สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง ใครได้บ้าง ใครที่เริ่มทำงานแล้วก็มักจะคุ้นชินกับคำว่าประกันสังคมเป็นธรรมดา ส่วนใครที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยทำงานนั้น มาเรียนรู้และศึกษาไปพร้อมกัน รักษาสิทธิให้ตัวเอง ไม่โดนนายจ้างเอาเปรียบ
ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท
ผู้ประกันตน หรือผู้ที่มีประกันสังคมนั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) คนที่อยู่ในประเภทนี้คือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือแบบสัญญาก็ตาม
- ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39) เป็นผู้ที่เคยทำงาน หรือมีประกันสังคมมาก่อน แล้วเกิดการลาออก และต้องการส่งประกันสังคมต่อ
- ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40) เป็นบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทแรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ไม่เคยมีประกันสังคมมาก่อน (ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39) หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระนั่นเอง
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง
สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 มีสวัสดิการสำหรับผู้ที่ชำระค่าประกันตนทั้งหมด 7 กรณี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.กรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ
จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุ ซึ่งผู้มีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 สามารถเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ผู้ว่าจ้างได้ลงทะเบียนไว้ แต่หากโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ไม่สามารถรักษาได้ ผู้ประกันตนจะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายตามสิทธิได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ประกันสังคมยังมีข้อยกเว้นสำหรับ กลุ่ม 13 โรคที่ไม่อยู่ในสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 รักษาได้ คือ
- โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม , ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด
- การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก
- การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเซลล์ต้นกำเนิด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
- การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น
- การเปลี่ยนเพศ
- การผสมเทียม
- การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
- ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 1,300 – 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
- แว่นตา
2. กรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน15 เดือน ในกรณีมีการคลอดบุตร ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิได้เพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง โดยจะได้รับจำนวน 15,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
บทความที่น่าสนใจ : ลาคลอดอย่างไรให้ราบรื่น
3. กรณีทุพพลภาพ
คือการที่ผู้ประกันตนนั้นสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง หรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ และการกำหนดของแพทย์เท่านั้น โดยจะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ซึ่งจะได้เงินทดแทน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยตลอดชีวิต
4. กรณีเสียชีวิต สามารถแบ่งออกเป็นได้ 2 กรณีใหญ่ ๆ ดังนี้คือ
- กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ที่ไม่ใช่สาเหตุจากงาน และจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย จะได้เงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาท และเงินสงเคราะห์
- กรณีที่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น จะได้รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายแก่ผู้จัดงานศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
ต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน โดยจะได้เป็นเงินสงเคราะห์แบบเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท ตั้งแต่บุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ และสามารถใช้สิทธิได้จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนจะเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายขณะที่บุตรยังอายุไม่ครบกำหนด และจะสิ้นสุดการรับเงินก็ต่อเมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ บุตรเสียชีวิต ยกบุตรให้เป็นบุญบุญธรรมของคนอื่น และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
บทความที่น่าสนใจ : เงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนบุตร ต่างกันอย่างไร ใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง เช็คเลย
6. กรณีชราภาพ
จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย โดยจะแบ่งเงินเป็น 2 ประเภทคือ
- บำนาญชราภาพ เป็นเงินรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
- บำเหน็จชราภาพ กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 12 เดือน บำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการเป็นประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
จะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่าจ้างงานจะสิ้นสุดลง หรือการออกจากงานด้วยสาเหตุสุดวิสัย และจะต้องเป็นผู้ที่ว่างงานไม่น้อยกว่า 8 วันขึ้นไป โดยผู้ประกันตนสามารถลงทะเบียนว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ (เว็บไซต์ empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐ และจะต้องยื่นเอกสารที่หน่วยงานสำนักงานประกันสังคมภายในเวลา 30 วัน และจะต้องรายงานตัวในระบบทุกครั้งตามวันที่ระบบกำหนด เพื่อขอรับเงินทดแทน
อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นผู้ประกันตน หรือผู้มี สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 จะต้องศึกษาข้อมูลสิทธิของท่านอย่างละเอียด เพื่อที่ท่านจะได้ใช้สิทธิของท่านอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน 1506 กระทรวงแรงงาน หรือท่านสามารถเข้าสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านของท่านได้ในเวลาราชการนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เราชนะ เพิ่มปุ่มใหม่ เตือน 3 กลุ่ม ให้รีบกดสละสิทธิ์ ไม่งั้นโดนเรียกเงินคืน 7,000
เงินเราชนะเข้าแล้ว อย่าลืม ยืนยันตัวตนขอรับสิทธิเราชนะ ก่อนใช้
หญิงไทยในญี่ปุ่น สังหารลูก 2 คน เหตุกลัวสามีแย่งสิทธิ์เลี้ยงลูก
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม