เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง?
ท้องไตรมาสแรก เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเพราะเป็นก้าวแรก และ ก้าวสำคัญมากๆสำหรับแม่ท้อง หลายคนที่ท้องแรก ไม่รู้การปฏิบัติต่อตัวเอง หรือ คนรอบข้างก็ไม่รู้จะทำยังไงกับแม่ท้องอ่อน วันนี้เรามี เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ท้องไตรมาสแรก ดูแลตัวเองยังไง? มีอะไรบ้างที่ควรรู้และมีอะไรที่ควรทำความเข้าใจกับแม่ท้องอ่อนมาดูกันเลยค่ะ
การเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์นั้นมีหลากหลาย ดังนั้นการดูแลตัวเอง เป็นวิธีที่ดีมากๆ สำหรับแม่ท้องในไตรมาสแรก เพราะการตั้งครรภ์ที่มีความสุขและสุขภาพดีเป็นกุญแจสำคัญของการท้องในไตรมาสแรก ตั้งแต่การกินอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกายในไตรมาสแรก รวมถึงสุขภาพจิตที่ดี วันนี้เรารวบรวมมาให้ทุกคนแล้ว
เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแลคุณแม่ท้องอ่อน ท้องไตรมาสแรก ดูแลตัวเองยังไง?
1.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย เสริมกรดโฟลิค
กรดโฟลิกนั้นสำคัญมาก โดย โฟลิก เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี ที่ละลายได้ในน้ำ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนท้องและลูกในครรภ์ โดย กรดโฟลิก จะช่วย ลดโอกาสการเกิด และการเกิดซ้ำความพิการแต่กำเนิดของหลอดประสาท ได้ร้อยละ 70, ลดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้ร้อยละ 25-50, ลดความผิดปกติของแขน ขา ได้ร้อยละ 50, ลดความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะและโรคไม่มีรูทวารหนัก ได้ประมาณ 1 ใน 3, ลดโอกาสการเกิดปากแหว่ง ได้ประมาณ 1 ใน 3 และนอกจากนั้นยังช่วยลดการเกิดภาวะทารกในครรภ์โตช้า และโรคออทิสติก (autism)
2.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย ก่อนกินยาตรวจสอบฉลากทุกครั้ง
วิธีใช้ยา สำหรับคนท้องนั้นสำคัญมากโดยเฉพาะคนท้องอ่อนๆ เพราะการกินยานั้นจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะกินยาทุกครั้งควรจะดูฉลากว่าคนท้องกินได้ไหม หรือ ตรวจสอบการกินยากับเภชัสกร
3.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย ขิงช่วยอาการแพ้ท้องได้ดีมาก
สำหรับอาการคนท้องยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกนั้น ผู้หญิงหลายต่อหลายคนถือว่าเป็นช่วงที่ทรมานที่สุด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์สูงมาก อีกทั้งตัวอ่อนในท้องก็มีการเจริญเติบโตสร้างอวัยวะต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และ หนึ่งใน อาการยอดฮิตของแม่ในไตรมาสแรกนั้นคือ อาการแพ้ท้อง ทั้งอาเจียน เวียนหัว จมูกไว และ ชอบกินอาหารแปลกๆ การวิจัยเผยว่าในขิงมีสารอาหารบางอย่างที่จะช่วยให้หายปวดท้อง และจะมีผลดีในการช่วยอาการแพ้ท้อง โดยแม่ท้องสามารถเลือกทานได้ว่าจะกินขิงแบบไหน มีทั้งน้ำขิงร้อน น้ำขิงเย็น น้ำขิงโซดา และการทานขิงจริงๆก็ช่วยดีเหมือนกัน รวมถึงยาแคปซูลขิงก็จะลดอาการแพ้ท้องด้วย
4.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย ไม่ควรสูบบุหรี่หรืออยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ตอนท้อง อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกในท้องสมองช้า หรือพิการได้ ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสแท้งและคลอดลูกก่อนกำหนด โดยเฉพาะควันบุหรี่มือสอง ซึ่งก็คือคือควันบุหรี่ที่ผู้สูบคนนั้นพ่นออกมา รวมถึงควันที่เกิดจากการเผาไหม้บุหรี่ในระยะเวลาสั้น ๆ นั่น เมื่อคุณแม่สูดดมควันบุหรี่เข้าไป ควันจะไหลเข้าสู่รก ทำให้ลูกน้อยได้รับควันบุหรี่ไปเต็มๆ ค่ะ
5.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย งดแอลกอฮอล์
คุณแม่ที่ดื่มเหล้าระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ จึงมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดลูกน้อยที่มีผิดปกติในกลุ่มอาการของทารกที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ เรียกว่า Fetal Alcohol Spectrum Disorder (FASD) ซึ่งความรุนแรงของผลกระทบขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังรบกวนการรับออกซิเจนและสารอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่างๆ อีกด้วย
