เนื้อแนบเนื้อ สร้างความรักความสัมพันธ์ สวยงามในครอบครัว

ในสังคมคนไทย ที่ไม่ได้มีการแตะต้องตัว เนื้อแนบเนื้อ หรือ Skinship สำหรับคนรู้จักกันมาก ด้วยวัฒนธรรมที่ แตกต่างกันออกไป แม้คนในครอบครัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื้อแนบเนื้อ สร้างความรักความสัมพันธ์ สวยงามในครอบครัว

ในสังคมคนไทย ที่ไม่ได้มีการแตะต้องตัว เนื้อแนบเนื้อ หรือ Skinship สำหรับคนรู้จักกันมาก ด้วยวัฒนธรรมที่ แตกต่างกันออกไป แม้คนในครอบครัวเอง การจะแตะตัวกัน หรือ กอดกัน ยังดูเป็นอะไรที่เป็นไปได้ยากเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การกอดกัน เพื่อให้กำลังใจ เป็นเรื่องที่ดี และ มีประโยชน์กว่าที่คุณคิดหลายเท่า

เนื้อแนบ เนื้อ

ในประเทศแทบ สแกนดิเนเวีย(Scandivavian) ในทวีปยุโรป การแตะตัวกัน กอดกัน หรือมี Skinship ถูกนำมาใช้แทนการอบทารกในเครื่องเป็นจำนวนมากหลายเคส มากกว่าประเทศอื่นๆทั่วโลก มีความเชื่อกันว่า การแตะตัวกันจะช่วยให้เด็ก รักษาอาการได้เร็วขึ้น และ ฟื้นตัวได้ดีกว่าการอยู่ในเครื่องตัวคนเดียว

เมื่อปี 2016 มีรูปนึงถูกปล่อยออกมา และภาพสุดน่ารักนี้โด่งดังไปทั่วอินเตอร์เน็ต ภาพนี้เป็นภาพ เด็กชายตัวน้อยกอดทารกฝาแฝดพร้อมกับคุณพ่อของเขา รูปนี้ถูกถ่ายที่ โรงพยาบาล Hvidovre Hospital ในเมือง โคเปนเฮเกน(Copenhagen) ประเทศ เดนมาร์ค(Denmark) ภาพนี้ถูกโพสขึ้นใน Facebook โดย องค์กรที่มีชื่อว่า NINO Birth Organization ที่ตั้งอยู่ใน แอฟริกาใต้(South Africa)

สวีเดนเผยว่าเนื้อแนบเนื้อเป็นสิ่งที่ทุกประเทศควรทำมากขึ้น

เนื้อแนบ เนื้อ

เนื้อแนบเนื้อ หรือ Skin-to-skin contact (SSC) เป็นสิ่งที่ประเทศ สวีเดน บอกว่าทุกประเทศควรจะทำให้มากขึ้น และยิ่งเป็นคนในครอบครัว การกอดจะให้พลังในการฟื้นฟูที่ดีมากขึ้น และมันจะทำให้คนในครอบครัวสนิทกันมากขึ้นด้วย

การกอดอาจะช่วยเรื่องการติดเชื้อได้

เนื้อแน บเนื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Uwe Ewald ศาตราจารย์ชาว สวีเดน กล่าวว่า เขาอยู่โรงพยาบาล Hvidovre hospital ในตอนที่รูปถูกถ่ายด้วย เขาอธิบายกระบวนการว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง ในกระบวนการทำ SSC นั้น ทารกจะต้องถูกทำความสะอาด ทำตัวให้แห้ง และ ห่อ ด้วยผ้า และ สมาชิกครอบครัวที่กอด จะต้องถอดเสื้อ เพื่อให้ผิวได้สัมผัสกัน

หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งชั่วโมง เด็กจะได้รับการป้อนอาหาร และเข้าไปอยู่ในตู้อบอีกครั้ง จากคำกล่าวของ Uwe Ewald เขาอกว่าการกอดนั้น ให้ความอบอุ่นได้ดีกว่า ในเตาอบซะอีก นอกจากนั้นมันยังช่วยปกป้องทารก จากการติดเชื้อแบบรุนแรง โดยการป้องกันแบคทีเรียไม่ให้เข้าสู่ระบบในร่างกาย

