สิทธิประกันสังคมคนท้อง ปี 2564 เบิกได้เท่าไหร่ เบิกอะไรได้บ้าง รวมเรื่องที่คุณแม่ต้องรู้!

สิทธิประกันสังคมคนท้อง คนท้องสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร ค่าชดเชยวันลาคลอด เงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงกรณีแท้งลูก คนท้องจะได้เงินเท่าไหร่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิทธิประกันสังคมคนท้อง ของกองทุนประกันสังคม คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดลูก และสามารถได้รับทุกเดือนจนกระทั่งลูกน้อยอายุ 6 ขวบ แต่ทั้งนี้ การจะได้รับเงินนั้นมีเงื่อนไขอยู่ คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ได้ดังนี้

 

1.ค่าฝากครรภ์

คุณแม่จะรับค่าฝากครรภ์ จำนวน 1,500 บาท โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 5 ครั้ง ได้แก่

  • ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จะได้รับเงินไม่เกิน 500 บาท
  • ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จะได้รับเงินไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จะได้รับเงินไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จะได้รับเงินไม่เกิน 200 บาท
  • ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จะได้รับเงินไม่เกิน 200 บาท

 

2.ค่าคลอดลูก

ประกันสังคมจะจ่ายค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท/ครั้ง (จากเดิม 13,000 บาท) คุณแม่สามารถเบิกกับโรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่า ก่อนที่คุณแม่จะใช้สิทธิ ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

ทั้งนี้ คุณแม่สามารถใช้สิทธิเบิกค่าคลอดลูกได้เพียง 2 คนเท่านั้น แต่ในกรณีที่ คุณแม่และคุณพ่อมีประกันสังคมทั้งคู่ทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้จำนวนบุตรคนละ 2 คน เป็นแบบต่างคนต่างเบิก ไม่สามารถนำบุตรคนเดียวกันไปเบิกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประกันสังคมสงเคราะห์บุตร คุณแม่ควรรู้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิทธิ ประกัน สังคมคนท้อง

3.สิทธิวันลาคลอด

คุณแม่ที่ทำประกันสังคม สามารถใช้วันลาเพื่อคลอดบุตรได้ทั้งสิ้น 98 วัน (รวมวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์) โดนแบ่งเป็นนายจ้าง 45 วัน ประกันสังคมออกให้ 45 วัน

ในระหว่างที่คุณแม่ลาคลอด  ประกันจะจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อลาคลอด 50% โดยที่ฐานเงินเดือนสูงสุด คือ 15,000 บาท ในกรณีนี้คุณแม่จะต้องส่งเงินประกันมาที่ประกันสังคมตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์เช่นกัน

 

4.ค่าแท้งลูก

สำหรับคุณแม่บางคนที่อุ้มท้องอยู่แต่เกิดแท้งขึ้นมา หรือคลอดลูกออกมาแล้วเด็กเสียชีวิต ทางประกันสังคมจะจ่ายค่าคลอดและค่าลาหยุดงานให้ แต่คุณแม่ต้องตั้งครรภ์ 7 เดือนขึ้นไปแล้วแท้ง สำหรับการเบิกเงิน คุณแม่ต้องแนบใบมรณะบัตรของลูกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5.เงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตร คือ เงินสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งคุณแม่จะได้รับทุกเดือน เดือนละ 600 บาทต่อลูก 1 คน

สิทธนี้คุณแม่จะได้รับก็ต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบเป็นประจำทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนที่จะแจ้งสิทธิ โดยจะจ่ายให้กับลูกครั้งละไม่เกิน 3 คน อีกทั้งต้องเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย ไม่ใช่เป็นลูกบุญธรรม

หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือมีเรื่องที่อยากติดต่อmสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร 1506

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มีวิธีการอย่างไร ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิต่างๆ อย่างละเอียด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เอกสารที่ต้องใช้เบิกค่าทดแทน กรณีคลอดลูก

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝด ให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชาย ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

จำนวนวันที่ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ จากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน

สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ตามกฎหมายใหม่

จำนวนวันที่ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาเพื่อคลอดได้ จากเดิม 90 วันเป็น 98 วัน และการลาเพื่อคลอดบุตรหมายความรวมถึงการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดด้วย ซึ่งหมายถึง วันที่ลูกจ้างลาไปตรวจครรภ์ก็ให้นับรวมใน 98 วันด้วย

