วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก เป็นการพัฒนาการของลูกน้อย พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!
เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะต้องเจอกับ ทารกหลับยาก ในตอนกลางคืนแต่จะนอนตลอดทั้งวันในช่วงกลางวัน มองผ่าน ๆ อ่านไม่ใช่เรื่องใหญ่ของใครหลายคน แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่ต้องเป็นคนรับมือกับการไม่นอนของเจ้าตัวน้อย อาจจะเป็นกังวลและเป็นห่วงสุขภาพของลูกน้อยที่เพิ่งเกิดมา แต่วันนี้ไม่ต้องกังวล เพราะ วิจัยเผย ลูกนอนหลับยาก ไม่ใช่เรื่องแปลก พ่อแม่ไม่ต้องกังวล!
พ่อแม่มือใหม่นั้น กังวลกับการที่ลูกนอนหลับยาก กลัวว่าลูกจะนอนไม่พอ กังวลว่าจะส่งผลเสียอะไรต่อลูกน้อยใหม่ แต่วิจัยใหม่ ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาการนอนหลับยาก เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาของลูกน้อย
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าเด็กอายุ 6 เดือนใช้เวลาเฉลี่ย 20 นาที ในการนอนหลับ และ อายุ 2 ขวบ เด็กจะตื่นเฉลี่ยหนึ่งครั้งต่อคืน
การศึกษายังพบว่าการเปลี่ยนแปลงการนอนถือเป็นปกติ เผยโดย Dr. Juulia Paavonen หัวหน้าโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลดน์ (Helsinki University Hospital in Finland) กล่าวไว้
ความแตกต่างระหว่างลูกน้อย มีรูปแบบที่ตื่นขึ้นมาตอนกลางวัน และ ตอนกลางวัน นั้นอยู่ในอัตราที่แตกต่างกัน
พ่อแม่ มักจะรู้สึกกังวล เมื่อลูกน้อยนอนหลับตอนกลางวัน และ นอนหลับยากในตอนกลางคืน ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการรบกวนคนอื่นในบ้าน ซึ่งพ่อแม่มือใหม่จะเข้าใจเหตุการณ์ที่ลูกนอนหลับยาก หรือ ลูกนอนไม่หลับ ว่าเป็นเพราะลูกป่วย หรือ หิว
สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ใช้ข้อมูล ของผู้ปกครองและเด็ก 5,700 คน ซึ่งสำรวจการนอนหลับ และ ปัญหาการหลับนอน รวมถึง พัฒนาการขอลูกน้อย
โดยรวมแล้ว 40% ของผู้ปกครองกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับของลูกเมื่ออายุ 8 เดืิอน โดย การนอนหลับของลูกน้อย จะเริ่มเสถียรภาพมากขึ้น และ สม่ำเสมอ โดยจาก Sleep Medicine เผยว่า โดยทั่วไป ลูกน้อยจะหลับ ระหว่าง 9-12 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน แต่ปริมาณการนอนหลับตอนกลางวันจะลดลงจากทั้งหมด 5 ชั่วโมง จนถึง 2 ชั่วโมง
เมื่อเวลากลางวัน ลดลง จากสองเป็นหนึ่งชั่วโมงโดยเฉลี่ย ก็จะทำให้เวลานอนตอนกลางคืนของลูกนั้นมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับเด็กทารกที่จะใช้เวลามากกว่า 40 นาที ในการนอนหลับ หรือ การตื่นนอนในตอนกลางวัน และ เวลาหนึ่งชั่วโมงหรือนานกว่าในเวลากลางคืน ในช่วงอายุ 8 เดือน
นอกจากนี้การนอนหรือตื่นมากกว่า 45 นาที ในตอนกลางวัน และ มากกว่าหนึ่งชั่วโมง ในเวลากลางคืน ในอายุ 18 เดือน ก็ถือว่าเป็นเรื่องไม่ปกติเหมือนกัน
