อ่านนิทานให้ลูกฟัง ยิ่งบ่อย ยิ่งดี กิจกรรมก่อนนอน เสริมความสุขในครอบครัว

การอ่านหนังสือให้ฟังถือเป็นการค่อยๆเติมผ้าขาวให้มีสีสันสวยงามค่ะ เพราะช่วงวัยนี้ เป็นช่วงที่มนุษย์เรามีความสามารถในการพัฒนาสมองและทักษะทุกด้านกว่า 80% ของชีวิต คือช่วงวัยเด็ก วันนี้เราจะพาไปรู้จักและเข้าใจประโยชน์ของการอ่านนิทานว่าทำไมหลาย ๆครอบครัว หรือผู้ใหญ่ในบางครอบครัวถึงให้ความสำคัญการการอ่านนิทานให้ลูกให้หลานฟังกันเป็นพิเศษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

       เพียงแค่คุณแม่หยิบหนังสือนิทานขึ้นมา อ่านนิทานให้ลูกฟัง เปล่งเสียงดังๆและเล่าให้ลูกน้อยฟัง ไม่ว่าจะกล่อมก่อนนอน หรือในช่วงเวลาผ่อนคลาย ยามว่าง หรือหยิบจะเสริมการเรียนรู้ด้วยหนังสือภาพ ให้เด็กดูตามก็จะเกิดผลดีเกิดคาด คุณแม่หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า ลูกน้อยยังเด็ก อาจจะยังไม่เข้าใจสิ่งที่เราสื่อสาร แล้วจะเกิดประโยชน์ หรือเปล่าน้า ตรงนี้ขอบอกเลยว่า ไม่ต้องรอให้ลูกน้อยรู้ภาษาก็สามารถทำได้เลยค่ะ

เรียกได้ว่าจะดีไปกว่านั้นคือ  ทำได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์คุณแม่กันเลยทีเดียว ‘อ่านนิทานให้ลูกฟัง’ เปรียบดั่งช่วงเวลาทองที่ควรค่าแก่การปลูกฝังให้ลุกน้อยในทุก ๆ ครอบครัวตามข้อมูลสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ เพราะไม่ว่าจะช่วงอยู่ในครรภ์หรือในช่วงปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เปรียบเด็กน้อยดั่งผ้าขาวที่พร้อมรับเรื่องราวได้มากมาย

การอ่านหนังสือให้ฟังถือเป็นการค่อยๆเติมผ้าขาวให้มีสีสันสวยงามค่ะ เพราะช่วงวัยนี้ เป็นช่วงที่มนุษย์เรามีความสามารถในการพัฒนาสมองและทักษะทุกด้านกว่า 80% ของชีวิต คือช่วงวัยเด็ก วันนี้เราจะพาไปรู้จักและเข้าใจประโยชน์ของการอ่านนิทานว่าทำไมหลาย ๆครอบครัว หรือผู้ใหญ่ในบางครอบครัวถึงให้ความสำคัญการการอ่านนิทานให้ลูกให้หลานฟังกันเป็นพิเศษค่ะ

อ่านนิทานให้ลูกฟัง

 

หากอ่านนิทานให้ลูกฟังลูกน้อยจะได้ประโยชน์อย่างไร?

         นำบทสัมภาษณ์ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์มาเป็นกรณีศึกษา ท่าน ได้กล่าวบนเวทีเสวนาภายในงานมหกรรมการอ่านแห่งชาติ มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัยในภูมิภาค ปี 2561 “เทศกาลลิขสิทธิ์และเนื้อหาสำหรับสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 2 (International Children’s Content Rights Fair: ICCRF)” ที่จัดขึ้นเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา  เนื้อหาสำคัญคือ ชี้ให้เห็นว่าการอ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นกิจกรรมที่ทุกบ้านสามารถทำได้

ขอแค่มีหนังสือนิทาน มีผู้ปกครองคอยเล่าให้ฟัง แม้จะไม่ได้อ่านสนุกหรือตลกมากก็เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กอย่างมหาศาล ความจริงแล้วผู้ปกครองจะเลือกอ่านให้เด็กฟังในช่วงเวลาไหน ตอนไหนก็ได้ แต่โดยส่วนตัวตนจะสนับสนุนให้อ่านนิทานก่อนนอน เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยได้ใช้เวลากับคนในครอบครัว โดยเฉพาะคุณแม่ เพราะ อยากเน้นให้ผู้ปกครองใช้เวลาส่งลูกเข้านอนหากิจกรรมทำร่วมกันตามคำแนะนำสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ

        ถือเป็นเวลาคุณภาพ (Quality Time) ในช่วง 20.30 น. ไม่เกิน 21.00 น. ใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาที หากเทียบกับกิจกรรมอื่น ๆ ถือว่าใช้เวลาน้อยมาก หากทำติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา 3 ปี จะเกิดประโยชน์มากมาย อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งตัวเด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เฉลียวฉลาด รักการอ่าน เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ที่สำคัญเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนหน้า และเป็นเหมือนข้อบังคับของบ้านว่าไม่ว่าผู้ปกครองจะทำงานหรือมีกิจกรรมอะไร อย่างน้อยในหนึ่งวันจะต้องส่งลูกเข้านอนและมีเวลาคุณภาพร่วมกันค่ะ

บทความประกอบ : การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

 

ประโยชน์จากการอ่านนิทาน

นพ.ประเสริฐ ยังสรุปภาพรวมการอ่านนิทานเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ไว้ดังนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. เชื่อหรือไม่ว่า การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปกับพ่อแม่ : เพราะเนื่องด้วยเด็กยังไม่มีพื้นฐานชีวิตดั่งที่ผู้ใหญ่พบเจอ ช่วงการอ่านนิทานตรงนี้ เป็นช่วงเวลาคุณภาพที่ผู้ปกครองจะจดจ่ออยู่กับการอ่านและลูก สร้างความคิดที่ว่าแม่มีอยู่จริง การอ่านนิทานก่อนนอนในช่วงเวลาเดียวกันในทุก ๆ วัน จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังวินัยการตรงต่อเวลาทำให้เด็กเห็นกิจวัตรประจำวันที่เกิดขึ้นเป็นประจำ  เช่นเดียวกับการกำหนดเวลาตื่นนอน กินอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น เมื่อเด็กมีความตรงต่อเวลาเหล่านี้อย่างแม่นยำก็มีแนวโน้มว่าเรื่องอื่น ๆ ก็จะทำได้ตรงเวลาเช่นกันและยังได้รับเรื่องราวมากมายถือเป็นการผจญภัยร่วมไปด้วยกันทั้งครอบครัว
  2. ฝึกจิตใต้สำนึก เพราะการอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในจิตใต้สำนึกได้ดี : เรื่องพื้นฐานจิตใจคือส่วนสำคัญ เพราะหนังสือนิทานมีหลากหลายเรื่องราว มีทั้งด้านดี สมหวัง สนุกสนาน สดชื่น แจ่มใส และบางเรื่องก็อาจแฝงด้านมืดมาเป็นข้อคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ปกครองต้องอย่ากลัวที่จะหยิบยื่นเรื่องราวที่หลากหลาย เพราะร้อยละ 99 ของนิทานประกอบหนังสือภาพ ศิลปินนั้นสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ การที่เด็กได้ฟังหรืออ่านนิทานเหล่านี้ก็เหมือนกับการระบายความรู้สึกในใจออกมา และหนังสือเหล่านี้ยังให้แง่คิดในเรื่องของการพลัดพราก ผี ปีศาจ และความตาย ที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้เด็กซึมซับและเรียนรู้เรื่องราวชีวิตผ่านนิทานนั่นเอง
  3. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในสมองกล่าวคือเป็นการเสริมสร้างกลไกความคิด  : ทุกครั้งที่เด็กได้ฟังนิทานหรือได้อ่านด้วยตัวเอง เซลล์ประสาทจะแตกแขนงออกมาเป็นร่างแหของเส้นประสาท ดังนั้นยิ่งเฉพาะใน 2 ขวบปีแรก สมองของเด็กจึงเปลี่ยนแปลงทุกวัน ที่สำคัญอย่าเป็นกังวลหากเด็ก ๆ จะชอบฟังหรืออ่านนิทานเล่มเดิม ในมุมผู้ใหญ่เราอาจมองว่าเรื่องราวเดิมซ้ำกันแต่ทำไมลูกน้อยยังคงชอบฟัง เพราะถึงแม้ว่าหนังสือจะเป็นเล่มเดิม เรื่องราวเดิม แต่การคิด การตีความ หรือการวาดภาพในสมองของเด็กจะต่างกันออกไปค่ะ

    อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน

ความสำคัญการอ่านหนังสือ เด็กช่วงอายุ 3-7 ปี

ทำไมคุณแม่ต้องอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟัง โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3-7 ปี

  • เพราะช่วงปีนี้ถือเป็นปีทองของพัฒนาการด้านภาษา เพราะเด็กมีแรงจูงใจในตนเองที่จะใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้างตลอดเวลา เพราะต้องการหาความหมายในบางสิ่งบางอย่าง เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา
  • เป็นช่วงวัยเด็กที่พร้อมทำความเข้าใจเรื่องนามธรรม อย่างเรื่อง ความคิด อารมณ์ นิสัย เป็นเรื่องท้าทายให้เด็กเริ่มค้นหาความหมาย ทำให้กระตุ้นให้เด็กช่างถามมากขึ้น ช่างพูดมากขึ้นค่ะ

  • ช่วงเวลาตรงนี้สามารถสร้างสมรรถภาพทางความคิดดีขึ้น ยิ่งคิดได้ ยิ่งถาม ยิ่งพูด ยิ่งเชื่อมโยงความหมายเดิมเข้ากับความหมายใหม่ ยิ่งทำให้เกิดจินตนาการ

  • นอกจากเรื่องความคิด ยังสามารถสร้างสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสดีมากขึ้น ได้ทำกิจกรรมรวมกับคุณพ่อคุณแม่ ยิ่งได้ออกไปประสบกับสิ่งใหม่ ๆ ยิ่งเพิ่มความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัย ทำให้ช่างถาม ช่างพูด

บทความประกอบ :วิธีการงีบหลับที่ดีที่สุด ในตอนกลางวันและไม่กระทบปัญหานอนไม่หลับช่วงกลางคืน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จุดเด่นของการอ่านหนังสือหรือนิทาน

จุดเด่นของการอ่านหนังสือหรือนิทาน ให้ลุกน้อย เพราะการอ่านกับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ถ้าจะพูดถึง ‘EF (Executive Function) หรือ ทักษะการพัฒนาสมองส่วนหน้า’ ถือเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ใช้กำกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ อีกทั้งยังเป็นทักษะที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเรียน การงาน การอยู่ร่วมกับเพื่อน การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการทุกด้านตลอดชีวิต จากข้อมูลสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ จัดได้ว่า  EF สำคัญต่อเด็กมากๆ เรียกได้ว่า EF เป็นการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้นั่นเองค่ะ

ดังนั้น นพ.ประเสริฐยังได้อธิบายเพิ่มเติม ว่า การอ่านนิทานกับการพัฒนา EF ว่า เนื้อหาในหนังสือนิทานไม่ได้เป็นส่วนสร้าง EF ไปเสียทั้งหมด แต่เกิดจากการที่พ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง หรือเกิดจากลูกสามารถอ่านได้ด้วยตัวเอง EF จะต่อยอดได้ต้องเกิดจากการใช้การอ่านเป็นสื่อกลางในการพัฒนา เช่น การถามตอบ การชื่นชมเมื่อลูกตอบถูก ให้ลูกมีส่วนร่วมในการอ่าน ลำดับเรื่องราว ชวนคิด ชวนตั้งคำถาม ชวนสังเกตุเป็นต้น

กิจกรรมก่อนนอน

หลังจากเราทราบเหตุผลและประโยชน์ในการทำกิจกรรมกับลูกน้อย นั่นก็คือการอ่านหนังสือนิทานก่อนนอน วันนี้เรานำเคล็ดลับในการอ่านมาฝากกัน เพื่อให้การทำกิจกรรมเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามข้อมูลสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ

