พาลูกขึ้นรถไฟ เตรียมตัวอย่างไร ไม่ให้ลูกงอแงรบกวนผู้อื่น?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังจะพาเด็ก ๆ นั่งรถไฟครั้งแรก ก็อาจเป็นกังวลกลัวว่าลูกเราจะเสียงดัง งอแง รบกวนผู้อื่น และอาจสงสัยว่าต้องทำอย่างไรให้ลูกเดินทางด้วยรถไฟโดยไม่วุ่นวาย อย่าพึ่งกังวลไปนะคะ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักวิธีการ พาลูกขึ้นรถไฟ อย่างไรไม่ให้ลูกรบกวนเพื่อนร่วมทาง พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

พาลูกขึ้นรถไฟ เตรียมตัวอย่างไรดี?

หากใครที่กำลังกังวลใจกลัวว่าลูกจะงอแง รบกวนผู้อื่นตอนนั่งรถไฟ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เรามาดูวิธีการเตรียมตัวที่จะช่วยลดการวุ่นวายของลูก และช่วยให้เขารู้สึกดีไปกับการเดินทางกันดีกว่าค่ะ

 

1. จองตั๋วรถไฟล่วงหน้า

เด็กอาจจะรู้สึกงอแงเมื่อพวกเขารู้สึกหิว และง่วงนอนตอนเดินทาง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรจองตั๋วรถไฟล่วงหน้า เพื่อวางแผนไม่ให้รบกวนเวลานอนของลูก เพราะหากเดินทางตอนกลางคืน หรือตอนกลางวัน ลูกอาจรู้สึกง่วง จนงอแง ร้องไห้ออกมาได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาช่วงเวลาออกเดินทางที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ลดโอกาสการงอแงของลูกได้ค่ะ

 

2. เตรียมสิ่งของที่จำเป็น

การเตรียมสิ่งของที่จำเป็นของลูก ถือเป็นสิ่งพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมไว้เป็นอย่างดี เพราะการเดินทางด้วยรถไฟนาน ๆ ก็หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับลูกบนนั้นนั่นเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้ากันเปื้อน ผ้าคลุมให้นม ขวดน้ำเด็ก ผ้าอ้อม เสื้อผ้าลูก และถุงพลาสติก เป็นต้น เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด

 

3. เตรียมยารักษาโรค

อีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง คือการเตรียมยารักษาโรคให้พร้อม เพราะลูกอาจมีอาการป่วยขึ้นได้ โดยเฉพาะอาการเมารถ ดังนั้นคุณแม่จึงควรพกยารักษาโรคต่าง ๆ เตรียมไว้ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้เมารถ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก น้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อ ผ้าพันแผล และสำลี เป็นต้น นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพกเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ไว้ด้วย เผื่อในกรณีที่ต้องโทรติดต่อในช่วงการเดินทางค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. ปรึกษากับแพทย์ก่อนเดินทาง

หากลูกมีโรคประจำตัว คุณพ่อคุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อจะได้ตรวจร่างกายของเด็กว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีน หรือรับยาไหม เพราะเมื่อถึงเวลาที่ลูกมีอาการ คุณพ่อคุณแม่อาจหายารักษาได้ยาก ดังนั้นหากลูกของคุณมีประวัติเป็นภูมิแพ้ มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และเคยมีอาการเมารถมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาที่จำเป็นสำหรับการเดินทาง

บทความที่เกี่ยวข้อง : พาลูกขึ้นรถเมล์ครั้งแรก ทำอย่างไร? อะไรคือสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ใช้เป้อุ้มเด็ก

สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกนั่งบนเป้อุ้มเด็ก แทนการใช้รถเข็นได้ เพราะการใส่เป้อุ้มเด็กนั้น จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ติดกับลูกตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงที่สถานีรถไฟมีคนพลุกพล่าน ลูกอาจเกิดการหลงได้ ดังนั้นการใส่เป้อุ้มเด็ก จะคอยช่วยให้คุณพ่อคุณแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา และช่วยให้สะดวกในการหยิบจับสัมภาระเพิ่มมากขึ้น

 

6. เตรียมขวดนม และอาหารของลูก

แน่นอนว่าการรับประทานอาหารเป็นรถไฟ อาจเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นให้คุณแม่เตรียมขวดนม ผ้ากันเปื้อน หรือผ้าคลุมให้นมให้พร้อม เพื่อที่จะได้ให้ลูกรับประทานอาหารตรงตามเวลา นอกจากนี้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีเด็กโต ควรทำอาหาร และพกขนมไว้ให้พวกเขาได้รับประทานด้วย โดยอาจทำใส่กล่องอาหารง่าย ๆ เพื่อให้สะดวกแก่การทำความสะอาด และง่ายต่อการทิ้ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. เตรียมของเล่นลูก

เมื่อถึงเวลาเดินทาง ลูกอาจมีอาการงอแง หรือรู้สึกเบื่อเพราะไม่มีอะไรทำ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเล่นของเล่นชิ้นโปรด อ่านหนังสือ และดูการ์ตูนในโทรศัพท์ หรือไอแพด ก็จะช่วยให้พวกเขาอารมณ์ดี และแฮปปี้ตลอดการเดินทางได้ แต่หากลูกยังรู้สึกเบื่อ ให้ลองชวนลูกชมวิวนอกหน้าต่าง ก็อาจจะช่วยให้เด็กรู้สึกตื่นเต้น และแฮปปี้มากขึ้นได้ค่ะ