โดยสิ่งเหล่านี้เป็นสถานการณ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ปกครอง ที่จะไปตรวจกับกุมารแพทย์เพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
เนื่องจากการติดตามพัฒนาการของลูกน้อย มีแค่ การกิน การนอน และ การเติบโต ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ปัญหาสุขภาพที่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นการนอนหลับเป็นเรื่องที่สำคัญในการติดตามปัญหาสุขภาพ
โดยผู้ปกครองนั้นควรหลีกเลี่ยงการปลุกลูกน้อยที่กำลังหลับอยู่ เพราะ นั้นคือการพัฒนาสมองจำนวนมาก กล่าวโดย Gina Poe นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวไว้
ถึงแม้ว่าการกำหนดกิจวัตรการหลับอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ทารกได้พักผ่อนและพัฒนาได้ แต่การนอน
หลับแบบไม่ตรงตามกิจวัตรการนอนก็ช่วยได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงชี้ให้เห็นว่า ต่อให้ลูกนอนหลับยาก ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะถือเป็นการพัฒนาการของลูกน้อย
วิธีปราบเจ้าตัวน้อย ตื่นตลอด ไม่หลับไม่นอน
อย่างแรกที่แม่ต้องทำความเข้าใจคือ ลูกแรกเกิด โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกนั้น ยังไม่คุ้นเคยกับโลกภายนอก แม่จึงต้องเรียนรู้ที่จะเลียนแบบโลกใบเดิม ใบที่ลูกน้อยขดตัวในมดลูก ทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย คล้ายกับตอนอยู่ภายในร่างกายของแม่
- ใช้ผ้าห่อตัวลูกแรกเกิด ให้แขนน้อย ๆ แนบข้างลำตัว ราวกับถูกโอบอุ้มไว้ด้วยอ้อมกอดแสนอบอุ่น ทำให้หนูรู้สึกเหมือนกลับไปอยู่ในร่างกายแม่อีกครั้ง
- อุ้มลูกด้วยท่า Side Stomach Position ท่าอุ้มลูกจากที่เห็นในคลิป นอกจากจะช่วยให้ลูกหลับได้ง่ายแล้ว ยังช่วยปลอบลูกที่กำลังร้องไห้จ้าให้สงบลงได้อีกด้วย
- ส่งเสียง ชูวววววส์ กล่อมให้ทารกหลับได้ง่าย หรือเปิดเสียง White noise ให้ลูกฟัง โดย White noise คือ เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เสียงลม เสียงสายน้ำ เสียงบรรยากาศในป่าไม้ จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย พริ้มตานอนหลับได้ง่าย ๆ
- หลังอุ้มลูกกระชับแน่น ให้เริ่มแกว่งเบา ๆ โยกเอน หรือเดินไปมา ด้วยจังหวะช้า ๆ เค้าจะเพลิดเพลินจนผลอยหลับได้โดยที่แม่อย่างเราไม่ทันได้รู้ตัว
- ให้ลูกดูดจุกหลอกตอนนอน จะช่วยให้ลูกหลับได้ไม่ยาก แป๊บ ๆ ก็งีบหลับได้แล้ว เพราะทารกมีความสุขในการดูด เมื่อได้ดูดจุกหลอกจึงเพลิดเพลินมาก (แต่ไม่ควรให้ลูกติดจุกหลอก และควรเลิกใช้จุกหลอกก่อนพ้นขวบปีแรก เพราะถ้าใช้จุกหลอกบ่อยหรือมากเกินไป อาจทำให้ลูกพูดช้า สกัดกั้นการเจริญเติบโต ทำให้ฟันผิดรูปได้)
ที่มา : Reuters
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
ลูกนอนยาก งอแง ไม่ยอมนอน อยากให้ลูกนอนง่ายพ่อแม่ต้องไม่พลาดวิธีเหล่านี้
ลูกควรนอนนานแค่ไหน? ลูกนอนนานแค่ไหนถึงจะดีกับร่างกาย ปลอดภัย
ให้ลูกนอนด้วยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด หยุดพัฒนาการของเด็ก ข้อเสียมากกว่าข้อดี