สามารถแย่งแคลเซียมแม่ได้ไหม?

มีความเชื่อว่าการที่คุณแม่ท้องฟันผุนั้น เนื่องจากต้องสูญเสียแคลเซียมจากฟันคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟันของลูกในท้อง ทำให้คุณแม่ท้องจะมีฟันผุง่าย นั้นเป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องฟันผุ ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานจุบจิบ คุณแม่บางท่านรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย อย่างไรก็ตามโภชนาการของคุณแม่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างฟันของลูกให้สมบูรณ์ เนื่องจากฟันของลูกจะเริ่มสร้างตั้งแต่ที่อายุ 6 สัปดาห์ในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • แคลเซียมจากคุณแม่จะถูกนำไปสร้าง หัวใจ กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ กระดูก และฟันในช่องปากของทารก
  • ทารกสามารถดึงแคลเซียมผ่านรกจากคุณแม่ได้ 50% หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย ก็จะทำให้คุณแม่ขาดแร่ธาตุในส่วนนี้ไป
  • คุณแม่จึงจำเป็นต้องเสริมแคลเซียมจาก 800 มิลลิกรัมเป็น 1,200 มิลลิกรัม เพื่อแบ่งกับทารกในครรภ์

 

คนท้องสามารถป้องกันฟันผุได้อย่างไร ?

การที่คนท้องฟันผุ ถือเป็นปัญหาที่พบได้มากถึง 90.3% เนื่องจากมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกและภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่คุณแม่ท้องอย่าเพิ่งกังวล เพราะถ้าดูแลช่องปากได้ดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุได้ แนวทางในการป้องกันฟันผุในคนท้อง เช่น

  • เมื่อทราบว่าตั้งท้อง หรือหากว่าวางแผนไว้ว่าจะตั้งท้อง คุณแม่ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพช่องปากและดูแลช่องปากให้เรียบร้อย
  • การตรวจช่องปากให้ละเอียดก่อนตั้งครรภ์สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุหรืออาการเหงือกอักเสบ
  • ห้ามลืมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และทำความสะอาดช่องปากเสมอหลังมื้ออาหารทุกมื้อ
  • คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่และปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้มีการสร้างฟันน้ำนมของลูกที่สมบูรณ์
  • หากพบว่ามีอาการปวดฟันตอนท้อง ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทำฟัน คือช่วงเดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์
  • คุณแม่ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยในการทำความสะอาดฟันก่อนแปรงฟันทุกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง: เสริมแคลเซียมของแม่ท้อง แหล่งแคลเซียมสำหรับคนท้อง เสริมแม่ท้อง!

 

คนท้องสามารถรับบริการทันตกรรมได้ไหม ?

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำฟันได้ แต่ควรเป็นช่วงระหว่างตั้งครรภ์ 4-6  เดือน (ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์) โดยคุณแม่สามารถรับบริการทำฟันอย่าง อุดฟัน ขูดหินปูน ครอบฟัน รักษารากฟัน หรือแม้แต่ถอนฟันได้ ซึ่งยาชา เช่น Lidocaine สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ ส่วนการถ่ายภาพเอกซเรย์ฟันนั้น ทันตแพทย์จะถ่ายภาพเอกซเรย์เฉพาะบริเวณที่มีความจำเป็นเท่านั้น ร่วมกับการใส่เสื้อกันรังสี ส่วนการทำฟันในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 3 นั้น ทันตแพทย์จะให้การรักษาเฉพาะกรณีฉุกเฉิน ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และรับการรักษาหากตรวจพบว่ามีความผิดปกติ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ เพื่อช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพช่องปากที่ดี และลดการถ่ายทอดเชื้อจากช่องปากคุณแม่ไปสู่ลูกได้ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

การดูแลความสะอาดในช่องปากตอนตั้งครรภ์

การมีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากปัญหาของฟันในระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมของแม่ท้องดีตามไปด้วยนะคะ เรามาดูกันว่าตอนท้อง เราจะดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างไรดี

  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

หมั่นดูแลสุขภาพภายในช่องปาก แปรงฟันให้สะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหาร ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันก่อนการแปรงฟัน และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 – 4 เดือน

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของคนท้อง

การเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1,500 ppm ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุได้ คุณแม่ท้องสามารถปรึกษาคุณหมอฟันถึงความจำเป็นในการใช้น้ำยาบ้วนปาก บางท่านอาจจะต้องใช้น้ำยาบ้วนปากทุกวัน (เลือกชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์) โดยเฉพาะหลังจากอาเจียน

  • เสริมแคลเซียมให้เพียงพอ

นอกจากรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีประโยชน์ อย่าลืมเน้นอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดีให้มากขึ้น

  • ระวังกรดไหลย้อนที่สามารถทำลายฟันได้

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการของกรดไหลย้อน หรือแพ้ท้องอาเจียนบ่อย ควรบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ทันทีหลังจากที่อาเจียนแทนการแปรงฟัน ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้เนื้อฟันแข็งขึ้นและลดอาการเสียวฟันได้

  • หมั่นตรวจฟันเสมอ

อย่าลืมตรวจช่องปากกับหมอฟันทุกไตรมาส หากมีอาการปวดฟันตอนท้องให้เข้ารับการตรวจฟันได้ตามปกติ ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำฟัน คือ เดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ หรือไตรมาสที่สองอย่างที่กล่าวในข้างต้น หากปล่อยไว้นานจะเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

แม้ว่าการดูแลสุขภาพจะสำคัญกับทุกคนอยู่แล้วในสภาวะปกติ หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการฟันผุ ควรรีบวางแผนการรักษาให้เร็วที่สุดเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นานคุณแม่เริ่มมีครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้ารับการรักษา ต้องตระหนักไว้เสมอว่า การดูแลรักษาช่องปากและฟันให้ดียิ่งขึ้นในระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ ก็จะยิ่งเป็นการช่วยให้คุณและลูกน้อยปลอดภัย และมีสุขภาพที่สมบูรณ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 น้ำยาบ้วนปากสำหรับคนท้อง ช่วยให้ฟันขาวสะอาด ไร้คราบหินปูน

5 ยาสีฟันเด็ก ที่ดีที่สุด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ

เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!