โรคหูดับ ภัยร้ายจากเนื้อหมูดิบ ถ้าไม่ระวังอาจถึงตาย!

เรื่องหมู ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด เพราะหมู อาจนำพาโรคร้ายมาสู่เรา โดยที่เราไม่ตั้งตัวได้ โรคร้ายที่ว่า ก็คือ โรคหูดับ นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องหมู ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด เพราะหมู อาจนำพาโรคร้ายมาสู่เรา โดยที่เราไม่ตั้งตัวได้ โรคร้ายที่ว่า ก็คือ โรคหูดับ นั่นเอง

 

โรคไข้หูดับ หรือ โรคหูดับ” เป็นโรคติดเชื้อ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ผ่านสุกร หรือ เนื้อหมู ไม่ว่าจะเป็นทางการรับประทาน หรือ การสัมผัส ก็อาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โรคไข้หูดับ ได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที่ อาจส่งผลให้การติดเชื้อลุกลาม และอันตรายต่อชีวิตได้

 

 

โรคหูดับ คืออะไร ?

โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดในสุกร ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ปกติจะมีอยู่ในหมูเกือบทุกตัว ฝังอยู่ในต่อมทอนซินของตัวหมู แต่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อร่างกายของสุกรอ่อนแอ มีอาการเครียด หรือ เกิดการป่วย จะทำให้แบคทีเรียตัวนี้ เกิดการเพิ่มจำนวน และอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้หมูป่วย และตายได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคหูดับ เกิดจากอะไร ?

โรคหูดับ สามารถเกิดได้จากสองทาง ได้แก่

  1. การบริโภค คือ การรับประทาน หรือ การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านการกินอาหารที่ไม่ได้ถูกปรุงสุก หรือ อาหารไม่สุกดี เช่น ลาบลู่ หรือ ปิ้งย่าง ที่ไม่สุก 100%
  2. การรับเชื้อผ่านร่างกาย คือ การสัมผัสเชื้อโรค หรือ สุกรมีโรค ผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา

 

อาการของโรคหูดับ มีอะไรบ้าง ?

เมื่อผู้ป่วย ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายใน 3 วัน แล้วจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. มีไข้สูง
  2. ปวดเมื่อยตามตัว
  3. ปวดศีรษะ
  4. ปวดตามข้อ
  5. มีจ้ำเลือดตามบริเวณร่างกาย หรือ ผิวหนัง
  6. อ่อนเพลีย ซึม
  7. คอแข็ง
  8. ชัก
  9. มีการเปลี่ยนแปลงทางระดับความรู้สึก

 

เมื่อเชื้อเกิดการเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง และ กระแสเลือด จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ และม่านตาอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมอง อยู่ใกล้กับประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เมื่อชื้อลุกลาม จะทำให้เกิดหนอง บริเวณปลายประสาทรับเสียง และปลายประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนกระทั่งหูหนวก วิงเวียนศีรษะ และ เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้

 

อาการทั้งหมดเหล่านี้ จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที ผู้ป่วยจะเริ่มจากการสูญเสียการได้ยิน และอาจเสียชีวิตในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

การป้องกันโรคหูดับ ทำยังไง ?

การป้องกันโรคหูดับ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. ไม่กินเนื้อหมูที่ไม่สุก หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ เช่น จิ้มจุ่มที่ไม่สุกดี หรือ ลาบลู่ เป็นต้น
  2. ไม่กินหมูป่วย หรือ หมูที่ตายจากการเป็นโรค ควรเลือกบริโภคหมู ที่มาจากแหล่งผลิต ที่ได้มาตรฐาน
  3. สวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้อสัมผัส หรือใกล้ชิดกับสุกร เช่น ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากสุกรที่ป่วย
  4. ล้างมือ ล้างเท้า ทำความสะอาดร่างกาย หลังสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
  5. เมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร ใช้ถุงมือ เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
  6. กำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกรเกิดโรค

 

การรักษาโรคหูดับ

หากมีอาการต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับการเป็นโรคหูดับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรงทันที

 

การรักษาโรคหูดับ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ ในกลุ่มยาเพนนิซิลลิน หรือ ยาเซฟไตร อะโซน เข้าทางหลอดเลือดดำ หรืออาจใช้ยา แวนโคมัยซิน ในผู้ป่วยที่แพ้ ยาเซฟไตร อะโซน และเพนนิซิลลิน

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนที่หายจากโรค อาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ผิดปกติในด้านการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือ ถ้าเชื้อเข้าไปที่ปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ และทำให้ลูกตาฝ่อ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ อีกทั้งอาจพบอาการอัมพาตครึ่งซีก ในผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้วเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่างไรก็ตาม โรคหูดับ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และไม่อันตราย หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที สำหรับใครที่สงสัย ว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคหูดับ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที ก่อนที่โรคจะลุกลาม และเป็นอันตรายต่อไป

 

 

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลสินแพทย์

บทความที่น่าสนใจ : 

โรคจากยุง การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง โรคไข้ปวดข้อยุงลาย อาการโรค วิธีป้องกันโรคร้ายจากยุง

“โรคกินไม่หยุด” ภัยเงียบที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก

5 โรคที่มากับฝน สังเกตลูกมีอาการแบบนี้ไหม พร้อมวิธีป้องกันโรคติดต่อฤดูฝน

บทความโดย

Waristha Chaithongdee