อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

lead image

คุณแม่มือใหม่คงใช้เวลาไม่นานที่จะแยกเสียงร้องไห้แบบหิว แบบเหนื่อย หรือร้องเพราะไม่สบาย คุณรู้ว่าลูกกำลังป่วย แต่ประเด็นคือคุณจะรู้ได้ยังไงว่าเจ้าตัวเล็กเป็นอะไร เรามีเรื่องเกี่ยวกับอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็กทารกและวิธีรักษามาฝาก คุณเองก็รู้ได้โดยไม่ต้องใช้ร่างทรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กทารกบอบบาง น่ารัก น่าทะนุถนอม แต่การดูแลทารกให้ถูกวิธี และการเข้าใจว่าทารกกำลังรู้สึกอย่างไรนั้น มันไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นเช่นกัน

ถ้าลูกร้องโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่าเพิ่งเรียกหมอผี เพราะคนเป็นแม่รู้ดีกว่าใคร ด้วยความรู้ที่เรากำลังจะบอกคุณต่อไปนี้ กับเวลาสักเล็กน้อย คุณก็จะรู้วิธีแก้ปัญหาแบบที่ไม่มีใครทำได้แน่นอน

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

อาการป่วย: สิ่งที่ทำให้ลูกไม่สบายตัว

มี “อาการป่วย” หลายอย่างที่จะทำให้ลูกผิดปกติหรือเจ็บปวด บ้างก็เห็นได้ชัด แต่บ้างก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัย อาการป่วยที่พบบ่อยในเด็กทารก มีดังต่อไปนี้:

  • โคลิค
  • ผื่นผ้าอ้อม
  • ปวดฟันงอก
  • ปวดหู
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก

โคลิค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โคลิค (โบราณเรียกอาการ “ร้องร้อยวัน”) คืออาการปวดท้องที่เกิดในเด็กทารก มีสาเหตุจากลมในช่องท้อง อาการที่เห็นได้ชัดคือ ร้องไห้เป็นช่วง ๆ และยกขาขึ้นมาบริเวณท้อง สามารถช่วยบรรเทาอาการได้โดยการพยายามทำให้เด็กระบายลม ที่แย่คือยิ่งเด็กร้องมาก ยิ่งกลืนลมเข้าไปมาก และยิ่งทำให้ปวดท้อง

โชคร้ายที่ไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาอาการโคลิค ถ้ามี 75% ของทารกที่เป็นโรคนี้ในช่วงสองสามเดือนแรกคงจะลุกขึ้นมาเต้นกังนัมกันแน่ ๆ (พ่อแม่ก็เหมือนกัน!) แต่อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป มีวีธีที่จะลดความเสี่ยง หรืออย่างน้อยก็ลดความถี่ของอาการได้

  • ในช่วงให้นมลูก คุณควรงดคาเฟอีน อาหารรสจัด และอาหารที่ทำให้เกิดลม (เช่นถั่ว, กระหล่ำปลี, บร็อกโคลี ฯลฯ) อาจงดอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากนม เพราะโคลิคอาจเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็คโตส (น้ำตาลในนม) ไม่ได้
  • ถ้าให้นมชง ลองเปลี่ยนนมเป็นสูตรที่ทำจากถั่วเหลืองแทน
  • อย่าปล่อยให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป ความตื่นเต้นเกินขนาดมักทำให้เด็กมีอาการโคลิค อาการนี้มักหายไปเองในเดือนที่ 4-5 ดังนั้น การสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย สบาย ๆ ในบ้านอาจช่วยลดอาการได้

วิธีที่เราแนะนำไม่ได้แก้ปัญหาได้ร้อยเปอร์เซนต์ แม้คุณจะพยายามอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม เจ้าตัวน้อยก็อาจมีอาการนี้ได้เป็นครั้งคราว คุณอาจลองใช้วิธีที่เรากำลังจะแนะนำต่อไปนี้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูกได้

  • ทำให้ลูกเรอ ถ้าวิธีบ้าน ๆ แบบการพาดไหล่ไม่ได้ผล ลองจับลูกนอนคว่ำไว้บนตัก และนวดหลังเบา ๆ แต่หนักแน่น เริ่มจากก้นกบไล่ขึ้นไปถึงกระดูกสะบัก
  • ห่อลูกไว้ด้วยผ้าห่ม
  • โยกเยกเจ้าตัวน้อยไปมา และนวดท้องและ/หรือหลังไปพร้อมกัน
  • ให้ยาบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อสำหรับเด็ก ซึ่งมักได้ผลดี แต่ไม่ควรให้บ่อย และต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • จับลูกอาบน้ำอุ่น น้ำอุ่นจะช่วยคลายกล้ามเนื้อท้องและช่วยระบายลมได้
  • จับขาลูกปั่นจักรยานอากาศ การขยับขาท่านี้จะช่วยขับลมออกจากช่องท้อง

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>


ผื่นผ้าอ้อม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผื่นผ้าอ้อมไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เกิดจากความบอบบางของผิวทารกต่อฉี่และอึ วิธีแก้คือ อย่าปล่อยให้ก้นของลูกน้อยหมักหมมในของเสียนานเกินไป พยายามทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ง่ายนิดเดียวค่ะ

คุณยังสามารถโรยแป้งข้าวโพดสำหรับทารกทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม แต่ถ้าลูกของคุณยังเป็นผื่น (ซึ่งแทบจะรับรองได้ว่าต้องเป็นอย่างน้อยสักครั้ง) เราแนะนำให้ลองใช้ขี้ผึ้งสำหรับผื่นผ้าอ้อมโดยเฉพาะ มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลายตัวในท้องตลาด ลองใช้สักสองสามยี่ห้อเพื่อดูว่าอันไหนดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อย (หมายเหตุ: ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสังกะสี อาจทำให้เกิดอาการแพ้ โปรดใช้อย่างระมัดระวัง)

