ตากุ้งยิง เป็นยังไง? ลูกเป็นตากุ้งยิงจะบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ไหม ?

ลูกเป็นตากุ้งยิงจะทำยังไงดี คุณแม่จะบรรเทาอาการและดูแลน้อง ๆ ที่เป็นตากุ้งยิงได้ยังไงบ้าง (ภาพโดย jcomp จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตากุ้งยิง เป็นสิ่งที่ใครก็ไม่อยากเป็น เพราะทำให้ตาระคายเคือง และทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หากลูกเป็นตากุ้งยิงจะทำยังไงดี อาการแบบไหนที่เรียกว่าตากุ้งยิง บรรเทาอาการได้ยังไงบ้าง วันนี้เราจะมาดูกัน

 

ตากุ้งยิงเป็นยังไง

ตากุ้งยิง เกิดจากการที่รูขุมขนบริเวณขนตาติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) โดยตากุ้งยิงนั้น ถือเป็นหนึ่งในอาการที่เด็กมักเป็นกันบ่อย ๆ หากเป็นตากุ้งยิง ก็มักจะมีอาการ เช่น

 

  • มีก้อนเนื้อเล็ก ๆ สีแดงขึ้นที่บริเวณดวงตา ทำให้รู้สึกเจ็บ และกะพริบตาลำบาก
  • ตาบวม และอาจมีน้ำตาไหลในบางครั้ง
  • มีหนองไหลออกมาจากบริเวณที่เป็นตากุ้งยิง

 

หากเด็ก ๆ เป็นตากุ้งยิงก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเด็กส่วนใหญ่ เป็นตากุ้งยิงไม่นาน และก็หายได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน อีกทั้งตากุ้งยิงก็ไม่ใช่ภาวะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อดวงตาอย่างร้ายแรง และส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรคทางสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากเด็ก ๆ เป็นตากุ้งยิงอย่างรุนแรง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อใต้ผิวหนัง จนทำให้บริเวณที่ติดเชื้อแดง บวม อักเสบ แสบร้อน และเจ็บปวด โดยเด็กบางคน อาจมีไข้เกิดกับอาการเหล่านี้ด้วย ซึ่งเมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์ก็อาจแนะนำให้เด็กรับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) และยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) เพื่อบรรเทาอาการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : การแพทย์เผย โรคตาขี้เกียจ โรคที่เป็นมากในเด็ก

 

วิธีดูแลเด็กที่เป็นตากุ้งยิง เบื้องต้นง่าย ๆ

อาการตากุ้งยิง เกิดขึ้นได้บ่อยกับเด็ก อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนนั้น มีความเสี่ยงท่ีจะเป็นตากุ้งยิงได้มากกว่าเด็กทั่วไป หากว่าเด็กเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคผิวหนังเซ็บเดิร์ม (Seborrheic) หรือโรคโรซาเชียอยู่ (Rosacea) รวมทั้งในขณะที่เป็นตากุ้งยิง เด็กก็อาจกะพริบตาได้ลำบาก มองเห็นได้ไม่สะดวก หรือเคืองตา ซึ่งคุณแม่อาจช่วยน้อง ๆ บรรเทาอาการที่เกิดจากตากุ้งยิงได้ ดังนี้

 