6.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย งดคาเฟอีน
มีคำแนะนำจาก The American Dieteric Association ปี 2002 เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในระหว่างตั้งครรภ์ ควรจำกัดอยู่ที่น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออย่างน้อยประมาณ 1-2 แก้ว ซึ่งในปัจจุบันมีกาแฟหลายชนิด กลิ่นหอมเตะจมูก ที่มีปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน เช่น โกโก้ ชา ช็อคโกแลต หรือน้ำอัดลมบางชนิดก็ยังมีคาเฟอีนผสมในระดับที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นหากต้อง การดื่มกาแฟ ในตอนท้องก็ควรเช็กดูว่ากาแฟที่ดื่มปกติทุกวันอยู่นั้นมีปริมาณคาเฟอีนผสมอยู่เท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณแม่ที่ติดกาแฟหายกังวลลงไปได้ แต่ทั้งนี้ถ้าหากลดปริมาณลงไปได้หรือเลิกดื่มในช่วงตั้งครรภ์ แล้วหันมาดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้ ที่รับรองว่าดีต่อสุขภาพคุณแม่และลูก ในครรภ์ชัวร์ ๆ ค่ะ
7.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย ให้คู่รักมาช่วยเหลือบ้าง
ในช่วงตั้งครรภ์ใครว่าเป็นเรื่องของแม่คนเดียว ไม่จริงเลยค่ะยิ่งคุณพ่อมาช่วยเหลือในการดูแลเราเท่าไหร่ก็จะทำให้ทั้งสองคนเข้าใจและจับมือกันผ่านสถานการณ์นี้ไปได้มากเท่านั้น เพราะฉะนั้นให้คู่รักมาช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ก็จะทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นมากเท่านั้น
8.การดูแลคุณแม่ท้องอ่อนโดย การออกกำลังกายในช่วงท้องอ่อน
- สัปดาห์ที่ 1 และ 2 วิทยาลัยสูตินรีแพทย์ของอเมริกา บอกว่าการตั้งครรภ์ไม่ควรถูกมองว่าเป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นคุณแม่ขา ออกกำลังกายได้นะคะ
- สัปดาห์ที่ 3 น้ำหนักที่ขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้นอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จริงค่ะ แต่ควรจะทำให้มันเป็นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว ไม่ใช่ถาวร ขึ้นแล้วขึ้นเลย
- สัปดาห์ที่ 4 การออกกำลังกายตอนท้องนั้น ช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี
- สัปดาห์ที่ 5 คนท้องหากไม่รู้ว่าจะออกกำลังกายอย่างไร การว่ายน้ำถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัยสูง กระทบกระเทือนน้อย และคุณแม่จะรู้สึกสบายเมื่ออยู่ในน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกายของคุณแม่เอาไว้ค่ะ
- สัปดาห์ที่ 6 หากคุณแม่แพ้ท้อง ควรอออกกำลังกายหรือไม่ คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ไหวไหม เนื่องจากคุณแม่แต่ละคนก็แตกต่างกันค่ะ
- สัปดาห์ที่ 7 หากคุณแม่มุ่งมั่นในการออกกำลังกายตอนท้องแล้วละก็ คุณแม่จะหาเวลาออกกำลังจนได้ค่ะ แม่ว่าตารางจะแน่นเอียดแล้วก็ตาม
- สัปดาห์ที่ 8 คุณแม่ที่คิดว่าจะออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอถึงเรื่องความพร้อมของร่างกายคุณแม่ด้วยนะคะ
- สัปดาห์ที่ 9 หากคุณแม่ห่างหายการออกกำลังกายมาสักพักแล้ว การเริ่มออกกำลังกายใหม่อีกครั้งนึงตอนท้อง ก็เป็นเรื่องที่ดีค่ะ
- สัปดาห์ที่ 10 กีฬาบางอย่างก็ค่อนข้างเสี่ยงที่จะเล่นในช่วงตั้งครรภ์ค่ะ ดังนั้นควรเลือกกีฬาที่มีความเสี่ยงต่ำเข้าไว้
- สัปดาห์ที่ 11 คุณแม่ควรจะออกกำลังกายเป็นประจำ มากกว่าการออกกำลังกายอย่างหนักในวันนี้ และออกอีกครั้งในสัปดาห์ต่อไปค่ะ
- สัปดาห์ที่ 12 จงหาแรงบันดาลใจที่จะออกกำลังกาย เพื่อทำให้การออกกำลังกายตอนท้องสนุกมากขึ้น
- สัปดาห์ที่ 13 ไม่มีข้อกำหนดว่าคุณแม่ต้องดื่มน้ำเท่าไหร่ในช่วงที่ออกกำลังกาย แต่ก็ดื่มบ่อยได้เท่าที่ต้องการค่ะ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
ที่มา : babycentre
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทำไมเด็ก ๆ ถึงทะเลาะกัน สาเหตุการทะเลาะกันในเด็ก วิธีการแก้ไขการทะเลาะกัน
ทำไมคนท้องนอนไม่หลับ ไขข้อสงสัยท้องไตรมาสแรกทำไมหลับยาก
คนท้องเป็นไข้ อันตรายกว่าที่คิด วิจัยเผย แม่ท้องไข้ เสี่ยงทำให้ลูกเป็นออทิสติก