5 กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม (SQ) ให้ลูกรู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น

การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนควรมี หรือเรียกอีกอย่างว่า ทักษะสังคม (SQ)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังเรื่องการปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็ก เพราะลูกจะสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

ทักษะทางสังคม (SQ) คืออะไร

ทักษะทางสังคม อาจจะไม่คุ้นเคยนะคะ  เพราะส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับ IQ และ EQ มากกว่า  ขอบอกว่า  SQ เป็นอีก 1 Q ที่เรียกว่า ความฉลาดทางสังคมค่ะ   ผศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์  กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ได้อธิบายคำว่า ความฉลาดทางสังคม (SQ : Social Quotient)  หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

การเลี้ยงลูกให้รู้จักการปรับตัวและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียน  ทำกิจกรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้  เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในสังคมยุคนี้เพราะลูกจะนำทักษะการปรับตัวที่ได้รับจากการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนของคุณพ่อคุณแม่ติดตัวนำไปใช้ต่อไปในอนาคตได้ ขอบอกว่าสำคัญและจำเป็นจริง ๆ ค่ะ

กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม

5 กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม (SQ) ให้ลูกรู้จักการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น

1. เอาตัวรอดได้

เอาตัวรอดได้ คือ  การฝึกลูกให้รู้จักปรับตัว  และตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสม เช่น ในสถานการณ์

เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง ลูกจะตัวรอดยังไง โดยไม่ให้ถูกเพื่อนคนเดิมกลั่นแกล้งอีก ลองพูดคุยถามลูกว่า ดูว่าลูกคิดแก้ปัญหานี้อย่างไร

แล้วพ่อจ๋าแม่จ๋าค่อยให้คำแนะนำ  เช่น  ไปหาคุณครู ไม่เล่นคนเดียวลำพัง  แต่ไปเล่นกับเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ  หรือไม่ไปในที่ลับตาคน

เสี่ยงที่จะที่จะถูกกลั่นแกล้ง เป็นต้น

2. เรียนรู้มารยาทสังคม

เวลาที่ลูกต้องอยู่ท่ามกลางคนหมู่มากที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว การปลูกฝังให้ลูกรู้จักหน้าที่ของตนเอง  มีความรับผิดชอบและ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีมารยาทต่อผู้อื่นนั้นสำคัญมาก

  • รู้จักหน้าที่และมีมารยาท

รู้ว่าตอนนี้ตัวเองเป็นใคร  มีหน้าที่อะไร  และสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น  ไปรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับเพื่อน ๆ ของคุณพ่อคุณแม่  ลูกต้องไม่ดื้อไม่ซน  ไม่วิ่งวุ่นวายหรือทานอาหารเลอะเทอะ  ไม่พูดแทรกเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ควรปฏิบัติกับลูกก่อน  แต่ไม่ใช่ใช่การบังคับไปทุกสิ่งทุกอย่าง

เพียงแตให้ลูกเข้าใจถึงเหตุและผลว่า การไปในที่สาธารณะเราไม่ควรสร้างความรำคาญใจให้กับผู้อื่น เราต้องรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยและต้องรู้จักเกรงใจเพราะนั่น คือ มารยาทสังคมที่ดีงาม   ควรจะพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกก่อนนะคะเพื่อให้ลูกเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความรับผิดชอบ

มีระเบียบวินัย ประพฤติตนอย่างเหมาะสม  ไม่ใจร้อนเอาแต่ใจตนเอง  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม รวมถึงต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

3. กล้าคิดกล้าทำ

แต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องนะคะ  การกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง  ถือเป็นทักษะที่ช่วยลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ๆ  เช่น  กล้าที่จะทักทายผู้อื่นก่อน  กล้าที่จะถาม  กล้าที่จะตอบ และยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ  แม้อยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคยก็ตาม

4. แบ่งปัน

การแบ่งปัน ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝังให้มีในตัวลูก  การรู้จักแบ่งปันเริ่มตั้งแต่การรู้จักตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเสียสละ  ความมีน้ำใจ  ฝึกได้ไม่ยากคือ เช่น เมื่อคุณพ่อกลับมาจากทำงานเหนื่อย ๆ แรก ๆ  คุณแม่ฝึกให้ลูกนำน้ำไปให้คุณพ่อดื่ม เพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อย   ชวนลูกช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อลูกทำสิ่งดี ๆ นั่นคือ “คำชม”  เพื่อให้ลูกมีกำลังใจและภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนทำ  นี่คือจุดเล็ก ๆ  ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความดีที่ยิ่งใหญ่ต่อไปนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. สื่อสารกับผู้อื่นเป็น

ไม่ใช่แค่พูดได้นะคะ ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจด้วย  ข้อนี้ถือเป็นทักษะที่สำคัญ เพราะการสื่อสาร คือ  หัวใจที่ทำให้ลูกผูกมิตรกับเพื่อน ๆ หรือผู้อื่นได้ง่าย  เด็ก ๆ ควรได้รับการพัฒนาทั้งด้านการสื่อสาร  ด้วยคำพูด (วัจนภาษา) และ  การกระทำหรือภาษาท่าทาง(อวัจนะภาษา) ลูกควรเข้าใจความหมายของคำและการแสดงออกที่ถูกต้องเมื่อต้องสื่อสารกับผู้อื่นและต้องสังเกตด้วยว่า ผู้ที่พูดด้วยนั้นเขามีปฏิกิริยาอะไร แบบนี้ถึงจะทำให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

สิ่งสำคัญควรสอนให้ลุกรู้จัก “ขอบคุณ” เมื่อมีใครทำอะไรให้

รู้จัก “ขอโทษ”เมื่อลูกทำผิด   ควรพูดให้ติดปากเสมอจะเป็นสิ่งที่ดีกับลูกนะคะ

ไม่ยากใช่ไหมคะ กับ 5 กลยุทธ์ไร้เทียมทานที่ช่วยฝึก ทักษะความฉลาดทางสังคม (SQ) เพื่อให้ลูกสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข  ฝึกกันตั้งแต่วันนี้เพื่อให้ลูกนำสิ่งดี ๆ ไปใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุขต่อไป

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทักษะทางสังคม 10 ประการ ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ

แก้ปัญหา ลูกขี้อาย ด้วย 5 วิธีปรับตัวพร้อมเข้าสังคม

11 ทักษะชีวิตที่พ่อแม่เห็นพ้องต้องกันว่าควรสอนลูกให้เป็น ก่อนโตเป็นผู้ใหญ่