6เคล็ดลับ ชวนลูกน้อยอ่านนิทาน

เคล็ดลับทำยังไงให้ลูกน้อยได้ประโยชน์จากการอ่านสูงสุด

     1. สำคัญมากในการเลือกหนังสือ เลือกหนังสือที่เหมาะสมกับลูกน้อย

ตรงนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องของสังเกตุนิสัยของลูกน้อยว่าลูกของเราชอบสิ่งไหนให้ความสนใจกับสิ่งไหนเป็นพิเศษและมีความถนัดใดที่เป็นสิ่งเฉพาะ เพราะ เด็กๆ จะรู้สึกมั่นใจและสนุกสนานไปกับหนังสือที่ตัวเองรู้สึก “ใช่” ซึ่งในที่นี้ก็คือหนังสือที่เหมาะสมกับวัย พัฒนาการ พื้นนิสัย และประสบการณ์ชีวิตของเขานั่นเอง ซึ่งเด็กแต่ละคนแต่ละวัยนั้นไม่เหมือนกัน พ่อแม่นี่ล่ะคือผู้ใกล้ชิดที่สุด และรู้จักลูกของเราได้ดีที่สุด การเลือกหนังสือที่เนื้อหายากและซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็กเล็ก อาจทำให้ลูกไม่อยากอ่านต่อและเสียความมั่นใจ ในขณะเดียวกันหนังสือที่คาดเดาได้ง่าย เนื้อหาเบสิคเกินไป ก็อาจไม่ถูกใจสำหรับเด็กโต อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ เขาอาจแค่ยังไม่เจอหนังสือที่ใช่! คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมสังเกตเรื่องนี้ให้ดี ต้องตามหาและสังเกตุพฤติกรรมของลูกน้อยอย่างต่อเนื่องค่ะ

     2.ควรทำให้เป็นวินัย และ อ่านหนังสือให้ฟังอย่างสม่ำเสมอ

ใช้ช่วงเวลาอ่านหนังสือช่วงเดียวกัน ในทุกๆวัน เช่น ไม่ว่าจะหลังรับประทานอาหาร หรือก่อนอน วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือการอ่านอย่างสม่ำเสมอ การอ่านอย่างสม่ำเสมอเวลาเดียวกัน เป็นการฝึกให้ลูกน้อยเห็นความสม่ำเสมอ ความมีวินัย ถ่ายทอดผ่านทางการกระทำของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ และที่สำคัญ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข และเพื่อไม่ให้ยากเกินไปเราอาจเริ่มต้นจากใช้เวลาไม่กี่นาทีก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาไปตามวัยและความสนใจ ควรทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอทุกวันจนกลายเป็นความเคยชินของทุกคนในครอบครัว และการไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดระหว่างกิจกรรมนี้ ทำให้ลูกน้อยไม่ติดเทคโนโลยี และมีเวลากับครอบครัวและมีพัฒนาการตามวัยที่ดีค่ะ

     3. ยิ่งเข้าถึงอารมณ์ ยิ่งสมจริง ยิ่งเพิ่มความสนุกในการอ่านมากยิ่งขึ้น

ความสนุกของนิทานคือการที่ผู้อ่านและผู้ฟังมีส่วนร่วมด้วยกันและจินตนการไปพร้อมๆกันค่ะ  ยิ่งเข้าถึงอารมณ์ ยิ่งช่วยให้ลูกสนใจและสนุกสนานตามไปด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังไม่เข้าใจความหมายของภาษามากนัก แต่การใช้น้ำเสียงสูงต่ำและลีลาท่าทางหรือการใช้มื้อหรืออุปกรณ์ประกอบ ของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้เขาเพลิดเพลินและใจจดใจจ่อกับเรื่องที่เล่าได้ดีค่ะ

บทความประกอบ :6 การละเล่นพื้นบ้านกับลูก ดียังไง? กิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กิจกรรมก่อนนอนทำร่วมกับลูก

     4. ยิ่งอ่านตั้งแต่ในครรภ์ยิ่งดี เริ่มอ่านไวเท่าไหร่ ยิ่งดี

เราสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ในครรภ์หรือช่วงแรกเกิดเลยทีเดียว เพราะเริ่มตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในท้องคุณแม่เลยด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่เข้าใจภาษาแต่ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องการอ่านเพราะธรรมชาติของลูกน้อยจะเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และมีการพัฒนาการภาษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่สมองของลูกจะเริ่มเรียนรู้และพัฒนาผ่านน้ำเสียงของพ่อแม่ได้ดี คำต่างๆ รวมถึงสัมผัสอ่อนโยนร่วมด้วย สามารถทำได้เลยตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกค่ะ หรืออ้อมกอดของพ่อแม่ขณะอ่านหนังสือในช่วงวัยเด็ก เป็นการเพิ่มความรักความอบอุ่นในบ้านได้ดีทีเดียว

