10 สัญญาณเตือนก่อนคลอด คุณแม่ใกล้คลอดมีอาการอย่างไรบ้าง มาดูกัน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใกล้จะคลอดแล้ว เรามาดู 10 สัญญาณเตือนก่อนคลอด สำหรับคุณแม่ท้องไตรมาสสุดท้าย ที่กำลังจะเข้าเส้นชัยไปสู่การให้กำเนิดลูกน้อยที่รอคอยมานาน แน่นอนว่า ทั้งข้าวของที่เตรียมไว้เพื่อพักฟื้นที่โรงพยาบาลนั้นมีเรียบร้อย ใจก็พร้อมสู้เพราะอยากเห็นลูกน้อยใจจะขาด แต่อาการเตือนก่อนคลอด หรืออาการเตือนใกล้คลอด คุณแม่ท้องจะต้องดูอะไร มีความรู้สึกอย่างไร อาการเตือนก่อนคลอดเจ็บอย่างไร เพื่อทราบแน่ชัดว่านี่แหละคือสัญญาณเตือนก่อนคลอด

 

10 สัญญาณเตือนก่อนคลอด คุณแม่ท้องมีอาการอะไรบ้าง

อาการเตือนใกล้คลอด เจ็บท้องใกล้คลอดนั้นเจ็บอย่างไร เราอาจจะเคยได้ยินว่า มีการเจ็บเตือน เจ็บหลอก แล้วถ้าเกิดว่าอาการนั้นคือเจ็บจริงล่ะ คุณแม่ท้องจะเตรียมตัวทันหรือไม่ อย่างอาการเตือนก่อนคลอด เช่น เจ็บเตือน คุณแม่จะรู้สึกแน่นบริเวณช่วงท้อง เจ็บเป็นช่วง ๆ และความเจ็บปวดนั้นจะสั้นยาวไม่เท่ากัน คล้ายกับคนเจ็บ ๆ หาย ๆ พอคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถอาการเหล่านี้ก็จะหายไปค่ะ ดังนั้น เรามาดูสัญญาณเจ็บท้องคลอดจริงกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง

 

1. ทารกเคลื่อนตัวลงต่ำ

ประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อนคลอด คุณแม่จะรู้สึกได้ว่า มีการเคลื่อนตัวภายในครรภ์ลงสู่เชิงกรานเรื่อย ๆ นั่นหมายความว่า ศีรษะของทารกกำลังเลื่อนลงตำทำให้มกค่อย ๆ หย่อนตัวลง ยอดมดลูกลดลงซึ่งอาการนี้จะเป็นสัญญาณแรก ๆ ของความรู้สึกว่าระยะเวลาคลอดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว

 

2. ปวดท้องน้อยและทวารหนัก

คุณแม่จะรู้สึกว่า ตรงท้องน้อยมีอาการปวดหน่วง ๆ ส่วนทวารหนักจะตึงและบวมเหมือนมีอะไรมากดทับไว้ตั้งแต่ท้องน้อยยาวไปถึงขาหนีบ จึงทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังล่างตลอดเวลา เหมือนกับว่า กำลังจะรับน้ำหนักที่อุ้มมาตลอดไม่ไหวแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. น้ำหนักลดลงกว่าเดิมแต่ไม่มาก

ปกติแล้วคุณแม่ท้องจะมีน้ำหนักขึ้นมาโดยตลอด เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ซึ่งการเพิ่มอาทิตย์ละครึ่งกิโลของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่จู่ ๆ ใกล้คลอดแล้วน้ำหนักลด คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะน้ำที่อยู่ในร่างกายจะค่อย ๆ ขับออกมาแล้วช่วงใกล้คลอด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ลูกไม่ค่อยดิ้นเหมือนเคย

ถ้าน้ำหนักลด แล้วคุณแม่ยังรู้สึกได้ว่า ลูกในท้องดิ้นน้อยลง ซึ่งเป็นเพราะทารกมีขนาดร่างกายเท่าขนาดโพรงมดลูกแล้ว จึงขยับตัวได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เขาไม่ค่อยดิ้นหรือเคลื่อนไหว แต่หาก คุณแม่จัดการอาการได้ว่าลูกไม่ดิ้นเลย ต้องรีบไปโรงพยาบาลแล้วค่ะ

 