บริเวณหน้าอก ของ  ผู้ปกครอง  จะสร้างอุณหภูมิที่ดีกว่าในตู้อบ การที่ใช้วิธีการเนื้อแนบเนื้อ จะช่วยให้ทารกหายใจได้ดีขึ้น เด็กจะรู้สึกสงบ และ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ดี งานวิจัยเปิดเผยว่า แบคทีเรีย(Bacterial Flora) ที่ทารกน้อยจะได้รับจากการสัมผัสผิวของผู้ปกครองนั้น มีน้อยกว่าแบคทีเรียในเครื่องอบ หรือ ในโรงพยาบาล ทำให้ความเสี่ยงที่ทารก จะได้รับการติดเชื้อ ที่รุนแรงลดลงไปด้วย

อกใกล้กับหัวใจ

เนื้อแนบ เนื้อ

มีคนมากมายเข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสนี้ พวกเขาบอกเล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองว่าเคยมีการทำผิวสัมผัสผิวเช่นกัน บางคนในตอนแรกก็กังวลว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะรอดหรือไม่ แต่ ก็มีหลายคนเช่นกันที่ออกมาบอกว่า การกอด ทำให้ลูกของพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตขึ้นมาอย่างดีได้

แม้ว่าการทำเนื้อแนบเนื้อ หรือ skin-to-skin จะเป็นสิ่งที่สวยงาม และ ได้รับการยอมรับทางการแพทย์แล้วก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกเคสจะสามารถทำได้เหมือนกันหมด ทุกอย่างต้องผ่านการพุดคุย และ อนุญาติจากหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะเด็กบางคนอาจจะอ่อนแอเกินกว่าที่ออกจากตู้อบได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Kangaroo care คืออะไร

เนื้อ แนบเนื้อ

สำหรับการทำ Kangaroo care คืออะไรนั้น เพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้อธิบายถึงการทำเนื้อแนบเนื้อ Kangaroo care ไว้ว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

From kangaroo mother care to safe baby wearing

การสัมผัสทารกผ่านการโอบกอดและการอุ้ม เป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องการเพราะแสดงออกถึงความรักและความห่วงใย โดยเฉพาะทารกที่มีภาวะการเจ็บป่วยหรือทารกคลอดก่อนกำหนดที่ต้องแยกจากมารดา ควรได้รับการโอบกอดและการอุ้มมากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในมดลูกที่เหมาะสมนานเพียงพอและมีภูมิคุ้มกันน้อย

วิธีการโอบกอดแบบเนื้อแนบเนื้อและการอุ้มมีผลดีมากกว่าการให้ทารกนอนอยู่ในตู้อบเพียงอย่างเดียว สิ่งที่มารดา บิดาและสมาชิกในครอบครัวทำจะส่งผลให้ภาวะการเจ็บป่วยและอาการต่าง ๆ ของทารกดีขึ้นตามลำดับและสามารถทำได้ตลอดเวลาจนกระทั้งกลับบ้าน อีกทั้งยังมีการพัฒนาการใช้ผ้าให้สามารถโอบกอดและอุ้มทารกทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าการโอบกอดและการอุ้มเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติเป็นกิจประจำวันและสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

ในปีคศ.1978 Dr. Edgar Rey ได้มีแนวคิดทำ Kangaroo Mother Care ในทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย เพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกายและวิธีการนี้ยังประสบความสำเร็จในการลดอัตราการตายของทารกคลอดก่อนกำหนดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ปีคศ.1979 Dr. Edgar Rey and Dr. Hector Martinez ได้มีการนำเสนอวิธีการทำ Kangaroo Mother Care ครั้งแรกที่ Bogota ประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้พัฒนามาเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลทารกคลอดก่อนที่มีน้ำหนักตัวน้อยแทนการใช้ incubator ที่มีราคาต้นทุนสูง โดยปกติตู้อบจะแยกทารกออกจากมารดาในระหว่างที่รับการดูแล แต่ในทางตรงกันข้ามหากทารกได้มีการทำ Kangaroo Mother Care ในระหว่างที่รับการดูแล การทำ Kangaroo Mother Care จะช่วยตอบสนองความต้องการของทารกในเรื่องความอบอุ่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การป้องกันจากการติดเชื้อ ความปลอดภัยและความรัก