     5. ควรมีคำถามและการถามตอบร่วมกัน เพื่อให้คิดตาม แต่เกิดจินตนาการต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญเวลาอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง ในระหว่างการอ่าน หรือเมื่ออ่านจบแล้ว อย่าลืมชวนลูกถามตอบ ถึงเรื่องราว ความคิด ลูกชอบตัวละครไหนที่สุด  คำถามเชิงปลายเปิดเพื่อให้เค้าคิดตามและได้ใช้จินตนาการต่อ หรือ อาจชวนคุยเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน หรือมากกว่านั้น อาจให้ลูกเป็นฝ่ายตั้งคำถามกับเราบ้าง และเราตอบโดยการแฝงแง่คิดที่ดีให้กับลูกน้อย สอดแทรกบทเรียนที่เป็นประโยชน์กับชีวิตจริง  การไปโรงเรียน หน้าที่ของตัวเอง การเข้าสังคม การดูแลตัวเอง บางครั้งไม่น่าเชื่อว่าลูกน้อย เชื่อหนังสือมากกว่าเชื่อคุณพ่อคุณแม่เสียอีกค่ะ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติกล่าวว่าการเลือกหนังสือประเภทนี้มาอ่านให้ลูกฟังก็นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่ช่วยส่งเสริมความคิด และฝึกพฤติกรรมลูกน้อยไปในตัวค่ะ

   6.เวลาอ่านที่มีคุณภาพ และเนื้อหาที่มีคุณภาพ

บางครอบครัวอาจจะคิดว่ายิ่งอ่านให้ลูกฟังเยอะมากเท่าใหร่ยิ่งดี แต่จริงๆแล้ว จำนวนย่อมไม่เท่าคุณภาพจริงไหมค่ะ ดังนั้นเน้นหนังสือที่มีคุณภาพ และเน้นเวลาการอ่านที่มีคุณภาพ ดีกว่าเน้นจำนวนค่ะ ยิ่งเวลาที่ได้อยู่กับลูกน้อย ยิ่งได้ใส่ใจ ใส่ความรู้สึกร่วมกันมากยิ่งดี อย่าอ่านแบบขอไปทีหรือทำเพระาเป็นหน้าที่ แต่ควร เต็มที่และใส่ใจรายละเอียดทุกครั้งค่ะ ไม่ต้องเน้นจำนวนหนังสือเยอะมากมาย เพราะจำนวนหนังสือไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของลูกแต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือ “เวลาคุณภาพ” ที่คุณพ่อคุณแม่นั่งอ่านหนังสือกับลูกต่างหาก การนำหนังสือเรื่องเดิมมาอ่านซ้ำ จินตนาการของลูกน้อยก็จะเปลี่ยนไปทุกครั้ง และทำให้เนื้อหาในเรื่องที่เราอ่าน เป็นเรื่องที่หนูน้อยจำได้ขึ้นใจน่าจะดีกว่าจริงมั้ยคะ

    มาถึงตรงนี้แล้วจะเห็นได้ชัดว่านอกจากการอ่านนิทานให้ลูกฟัง เพื่อได้ฝึกความคิดและจินตนการของลูกน้อยแล้วนั้น ยังควรไม่ลืมที่จะใส่ใจถึงเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสม ครบถ้วน ได้ออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายและสุขภาพของลูกน้อยนะคะ เพราะพัฒนาความคิดไปพร้อมๆกับร่างกายย่อมได้ผลดีควบคู่กันไป สำคัญที่ผู้ปกครองต้องไม่ลืมที่จะสนับสนุนเพิ่มพูนทักษะความสามารถที่เด็กชอบหรือเด็กถนัดเพิ่มเติมด้วยค่ะ การอ่านนิทานกับลุกน้อยอาจได้มองเห็นทักษะบางอย่างที่ลูกน้อยแอบซ่อยไว้ และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการผลักดันและพัฒนาลูกน้อยต่อได้ค่ะ

ที่มา : thaihealth matichon

บทความประกอบ :

10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่ายๆ

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

300 คำคมครอบครัว แคปชั่นครอบครัว ฟังเเล้วรู้สึกอบอุ่นไปถึงหัวใจ

บทความโดย

Thippaya Trangtulakan