5. ท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ

เนื่องจากท้องที่ขยายใหญ่มากขึ้น คุณแม่ท้องจะมีอาการท้องผูก ท้องอืด ปวดท้องคล้ายอยากเข้าห้องน้ำ บางคนอาจมีอาการท้องเสีย ไม่สบายคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากอาการเจ็บท้องคลอดใกล้คลอดช่วงแรก ระบบการย่อยอาหารจะทำงานช้าลง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. มีมูกเหนียวข้นปะปนออกมาจากช่องคลอด

มูกในช่องคลอดเหนียวและข้นมากขึ้น ซึ่งบริเวณคอมดลูกจะมีมูกปนเลือดจะหลุดออกมาเปรอะเปื้อนกางเกงชั้นในหรืออาจหลุดออกมาขณะคุณแม่ท้องปัสสาวะหรืออุจจาระ ทั้งนี้การมีมูกเลือดปนออกจากทางช่องคลอด ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไป อาจมีช่วงเตือนก่อนคลอดสัก 2-3 สัปดาห์ หรือตอนคลอดก็ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : มูกปนเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? เกิดจากอะไร?

 

 

7. การหดรัดตัวของมดลูกถี่เป็นระยะ

คุณแม่จะรู้สึกปวดหน่วง ๆ คล้ายกับปวดประจำเดือน นั่นคือการหดรัดตัวของมดลูกที่ค่อย ๆ แรงและบ่อยขึ้น เช่นรู้สึกหดรัดตัวทุก ๆ 10 นาที แต่ละครั้งประมาณ 30 วินาที แต่เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดมาก ๆ จะหดรัดตัวถี่ ๆ รู้สึกเจ็บยาวนานตั้งแต่ 1 นาทีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการเจ็บมดลูกของคุณแม่แต่ละท่านก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจไม่เจ็บเลย

 

8. ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าที่ผ่านมา

คุณแม่ท้องจะปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งอาจบ่อยมากกว่าช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกเริ่มจะกลับหัว จึงไปกดเบียดตรงกระเพาะปัสสาวะ จนเท้าบวมมากขึ้น จะลุกจะนั่งก็ลำบากมากขึ้น คุณแม่บางท่านตะคริวกินบ่อยเนื่องกจาเลือดไหลเวียนบริเวณช่วงขาไม่ดี ซึ่งจะเกิดอาการต่าง ๆ โดยรวมในช่วงท้อง 9 เดือนหรือระหว่าง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด

 

9. น้ำเดินนิดหน่อย

ถ้ามีอาการน้ำเดินคุณแม่ต้องเตรียมตัวไปโรงพยาบาลแล้วค่ะ เพราะช่วงใกล้คลอดมาก ๆ ถุงน้ำคร่ำจะแตกออกทำให้น้ำคร่ำไหล หรือเรียกว่าน้ำเดิน ออกมาจากช่องคลอด คุณแม่บางคนอาจได้ยินเสียงถุงน้ำแตก หรือบางคนแค่ไหลออกมาจากต้นขาเล็กน้อย ยังไงถ้าถึงอาการนี้คุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ตั้งสติ หยิบกระเป๋า ไปโรงพยาบาลทันที

 

10. ปากมดลูกขยาย

ขณะตั้งครรภ์ ทั้งปากมดลูกที่กลมและหนานั้นจะปิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาทารกในครรภ์ไว้ เมื่อถึงระยะเวลาใกล้คลอดระดับออร์โมนของคุณแม่จะสูงขึ้น ทำให้ปากมดลูกบางลง หดรัด บีบตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เมื่อมีการบีบรัดตัวและปากมดลูกบางลง จึงทำให้ปากมดลูกค่อย ๆ เปิดกว้างขึ้น อาจถึง 10 เซนติเมตรเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนเรียกว่าปวดท้องใกล้คลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการเตือนก่อนคลอด ที่ต้องไปพบแพทย์ทันที สังเกตจากอะไร

  • การดิ้นของทารกในท้องจะแรงขึ้น
  • ลักษณะมูกจะออกเป็นเลือดเก่า จะมีสีเข้ม ไม่เป็นสีชมพูสด หรือแดงสด
  • มีอาการปวดท้องเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ ความแรงของการหดรัดตัวของมดลูกจะคงที่หรือบีบเล็กน้อย ไม่เจ็บเพิ่มขึ้นหรืออาจไม่รู้สึกอะไร
  • เมื่อคลำบริเวณมดลูกจะรู้สึกว่าแข็ง แต่เมื่อใกล้คลอดจะบีบตัวแรงขึ้น หน้าท้องจะแข็งขึ้น
  • ปกติอาการเจ็บท้องเตือนจะเจ็บนานประมาณ1-2 นาที หรือบางทีก็อาจจะเจ็บนาน 5 นาที ซึ่งคุณแม่อาจใช้การเดินหรือเปลี่ยนอิริยาบถก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บดีขึ้นได้