การทำ Kangaroo Mother Care ขึ้นอยู่กับความพร้อมของมารดาและทารกในแต่ละราย มารดาทุกคนสามารถทำ Kangaroo Mother Care ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึง อายุ การศึกษา วัฒนธรรมและศาสนา เริ่มจากการอธิบายวิธีการทำ Kangaroo Mother Care กับมารดาและครอบครัวอย่างละเอียด อธิบายถึงข้อดีและเหตุผลของการทำ เพื่อให้มารดาและครอบครัวได้มีการตัดสินใจและเต็มใจในการทำอย่างมีข้อมูลและไม่มีข้อผูกมัด มีเวลาให้กับมารดาเตรียมพร้อมมาอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อที่จะได้มีเวลาเต็มที่ในการทำ Kangaroo Mother Care ส่วนของทารกเริ่มต้นได้ทันทีที่ทารกอาการคงที่แล้ว อาจทำได้ทันทีที่เกิดหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงวันหลังคลอด ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำครั้งละไม่น้อยกว่า 60 นาทีและเพิ่มระยะเวลาขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยสามารถทำได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (หยุดทำเฉพาะช่วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนผ้าอ้อม) และจะทำจนกว่าทารกอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์หรือ 2,500 กรัม การทำ Kangaroo Mother Care เริ่มขึ้นในโรงพยาบาลและสามารถดำเนินการต่อที่บ้านได้

ประโยชน์ของการทำ Kangaroo Mother Care

  1. ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทารกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. ช่วยทำให้อัตราการหายใจของทารกคงที่
  3. ช่วยควบคุมอุณหภูมิกายของทารกให้เหมาะสม
  4. ช่วยในการเพิ่มน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตของสมองทารก
  5. ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล
  6. ช่วยให้ทารกหลับนานขึ้น
  7. ช่วยลดความเจ็บปวดและความเครียดของทารก
  8. ส่งเสริมให้ทารกสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้เร็วขึ้นและเพิ่มความผูกพันระหว่างมารดากับทารก

(พว.หทัยทิพย์ โสมดำ, From Kankaroo Mother Care to Safe Baby Wearing, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ #นมแม่ แห่งชาติ ครั้งที่ 6)

ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 32-34 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนใหญ่สามารถนำดูดนมแม่จากเต้าได้ เพราะมีการพัฒนาความสำคัญของการดูด การกลืนกับการหายใจที่ดี ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์มักมีปัญหาการหายใจและการเจ็บป่วยดูดนมแม่ไม่ได้ จำเป็นต้องใช้สารอาหารทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้นมแม่ด้วยวิธีพิเศษ การหยุดนมแม่ด้วยเครื่องบีบน้ำนม ทางหลอดให้อาหาร ให้นมไหลจากปากสู่กระเพาะ การใช้หลอดหยดบรรจุน้ำนมแม่ที่ริมฝีปากถึงปลายลิ้น ช่วยกระตุ้นการใช้ลิ้นรับน้ำนมและการกลืน การใช้นิ้วชี้ที่ติดตลอดให้อาหารบรรจุน้ำนม ช่วยกระตุ้นการ ใช้ริมฝีปาก ลิ้นและการทำงานของเพดานในการดูดและกลืนให้สัมพันธ์กับการหายใจ เมื่อทารกดูดและกลืนได้ดีขึ้น เริ่มให้ทารกฝึกนมทีละน้อยโดยการป้อนด้วยแก้วหรือถ้วย

Source : familylifegoals

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

กอดช่วยชีวิต แฝดน้องช่วยพี่ชายให้รอดชีวิต ปลอดภัยได้ด้วยการกอด

เทคนิคง่ายๆ ช่วย ดูแลผิวลูกน้อยในช่วงหน้าหนาว ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ให้ผิวนุ่มละมุน หอมฟุ้ง น่ากอด ตลอดทั้งวัน

เรียกน้ำตาคนเป็นแม่!! ปฏิกิริยาของแม่ ที่ได้โอบกอดลูกน้อยหลังจากที่เคยแท้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Jitawat Jansuwan