ถ้าลูกกินยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณขาหนีบและรอบก้น ซึ่งต้องใช้ยาทาตามแพทย์สั่งเท่านั้น

ฟันงอก

ฟันขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติไม่ต่างจากการหายใจ และมันก็เจ็บซะด้วย เด็กที่กำลังจะมีฟันงอกมักจะหยุกหยิก อยู่ไม่สุข และจับทุกอย่างที่คว้าได้ใส่ปาก แต่กลับไม่อยากกินอาหาร เด็กบางคนอาจมีไข้ต่ำ ๆ ท้องเสีย หรือเป็นผื่นรอบ ๆ ปากด้วย ผู้ปกครองสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บฟันได้จนกว่าฟันจะขึ้นครบทุกซี่

เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูก (และตัวคุณเอง) เรามีคำแนะนำดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้เจ้าตัวเล็กเคี้ยวอะไรก็ได้ที่เขาชอบ ตราบใดที่มันสะอาดและเคี้ยวได้อย่างปลอดภัย
  • ยางกัดสำหรับเด็กแช่เย็นหรือแช่แข็งคืออุปกรณ์ชั้นเลิศ ความเย็นจะทำให้เหงือกชา และทำให้เจ้าตัวเล็กหายปวดได้ชั่วคราว ความแข็งของมันจะช่วยกระตุ้นให้ฟันงอกได้ดีขึ้น
  • ยาแก้ปวดและยาชาก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ควรให้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะยาแก้ปวด คุณอาจจะอยากลองยาแก้ปวดประเภทจากธรรมชาติ 100% ที่มีขายในท้องตลาด

อาการปวดหูของทารก

ปวดหู

ถ้าคุณเคยมีอาการปวดหู คุณน่าจะรู้ว่ามันทรมานแค่ไหน แค่คิดก็ปวดแล้ว แล้วลองคิดดูว่าเจ้าตัวเล็กจะปวดแค่ไหน

ถ้าเจ้าตัวเล็กหยุกหยิก (หรือแย่กว่านั้น) ดึงหู ป้องหู หูแดงหรือมีสิ่งผิดปกติใด ๆ กับหู พาไปหาหมอโดยด่วน แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวดสำหรับเด็ก แต่อย่างที่รู้กันว่าอาการเหล่านี้มักไม่เกิดในเวลาราชการ ดังนั้นคุณอาจต้องช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้ลูกก่อนโดยการ

  • ให้ยาแก้ปวดสำหรับเด็กตามขนาดที่แนะนำ
  • โปะแผ่นประคบอุ่น หรือ ถุงน้ำอุ่นไว้บนหู ระวังอย่าให้ร้อนเกินไป
  • อุ้มลูกไว้ใกล้ ๆ แต่อย่าพยายามโยกไปมา เพราะจะยิ่งทำให้ปวด
  • อย่าพยายามทำความสะอาดในหูด้วยสำลีเช็ดหูหรือหยดอะไรเข้าไป ควรให้หมอจัดการจะดีกว่า

ท้องอืด

วิธีแก้อาการท้องอืดก็เหมือนกับการแก้โคลิค ความแตกต่างเพียงอย่างเดียว (รู้นะว่าคุณกำลังจะถาม) ก็คือเรียกไม่เหมือนกันแค่นั้นเอง บางคนเรียกท้องอืด บางคนเรียกโคลิค แต่ปกติท้องอืดจะใช้เรียกอาการชั่วคราว ส่วนโคลิคใช้เรียกอาการเรื้อรัง เกิดนานเป็นเดือน ๆ

ท้องผูก

ท้องผูกเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กทารก เพราะการเปลี่ยนอาหารบ่อยในช่วงปีแรก เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมการอึด้วย อึของเด็กที่กินนมแม่อาจมีลักษณะเหลวกว่าและเป็นก้อนเล็กกว่าเด็กที่กินนมชง อยากรู้ว่าลูกท้องผูกหรือไม่ สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ช่วงท้องไม่ได้เคลื่อนไหวเลยใน 24 ชั่วโมง
  • ท้องแข็ง
  • หยุกหยิกและเตะถีบตลอดเวลา
  • ดูเครียดเมื่อต้องเข้าห้องน้ำ
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง

คุณแม่ควรทำอย่างไร?

  • ลองเปลี่ยนอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ป้อนอาหารใหม่ทีละอย่าง
  • เสริมอาหารหลักด้วยแอปเปิ้ลเหลว พรุน หรือน้ำองุ่นเล็กน้อยในแต่ละวัน จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
  • เพิ่มกากใยลงไปในอาหารถ้าลูกเริ่มกินอาหารแข็ง พยายามเลี่ยงกล้วยบด ข้าว และขนมปัง
  • ลองเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นสูตรทำจากถั่วเหลืองแทนสูตรนม

คุณแม่มือใหม่หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาลูกมีอาการเจ็บป่วย แต่อย่าลืมว่าอาการเหล่านี้เป็น อาการ “ที่พบบ่อย” ดังนั้นเราขอให้คุณใจเย็น ๆ ใคร ๆ ก็รับมือได้ คุณเองก็เช่นกัน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

วิธีดูแลเมื่อลูกวัยทารกหรือวัยเตาะแตะเป็นไข้

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team