ส่วนการจ่ายค่าจ้างในวันลา ไม่มีการแก้ไข คือลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงที่ลา 45 วัน เช่นเดิมส่วนอีก 8 วันที่เพิ่มขึ้น (ในกรณีลูกจ้างใช้สิทธิลาครบ 98 วัน) นายจ้างจะจ่ายหรือไม่ ก็แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งควรจะตกลงให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

มีประเด็นถามกันมาตลอด คือ ลูกจ้างลาคลอดแล้วปรากฎว่าลูกจ้างแท้งลูก ลูกจ้างยังหยุดงานต่อไปหรือจะต้องกลับเข้าทำงานหลังจากพักฟื้นร่างกายแล้ว กรณีนี้ กฎหมายมิได้เขียนไว้ และศาลไม่เคยตัดสินไว้ เช่นนี้ เมื่อลูกจ้างไม่มีบุตรที่ต้องเลี้ยงดูหลังคลอด สิทธิหยุดงานเนื่องจากลาคลอดน่าจะสิ้นสุดลงภายหลังจากที่สุขภาพของลูกจ้างได้พักฟื้นเป็นปกติพร้อมที่จะทำงานต่อไป ฉะนั้น หากนายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ลูกจ้างจะต้องกลับไปทำงานต่อไป

อนึ่ง การที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาในช่วงนี้ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 5 พ.ค.2562 ซึ่งกฎหมายมีผลใช้บังคับ กรณีลูกจ้างก็สามารถใช้สิทธิลาเพิ่มเติมให้ครบ 98 วันได้ แม้ก่อนลา กฎหมายจะไม่มีผลใช้บังคับก็ตาม เนื่องจากสิทธิการลาเพื่อคลอดบุตรมีวัตถุประสงจะคุ้มครองความเป็นมารดาและบุตร เมื่อกฎหมายรับรองสิทธิดังกล่าวไว้โดยมิได้กำหนดเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิไว้ ก็ต้องตีความไปนัยที่จะคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

 

ทะเบียนสมรสสำคัญมากกว่าที่คิด นี่คือ 12 ประโยชน์ของทะเบียนสมรส

การแต่งงานเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจตรงกันว่าเป็นการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่จะร่วมสุขและทุกข์ และสิ่งหนึ่งที่คู่แต่งงานควรทำคือการจดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นการการันตีการแต่งงานที่ถูกต้องและมีสิทธิ์ที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ไม่ใช่แค่ในบ้านเราเท่านั้น ที่ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรส ในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรสมากเช่นกัน

การใช้ชีวิตคู่ในปัจจุบัน การจดทะเบียนสมรสยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย แม้ว่าบางคนจะเลือกใช้ชีวิตคู่แบบหนุ่มสาวสมัยใหม่คือแต่งงานหรืออยู่ด้วยกันแต่ไม่จดทะเบียนสมรส ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน แต่ทราบไหม ว่าทะเบียนสมรสที่มีนั้น ไม่ใช่แค่ใบการันตีว่าเขาหรือเธอคือคู่ชีวิตที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสยังมีผลดีต่อชีวิตคู่ และทายาท รวมถึงการเรียกร้องสิทธิ์หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดกับคู่สามีภรรยาด้วย

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายและให้สิทธิ์กับผู้ถือที่เป็นสามีภรรยาหลายประการ แต่ถ้าเราจะพูดลึกถึงเนื้อหาของกฎหมายการแต่งงานคงจะเยอะและเข้าใจกันยาก วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส ใบทะเบียนสมรสกันดูก่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามี หรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่ายเพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

 

ประโยชน์ของทะเบียนสมรส

อย่างที่เกรินไปตั้งแต่แรกว่าประโยชน์หรือสิทธิ์ตามกฎหมายของการจดทะเบียนสมรส หรือใบทะเบียนสมรสมีเยอะมาก แต่เราลองทราบคร่าวๆ เฉพาะในส่วนที่มักจะได้ยินหรือได้รับผลกระทบเป็นหลักกันก่อน

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้
  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้
  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)
  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)
  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
  4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
  5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย
  6. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
  7. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือ สามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้

การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประกันสังคม เพิ่มค่าฝากครรภ์ 1 พันบาท แม่ท้องต้องทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ที่มา:  www.prachachat.net

บทความโดย

Khunsiri