 

8. อย่ากังวลมากจนเกินไป

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกกังวล กลัวว่าลูกจะงอแง ร้องไห้บนรถไฟจนรบกวนผู้อื่น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเครียดมากจนเกินไปนะคะ หากลูกเกิดร้องไห้บนรถไฟ ให้พยายามปลอบพวกเขาให้หยุดร้องได้มากที่สุด ให้แสดงว่าคุณได้ทำหน้าที่ของพ่อแม่อย่างเต็มที่ ก็อาจจะช่วยให้ผู้โดยสารท่านอื่นรู้สึกสบายใจ และเห็นอกเห็นใจได้มากขึ้นค่ะ

 

เคล็ดลับการช่วยให้ลูกนั่งรถไฟโดยไม่งอแง

เมื่อถึงเวลาเดินทาง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจกังวลว่าลูกอาจจะรู้สึกเบื่อไหม และอาจสงสัยว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะให้ลูกนั่งรถไฟได้นาน ๆ เรามาดูเคล็ดลับการช่วยให้ลูกนั่งรถไฟโดยไม่งอแงกันค่ะ

 

1. มาถึงก่อนเวลา

การมาถึงสถานีรถไฟก่อนเวลา จะช่วยให้ลูกได้คุ้นชินกับรถไฟมากขึ้น ซึ่งบางครั้งรถไฟบางขบวน อาจไม่อนุญาตให้จองตั๋ว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมาถึงก่อนเวลา เพื่อทำการซื้อตั๋ว และปล่อยให้ลูกได้รู้สึกคุ้นชินกับรถไฟ ก็จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้แก่พวกเขา และพร้อมที่จะขึ้นรถไฟอย่างทันเวลา

 

2. หลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงวันหยุด

อย่างที่รู้กันดีกว่า การเดินทางในวันหยุด เป็นอะไรที่วุ่นวายมาก เพราะฉะนั้นการเดินทางในช่วงวันธรรมดา จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้พร้อมรับมือกับลูก และช่วยให้ลูกเลิกงอแงได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ลูกได้ใช้เวลาอยู่บนรถไฟ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจมากจนเกินไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมตัวพาลูกเดินทาง ขึ้นเครื่องบินอย่างไรให้ปลอดภัย หลังจากวิกฤติโควิด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ชวนลูกชมวิวข้างทาง

เชื่อหรือไม่ว่าการชวนลูกชมวิวข้างทางริมหน้าต่าง จะช่วยให้ลูกหายงอแง และรู้สึกเพลิดเพลินมากขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่อาจบอกพวกเขาแต่ละจุดว่า ตรงนี้คืออะไร ตรงนี้คือจังหวัดไหน เพื่อให้พวกเขาได้รู้สึกตื่นเต้นไปทุกขณะการเดินทาง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้พูดคุยกับลูกมากขึ้นด้วย

 

4. ปล่อยให้ลูกได้เดินเล่นบนรถไฟ

บางครั้งการปล่อยให้ลูกได้เดินเล่นบนรถไฟ ก็ช่วยให้พวกเขารู้สึกสนุก ไม่น่าเบื่อ หรืองอแงได้ ดังนั้นลองปล่อยให้ลูกได้เดินภายในรถไฟตู้เดียวกัน ก็จะลดโอกาสในการงอแงของเขาได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม หากลูกเกิดอาการวุ่นวาย วิ่งเล่น เสียงดัง คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปอุ้มเขากลับมาที่นั่งนะคะ เพราะอาจเป็นการรบกวนผู้โดยสารคนอื่นได้

 

5. เตรียมที่นั่งให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมที่นั่งของลูก โดยการใช้หมอน และผ้าห่มผืนเล็ก ให้เขารู้สึกเหมือนนอนอยู่ที่บ้าน วิธีนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับรถไฟเร็วขึ้น และช่วยให้ลูกอยากอยู่กับที่นั่ง ไม่ลุกไปไหน คุณพ่อคุณแม่อาจอ่านนิทานให้ลูกฟังเสริมด้วย เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้แก่พวกเขาค่ะ

 

พาลูกขึ้นรถไฟ อาจสร้างความกังวลใจให้แก่คุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะการพาลูกนั่งครั้งแรก อย่างไรก็ตาม การนั่งรถไฟอาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเด็กอยากที่คิด ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว และของเล่น เพื่อที่ลูกจะได้รู้สึกดี และแฮปปี้ตลอดการเดินทางค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พาลูกเที่ยว เดินทางไกล ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

นั่งคาร์ซีทอย่างไร ให้ปลอดภัย และวิธีรับมือ ลูกงอแงเวลานั่งคาร์ซีท

คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ต้องทำอย่างไร คนท้องกี่เดือนห้ามเดินทางไกล

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้มั๊ย? คนท้องที่จำเป็นจะต้องเดินทางโดยเครื่องต้องทำยังไง

ที่มา : parenting.firstcry, whattoexpect

บทความโดย

Sittikorn Klanarong