 

สัญญาณเตือนก่อนคลอด คุณแม่สามารถรับมือได้อย่างไร

เมื่อมีอาการเตือนก่อนคลอด ไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่นั้น อยากให้คุณแม่ตั้งสติค่อย ๆ พิจารณาอาการตัวเองก่อน ว่าเจ็บเตือน หรือ เจ็บจริง  อย่าเพิ่งตื่นเต้นจนกลายเป็นการทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณแม่อาจบรรเทาความเจ็บปวดได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

1. เรียนรู้การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ

อย่าเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง เพราะจะส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการเกร็งและเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น เช่น หายใจเข้า-ออก ช้า ๆ ลึก ๆ ให้ลมหายใจออกมาจากกะบังลม นอกจากนี้คุณแม่ลองหาน้ำมันหอมระเหยมาดมกลิ่นให้เกิดความสบาย ๆ คลายเครียดหรือยาดมพกติดตัวไว้ค่ะ

 

2. อย่าตกใจจนนั่งเฉย ๆ

คุณแม่บางท่านตกใจจนไม่กล้าขยับเขยื้อน ลองเคลื่อนไหวร่างกาย โยกตัวซ้าย-ขวา ช้า ๆ ก้าวเดินลงเท้าเบา ๆ เพื่อออกกำลังเล็กน้อย เพราะแรงโน้มถ่วงช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของคุณแม่และการกลับหัวของเด็ก เวลาเดินก็ค่อย ๆ เกาะสิ่งใกล้ตัว อย่าเดินเองตัวเปล่าเพราะอาจลื่นได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง :เจ็บครรภ์เตือน เจ็บครรภ์จริง สาเหตุและอาการ วิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการใกล้คลอด

 

 

3. ให้สามีช่วยนวด

ความกลัว ความกังวล ความเครียด อาจทำให้คุณแม่พร้อมคลอดมีความไม่สบายตัวไปหมด ทั้งนี้การนวดจึงเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดก่อนและระหว่างคลอดได้ ตรงนี้ต้องขอให้สามีช่วยแล้วค่ะ โดยให้คุณพ่อช่วยนวดบริเวณขมับเบา ๆ นวดฝ่ามือฝ่าเท้า นวดบริเวณหลังล่างช่วงบั้นเอว คลายความเจ็บปวดและยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายอีกด้วยค่ะ

 

4. หาคนอยู่ข้าง ๆ ตลอด

นอกจากสามีแล้ว คุณแม่พยายามบอกคนใกล้ชิดอย่างคุณตาคุณยายหรือพี่น้องให้คอยอยู่ใกล้ ๆ เพราะการมีเพื่อนนั้นช่วยลดความกังวลอีกทางหนึ่ง อีกทั้งเวลาไปโรงพยาบาลยังช่วยสื่อสารกับคุณหมอและพยาบาล ยามคุณแม่ปวดท้องหรือไม่มีสติ คอยดูแลเวลาต้องการอะไร เช่น เสื้อผ้า อาหารการกิน ช่วยพยุงไปห้องน้ำ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่คุณแม่ต้องการเพื่อนคอยเป็นธุระเล็ก ๆ น้อย ๆ ยามที่ยังไม่แข็งแรงได้ค่ะ

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่สังเกตว่ามีอาการเจ็บท้อง ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนก่อนคลอด คุณแม่ควรเก็บกระเป๋าแล้วเตรียมพร้อมไปโรงพยาบาลได้ทันทีหากมีอะไรฉุกเฉิน แต่หากไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสัญญานที่เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องจริง ให้โทรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ไว้ก่อนได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เซฟไว้เลย! เบอร์โทรฉุกเฉิน แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ไม่สบาย ใกล้คลอด

ท้องแข็ง เกิดจากอะไร ท้องแข็งเป็นอาการป่วย หรือสัญญาณใกล้คลอด?

ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

ที่มา : facebook, medthai, mamastory

บทความโดย

Napatsakorn .R