ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

คุณไม่สามารถคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงคลอดลูก ผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถคลอดลูกได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนกับแม่และเด็ก แต่บางส่วนก็พบกับภาวะทารกเครียดในระหว่างคลอดซึ่งก็พบไม่บ่อยมากนัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณเเม่ส่วนใหญ่สามารถคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย แต่บางส่วนก็พบกับ ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด หรือ fetal distress คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้

 

ภาวะทารกเครียด คืออะไร

Fetal Distress หรือ ภาวะทารกเครียด เป็นการบ่งบอกว่า ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะที่อันตราย เกิดจากการที่ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนจากเลือดของมารดาไม่เพียงพอ โดยภาวะเครียดของทารกในครรภ์นั้น ถือเป็นภาวะที่อันตราย หากให้การช่วยเหลือให้ทารกคลอดไม่ทันท่วงที ก็อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการทางสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจนได้

 

ความเครียดของทารกในครรภ์ มีกี่ประเภท

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ความเครียดเฉียบพลัน

คือ การเกิดปัญหาอย่างกะทันหัน ส่วนมากเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของคุณแม่ เช่นการลื่นล้ม หรือเกิดการกระแทกรุนแรงบริเวณครรภ์ ซึ่งแรงกระทบกระเทือนเหล่านี้จะส่งผลให้รกเกิดการลอกตัว ทำให้ทารกในครรภ์ขาดอากาศ ในรายที่เกิดการกระแทกรุนแรง อาจส่งผลทำให้ทารกจะขาดอากาศและเสียชีวิตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.ความเครียดเรื้อรัง

สาเหตุมักเกิดจากสุขภาพร่างกายของคุณแม่เป็นหลัก เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคที่ทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง เป็นต้น อาการเหล่านี้ก็ทำให้สารส่งสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ทำได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการช้า ไม่แข็งแรง และอาจสูญเสียการตั้งครรภ์ได้

 

ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สาเหตุของภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

    • ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะเกี่ยวเนื่องกับความดันโลหิตสูงของหญิงตั้งครรภ์
    • ภาวะเบาหวานตอนตั้งครรภ์
    • แม่ท้องที่มีภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
    •  แม่ท้องที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด ทำให้สายสะดือถูกกดทับกับส่วนต่าง ๆ ของทารก ส่งผลให้เส้นเลือดถูกอุดกั้น เลือดจึงไปเลี้ยงลูกในครรภ์ได้น้อยลง
    • ปัญหาเรื่องเลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์ เช่น รกในครรถ์ทำงานไม่เป็นปกติหรือมีปัญหากับสายสะดือ
    • การตั้งครรภ์ที่เจ็บท้องคลอดที่นานกว่าปกติร่วมกับอาการรัดตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว
    • เมื่ออายุครรภ์เกินกำหนดหรือแม่มีอายุเกิน 35 ปี
    • เด็กติดอยู่ที่ช่องคลอดนานเกินไป มีการตั้งครรภ์เกินกำหนด ส่งผลให้รกเสื่อมและประสิทธิภาพในการส่งเลือดไปเลี้ยงทารกไม่ดี
    • แม่ท้องที่ได้รับยากระตุ้นการบีบตัวของมดลูกมากเกินไป ทำให้เส้นเลือดมดลูกหดตัว ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงรกและทารกในครรภ์เป็นเวลานาน
    • ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ระหว่างคลอด เช่น ออกซิโตซิน ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภาวะการเต้นของหัวใจของเด็กในครรภ์

 

จะทราบได้อย่างไรว่าทารกเครียดระหว่างคลอด

ในระหว่างการคลอด คุณหมอจะดูอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติอย่างจังหวะการเต้นของหัวใจหรือความถี่ ถ้าคุณหมอเกรงว่าจะมีความผิดปกติ คุณหมอจะใช้ใส่เครื่องมือตรวจความผิดปกติภายในแบบอิเลคทรอนิคเพื่อเฝ้าดูอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เครื่องมือนี้จะสอดเข้าไปทางช่องคลอดเมื่อน้ำคล่ำแตก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจอื่น ๆ เพื่อตรวจหาภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

  • ขี้เทาในน้ำคล่ำที่สามารถขัดขวางระบบการหายใจของทารกในครรภ์และทำให้เกิดปัญหาการหายใจหลังการคลอด
  • คุณหมออาจต้องการเก็บเลือดของทารกในครรภ์โดยใช้หลอดสอดไปทางช่องคลอด คุณหมอจะตรวจหาระดับอ๊อกซิเจนในเลือดเพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี

การตรวจอัลตร้าซาวน์สามารถบอกได้ว่าทารกในครรภ์มีสายสะดือพันคอหรือไม่ สาเหตุนี้ช่วยเรื่องปัญหาเลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์อีกด้วย

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : เที่ยวนอกบ้าน “ทารกเครียด” ได้นะ เดินทางกับทารกยังไง ให้ไร้ความเครียด

 

ภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไร

 

การดูแลรักษาภาวะทารกเครียดระหว่างคลอด

  • การแก้ไขเบื้องต้น
    • ปรับท่ามารดา เช่น นอนตะแคง
    • ให้ออกซิเจน
    • ให้ IV fluid (หากมีภาวะความดันโลหิตต่ำจาก regional anesthesia ให้แก้ไข)
    • หยุดให้ oxytocin
    • ตรวจภายในเพื่อประเมินปากมดลูก และภาวะสายสะดือโผล่ย้อย (cord prolapse)
    • ให้ terbutaline ½ ampule subcutaneous หรือ intravenous ในกรณี FHR ที่ผิดปกติสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก 
  • การแก้ไขจำเพาะ
    1. Repetitive late deceleration  และ sinusoidal pattern
      • ให้คลอดทางช่องคลอดหากปากมดลูกเปิดใกล้หมดแล้ว
      • ผ่าตัดคลอดหากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
    2. Repetitive severe variable deceleration, prolonged deceleration และ bradycardia
      • ผ่าตัดคลอดฉุกเฉินหากพบภาวะสายสะดือโผล่ย้อย
      • ให้คลอดทางช่องคลอดหากปากมดลูกเปิดใกล้หมดแล้ว
      • Saline infusion หากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด (เติม normal saline 500 มล. เข้าไปในโพรงมดลูก และหยดต่อเนื่องในอัตราเร็ว 3 มล.ต่อนาที)
      • หากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย saline infusion ให้ผ่าตัดคลอด (ในกรณี bradycardia อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดได้เลยหากปากมดลูกยังเปิดไม่หมด โดยไม่ต้องรอให้ saline infusion ก่อน)

 

ภาวะทารกเครียดในครรภ์อันตรายขนาดไหน?

หากแม่ท้องเกิดภาวะทารกเครียดในครรภ์ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะรีบทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องทันที อันตรายที่เกิดกับทารกจึงขึ้นอยู่กับว่าขณะลูกอยู่ในครรภ์มีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด หากขาดออกซิเจนไม่นานและได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที ก็จะไม่มีความพิการต่อสมองทารก แต่ถ้าขาดออกซิเจนนานจะทำให้สมองทารกพิการได้ เมื่อคลอดออกมาหรือหากรุนแรงมากก็อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้

ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกเครียดในครรภ์ สิ่งที่คุณแม่พอทำได้คือการสังเกตว่าลูกดิ้นหรือไม่ดิ้น หากพบว่าลูกไม่ดิ้นหรือมีอาการที่ปกติกับคุณแม่ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

ที่มา : haamor

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

https://w1.med.cmu.ac.th

ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

ตรวจครรรภ์ก่อนคลอดสำคัญไฉน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Angoon