  • ประคบร้อน และนวดเบา ๆ เพื่อระบายหนองออกจากตากุ้งยิง ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ๆ และนวดบริเวณที่เกิดตากุ้งยิงประมาณ 2 นาที ทำซ้ำวันละ 3 ครั้ง แต่ไม่ควรพยายามบีบหนองออกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ตาอักเสบและบวมได้
  • นำผงขมิ้นไปผสมน้ำเล็กน้อย และทาบริเวณที่เกิดตากุ้งยิงเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำขมิ้นอุ่น ๆ ประคบตรงที่เป็นตากุ้งยิงก็ได้
  • ใช้ถุงชาอุ่น ๆ ประคบตรงที่เป็นตากุ้งยิง 10 นาที โดยทำวันละ 5 ครั้ง ซึ่งวิธีน้ีอาจช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้
  •  หากเป็นตากุ้งยิงที่บริเวณตาด้านนอก อาจทาน้ำมะพร้าวลงบนบริเวณนั้นด้วยก็ได้ เพราะน้ำมะพร้าวอาจมีส่วนช่วยไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ
  • ให้เด็กใช้ผ้าเช็ดมือแยกจากคนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • สอนให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ อีก
  • ไม่ให้เด็กสัมผัสบริเวณดวงตา หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
  • ให้เด็กล้างหน้า และล้างบริเวณดวงตาให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ห้ามไม่ให้เด็กขยี้ตา หรือจับบริเวณที่เป็นตากุ้งยิง เพราะอาจทำให้บริเวณนั้นอักเสบ
  • ไม่ให้เด็กแต่งหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่บริเวณอื่น
  • เมื่อเด็กต้องไปที่ ๆ มีฝุ่นเยอะ ควรให้เด็กสวมแว่นตากันแดดเพื่อกันฝุ่นเข้าตา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : กวาง กมลชนก ฝากเตือน ลูกเป็นตากุ้งยิงเพราะชอบขยี้ตา

 

เมื่อเด็กเป็นตากุ้งยิง ไม่ควรให้เด็กสัมผัสบริเวณดวงตา หากยังไม่ได้ล้างมือ (ภาพโดย 8photo จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อใดที่ควรไปเด็กไปพบแพทย์

แม้ว่าตากุ้งยิงส่วนใหญ่ จะไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อเด็ก แต่หากเด็ก ๆ เป็นตากุ้งยิงมาแล้วเกินกว่า 3 วัน มีไข้ ปวดศีรษะ หรือเบื่ออาหาร คุณแม่ควรพาเด็กเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาและวินิจฉัยอาการจะดีที่สุด ซึ่งคุณแม่ควรจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กให้ละเอียด เพื่อที่ว่าจะได้สามารถบอกอาการของเด็กกับคุณหมอได้ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อการตรวจโรค รวมทั้งควรจดคำถามที่อยากถามคุณหมอ หรือจดคำแนะนำจากคุณหมอเอาไว้ด้วยกันลืม

 

เมื่อเข้าพบหมอ หมอบางท่านอาจดึงขนตาของเด็กออก เพื่อให้น้ำหนองระบายออกมาได้ และช่วยทำให้เด็กหายจากตากุ้งยิงได้ไวยิ่งขึ้น หรือหมออาจให้เด็กทานยา เพื่อยับยั้งไม่ให้เชื้อกระจายไปบริเวณอื่น ๆ ในดวงตา อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนไหนเป็นตากุ้งยิงซ้ำ ๆ หมอก็อาจแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดตากุ้งยิงได้อีกในอนาคต

 

แม้ว่าตากุ้งยิงจะเกิดขึ้นได้บ่อยกับเด็ก และไม่ได้ก่อให้เกิดโรคร้าย แต่คุณแม่ก็ควรดูแลน้อง ๆ ไม่ให้เป็นตากุ้งยิงได้ง่าย หรือเป็นตากุ้งยิงได้บ่อย ๆ นะคะ หากครั้งไหนที่แผลตากุ้งยิงของเด็กอักเสบมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังที่ได้บอกไปได้ ทำให้เด็กไม่สามารถใช้ชีวิตได้สนุกและมีความสุขเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ระวังตาติดเชื้อ และ ตากุ้งยิงในเด็ก! อันตรายใกล้ตัวแม่จ้องช่วยระวัง
ทารกขี้ตาเขรอะ ตาแฉะ ลืมตาลำบาก แม่ลองสังเกต ลูกขี้ตาสีนี้เป็นโรคอะไรหรือเปล่า
ลูกตาแฉะ ตื่นมาขี้ตาเขรอะ จะหาวิธีแก้ยังไงดี?

ที่มา : raisingchildren.net.a urmc.rochester.edu  ,  momjunction.com , momjunction.com ,  mamastory.net

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanokwan Suparat